(0)
*** เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในรัชกาลที่ 9 หลัง 9 รัชกาล ปี 2525 กะไหล่ทอง เลี่ยมกันน้ำพร้อมใช้ ***






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง*** เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในรัชกาลที่ 9 หลัง 9 รัชกาล ปี 2525 กะไหล่ทอง เลี่ยมกันน้ำพร้อมใช้ ***
รายละเอียดเหรียญในหลวง 9 รัชกาล ที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 เนื้อกะไหล่ทอง

พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ช่วงเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 4-9 เมษายน พ.ศ. 2525
สถานที่จัดงาน กรุงเทพมหานคร
ผู้จัด รัฐบาลไทย

โอกาส การเฉลิมฉลองในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมี อายุบรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525

พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ซึ่งรัฐบาลสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในปีพ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลำดับ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงมีความปีติยินดี พร้อมกันแสดงความกตเวทิตาคุณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กำหนดการ ในส่วนที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชพิธี สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยอนุโลมตามราชประเพณีที่มีมาแล้วในรัชกาลก่อน ทั้งให้สอดคล้องพอเหมาะ พอควรแก่กาลสมัยในปัจจุบัน ดังรายการต่อไปนี้

1 วันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2525
2 วันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525
3 วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2525
4 วันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2525
5 วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2525
6 วันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2525
7 วันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525

วันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]เวลา 16.30 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง พระสงฆ์ 24 รูป โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ และสมเด็จพระญาณสังวรวัดบวรนิเวศวิหาร แสดงพระธรรมเทศนา และสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า

วันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]เวลา 08.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค จากท่าวาสุกรีไปยังท่าราชวรดิฐ โดยจัดเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชทอดบัลลังก์บุษบกเป็นเรือนำ เชิญพระชัย(หลังช้าง)ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อกระบวนพยุหยาตราถึงท่าราชวรดิฐแล้ว เสด็จพระราชดำเนินสู่พระบรมมหาราชวัง และจัดกระบวนพระราชอิสริยยศน้อยแห่พระชัย (หลังช้าง) ไปยังพลับพลาท้องสนามหลวง

กระบวนพยุหยาตราชลมารคใน พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีเวลา 10.30 น. เสด็จพระราชดำเนินไปยังพลับพลาท้องสนามหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี ทูตานุทูต ข้าราชการ ทหาร พลเรือน สมาชิกรัฐสภา ลูกเสือ นักเรียน และทวยราษฎร์ทุกหมู่เหล่า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เสด็จออกพระที่นั่งชุมสาย นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงความพร้อมใจของรัฐบาลและปวงชนชาวไทย ที่ได้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นมหาราช และถวายชัยมงคล แล้วมีพระราชดำรัสตอบ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีบวงสรวง ทรงแปรพระพักตร์สู่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะบวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการ อ่านราชาภิสดุดี เป็นการประกาศพระราชพิธีบวงสรวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงชักสายสูตรยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดพระแก้วเวลาบ่าย เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ไปในการพระราชพิธีฉลองวัดพระแก้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ตามคำกราบบังคมทูลขอของรัฐบาล กราบบังคมทูลรายงานในการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินทรงชักสายสูตรยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชทานเทียนชนวนไปจุดดอกไม้เพลิงถวายเป็นพุทธบูชาในการฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานชาลาเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ไปในการพิธีวันที่ระลึกบบมหาจักรีบรมราชวงศ์ ถวายพุ่มดอกไม้ และทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พลับพลาพิธี ทรงศีล และทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายเครื่องบวงสรวง ณ พระที่นั่งชุมสาย หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รองราชเลขาธิการอ่านอาศิรวาทปฐมราชสดุดี พระสงฆ์ในมณฑลพิธีกับพระสงฆ์ 209 รูป สี่มุม ป้อมกำแพงพระบรมมหาราชวัง และพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ลงอุโบสถเจริญ ชัยมงคลคาถา วัดในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นทั่วราชอาณาจักร ย่ำฆ้องกลองระฆังขึ้นพร้อมกัน 3 ลา

วันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังบริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปในการพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มาประดิษฐานที่บุษบกมุขเด็จ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อาณาประชาราษฎร์ได้สักการะพระสยามเทวาธิราชเป็นครั้งแรก ถึงวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525 มีประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางมาอย่างเนืองแน่นทุกวัน

วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2525 เวลา 19.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังทำเนียบรัฐบาล ไปในงานมหามงคลสโมสรสันนิบาต เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ที่พระบรมราชจักรีวงศ์ได้สถิตสถาพรมาเป็นเวลา 200 ปี ยั่งยืนนานยิ่งกว่าพระบรมราชวงศ์อื่นใดที่เสด็จขึ้นผ่านพิภพปกครองราชอาณาจักรไทยมาแล้วในอดีต โดยขอพระราชทานเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ วิจิตรงดงามยิ่งกว่างานใดๆ ที่เคยจัดมา

วันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารคน้อย ไปยังสะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งธนบุรี) และเชิญไปยังวงเวียนใหญ่ ก่อนที่จะอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ท้องสนามหลวง ในเวลาต่อมา

วันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลหลักเมือง ไปในการพระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงพระเทพารักษ์ ซึ่งได้บูรณะศาลหลักเมืองใหม่ให้ใหญ่สง่างาม เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่พระมหานครรัตนโกสินทร์

ตราสัญลักษณ์
พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาพมีลักษณะเป็นศิลปไทยทั้งสีและลายเส้น ประกอบด้วย ภาพเทวดาสององค์พนมมือไว้ หันหน้าเข้าหากัน อันมีความหมายว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งชาวเทวดา และได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ในวาระสำคัญครบ 200 ปี เหนือภาพเทวดาเป็นภาพซุ้มวิมาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร (แบบซุ้มนี้ได้แบบมาจากซุ้มประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช ในพระบรมมหาราชวัง ตามคำแนะนำของท่านรองราชเลขาธิการ) เบื้องล่างเป็นอักษรข้อความว่า สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อยู่ด้านบน พ.ศ. 2525 อยู่ด้านล่าง



- รับประกันตามกฎ
- ผู้ประมูลได้ หากโอนเงินแล้วกรุณาแจ้งทางโทรศัพท์หรือทางเมลบล็อก G-Pra
- กรณีผู้ประมูลได้เปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรุณาแจ้งที่อยู่ใหม่ด้วยน่ะคับ


*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาแวะชมหรือร่วมประมูลรายการนี้ ยังมีรายการอื่นที่น่าสนใจอีก สามารถดูได้โดยคลิกที่รูป ฆ้อน เลยคับ ***
ราคาเปิดประมูล109 บาท
ราคาปัจจุบัน119 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ส.ค. 2556 - 01:10:10 น.
วันปิดประมูล - 03 ส.ค. 2556 - 11:33:14 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwipura (567)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     119 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    gocharl (160)

 

Copyright ©G-PRA.COM