(0)
พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล ฉลองอายุ 109 ปี ...รุ่น สร้าวอุโบสถ หมายเลข 2








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล ฉลองอายุ 109 ปี ...รุ่น สร้าวอุโบสถ หมายเลข 2
รายละเอียดประวัติ
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล ท่านได้ถือกำเนิด ที่บ้านคำบ่อ ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2439 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก โยมบิดาชื่อขุนพลภักดี ผู้ใหญ่บ้านคำบ่อ ชื่อเดิม นายพล วงศ์ภาคำ โยมมารดาชื่อ นางสอ วงศ์ภาคำ มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คือ
1. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
2. นายเสน วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
3. นามผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
4. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
5. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
6. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล
7. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
8. นางกา วงศ์ภาคำ
เมื่อหลวงปู่สุภามีอายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำท่านบวชเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์สอน เป็นพระอุปัชฌาย์ สามเณรสุภาได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์สอน เป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นท่านได้เดินทางไปเรียนมูลกัจจายน์ที่วัดไพรใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอาจารย์มหาหล้า และฆราวาสชื่อ อาจารย์ลุย เป็นผู้สอน สามเณรสุภาได้ใช้เวลาศึกษามูลกัจจายน์อยู่ที่วัดไพรใหญ่ เป็นเวลาหลายปี เมื่อเรียนจบแล้วได้กราบลาอาจารย์เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม จึงได้ออกเดินทางมานมัสการ หลวงปู่สีทัตต์ ที่วัดท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลวงปู่สีทัตต์ ท่านเป็นพระป่า มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และทรงวิทยาคม ทางด้านคาถาอาคมไสยเวท ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาอาคมด้านต่างๆ มาจากสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สมเด็จลุน ท่านเป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสาน แถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านทั้งสิ้น สมเด็จลุนท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย เหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สมเด็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงด้วยเท้าเปล่า และบางครั้งท่านจะไปนั่งสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของท่านและในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จลุน หลวงปู่สีทัตต์ ถือเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคม จากสมเด็จลุนจนหมดสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ลูกไม้จะหล่นไกลต้น เมื่อสามเณรสุภา ได้กราบนมัสการหลวงปู่สีทัตต์แล้ว ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่สีทัตต์ได้รับสามเณรสุภาเป็นศิษย์ด้วยความยินดี นับว่าหลวงปู่สีทัตต์เป็นพระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานองค์แรก ของสามเณรสุภา สามเณรสุภาได้เริ่มฝึกรรมฐาน และออกธุดงค์กับหลวงปู่สีทัตต์ ซึ่งท่านได้พาสามเณรสุภาธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว หลวงปู่สีทัตต์ได้พาไปที่ถ้ำภูเขาควาย เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีความสวยงามน่าอยู่ ในถ้ำแห่งนี้มีพระสงฆ์ไปปฏิบัติธรรมรวมกันมาก ถ้ำภูเขาควายเปรียบเสมือนถ้ำสำนักตักศิลา ที่มีพระสงฆ์ลาวและไทย ไปจำพรรษาและแลกเปลี่ยนวิชาอาคม หนทางที่จะไปถ้ำถูเขาควายลำบากมาก เต็มไปด้วยสิ่งเร้นลับ พระธุดงค์ที่เดินทางไปถ้ำภูเขาควาย ถ้ามีวิชาอาคมไม่แก่กล้าพอ มักจะเอาชีวิตไปทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก สามเณรสุภา ได้ติดตามหลวงปู่สีทัตต์ไปธุดงค์จนอายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ. 2459 หลวงปู่สีทัตต์จึงได้อุปสมบทให้สามเณรสุภา ภายในถ้ำภูเขาควาย โดยมีหลวงปู่สีทัตต์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเถระที่ไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดถ้ำภูเขาควายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “กนฺตสีโล”
หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่สุภา ได้อยู่ปฏิบัติธรรมต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากนั้นได้ติดตามหลวงปู่สีทัตต์กลับมาจำพรรษาที่ วัดท่าอุเทน เพื่อดำเนินการก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน เมื่อมีเวลาว่างท่านจะพา หลวงปู่สุภา และลูกศิษย์ออกธุดงค์แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดท่าอุเทน จนกระทั่งสร้างพระธาตุท่าอุเทนเสร็จเรียบร้อย หลวงปู่สุภา ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงปู่สีทัตต์ เป็นเวลานานถึง 8 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2463 หลวงปู่สุภา ได้กราบลา หลวงปู่สีทัตต์ เพื่อเดินทางธุดงค์วัตร และออกจากถ้ำภูเขาควาย เดินทางกลับตามที่หลวงปู่สีทัตต์ แนะนำ และ หลวงปู่สีทัตต์ ท่านยังได้บอกว่าท่านจะได้พบกับอาจารย์ที่เก่งมากองค์หนึ่ง
*****หลวงปู่ศุข*****
หลวงปู่สุภา ออกเดินทางไปตามเส้นทางที่ หลวงปู่สีทัตต์ แนะนำ เมื่อถึงจังหวัดหนองคายก็ออกธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ท่านได้สอบถามพระเกจิอาจารย์ ที่เก่งทางด้านวิปัสสนากรรมฐานด้านพุทธาคม
มีคนเล่าลือว่า อาจารย์ศุข (หลวงปู่ศุข) อยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ท่านจึงได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ จนมาถึงอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เมื่อมาถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านได้คลานเข้าไปกราบหลวงปู่ศุข ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่ศุข ท่านทราบแล้วว่า จะมีพระภิกษุมาจากประเทศลาว หลวงปู่ศุขจึงถามท่านว่ามาจากประเทศลาวใช่หรือไม่? ท่านจึงตอบและกราบเรียน หลวงปู่ศุข ว่า ท่านมีความประสงค์ที่จะมาศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคม หลวงปู่ศุข จึงรับไว้เป็นศิษย์ หลวงปู่สุภา ได้ศึกษาวิชาต่างๆ จาก หลวงปู่ศุข เป็นเวลา 3 ปี หลวงปู่ศุข ได้ถ่ายทอดวิชาด้วยความเมตตาต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ถึงแม้ หลวงปู่สุภา จะบวชเป็นพระภิกษุนานถึง 4 พรรษาแล้วก็ตาม แต่ หลวงปู่ศุข ก็ยังเรียกท่านว่า “เณรน้อย” ในขณะที่ หลวงปู่สุภา ได้มอบตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ศุข ท่านมีอายุมากแล้ว แต่ท่านยังปฏิบัติธรรม และนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ ทุกวัน หลวงปู่สุภา ให้ความเคารพนับถือ หลวงปู่ศุข เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ศุขจึงนับเป็นพระอาจารย์องค์ที่สองของท่าน ต่อจาก หลวงปู่สีทัตต์
ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาคม หลวงปู่ศุข ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ ให้กับ หลวงปู่สุภา เมื่อ หลวงปู่ศุข นั่งกรรมฐาน หลวงปู่สุภา ท่านก็นั่งด้วย หากติดขัดปัญหาธรรม ก็ไปกราบเรียนถามท่าน ก็เมตตาแนะนำให้ทุกครั้ง ท่านจะปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้ลูกศิษย์ศึกษาทำความเข้าใจ หลวงปู่สุภา ท่านค่อยๆ ศึกษาดูว่า หลวงปู่ศุข ทำอย่างไร? ในเวลาที่ท่านปลุกเสกวัตถุมงคลก็ไปคอยสังเกต พระคาถาต่างๆ หลวงปู่ศุข ก็สอนให้บ้าง จดจำเองบ้าง และไปขอท่านบ้าง หลวงปู่สุภา ท่านศึกษาวิทยาคม จากการอ่านตำราที่ท่านจดเขียนไว้บ้าง ดูจากกรรมวิธีที่ หลวงปู่ศุข ทำให้ดูบ้าง เรียนถามท่านบ้างท่านก็แนะนำให้พอสมควร ใครสนใจมากก็ได้มาก ใครไม่สนใจก็ไม่ได้เลย แต่ส่วนใหญ่ หลวงปู่ศุข ท่านจะเน้นเรื่องการรักษาศีล และการปฏิบัติมากกว่า เพราะท่านสอนว่า ถ้าศีลบริสุทธิ์ คุณวิเศษจะมีมาเอง หลวงปู่สุภา ได้ศึกษาธรรม และวิทยาคมต่างๆ มากมายโดยเฉพาะความรู้ในทางธรรม และวิทยาคมต่างๆ ในครั้งนั้นมีพระภิกษุไปปฏิบัติธรรม และเรียนวิชาอยู่กับหลวงปู่ศุข ด้วยกันหลายสิบรูป ซึ่งปัจจุบันมรณภาพกันไปหมดแล้ว เท่าที่ทราบในเวลานี้ มีเพียง หลวงปู่สุภา เพียงรูปเดียวในบรรดาศิษย์รุ่นเดียวกัน ที่ยังมีชีวิต
****สร้างวัดกับหลวงพ่อชา สุภัทโท*****
แม้กลับมาประเทศไทยแล้ว หลวงพ่อสุภา ยังคงชอบท่องเที่ยวธุดงค์อยู่เสมอๆ ตามแถบภูเขาติดประเทศลาว และแถบภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ท่านธุดงค์อยู่นั้น ท่านได้พบพระวิปัสสนาจารย์ชาวอีสานรูปหนึ่ง ที่กำลังท่องธุดงค์แสวงหาความวิเวกตามลำเนาเขาถ้ำเช่นกัน คือ พระอาจารย์ชา หรือหลวงพ่อชา สุภัทโท นั้นเอง
เมื่อได้พบกันท่านทั้งสองต่างชอบพอในวัตรปฏิบัติของกันและกัน ต่อมาได้ธุดงค์ไปด้วยกันถึงน้ำตกแซโดม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านแถบนั้นได้นิมนต์หลวงปู่ทั้งสองให้สร้างวัดที่นั่น เนื่องจากว่าในละแวกนั้นเป็นป่าเสียส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีวัดใกล้ๆ หมู่บ้าน หลวงพ่อชาจึงปรึกษากับหลวงพ่อสุภา ในที่สุดก็ตัดสินใจช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่นั่น โดยการร่วมมือของชาวบ้าน และสร้างเป็นแบบวัดป่าตามที่ท่านทั้งสองนิยม เมื่อสร้างเสร็จแล้ว มีพระภิกษุไปจำพรรษาด้วยหลายรูป เมื่อหลวงพ่อทั้งสองสร้างวัดป่าที่น้ำตกแซโดมเสร็จแล้ว และเห็นว่ามีพระภิกษุที่ไว้วางใจได้หลายรูป ท่านทั้งสองก็ได้จัดการมอบหมายภาระ ในการดูแลวัดให้กับพระภิกษุที่ไว้วางใจได้รูปหนึ่ง แล้วท่านทั้งสองก็ออกธุดงค์แสวงหาความวิเวก ตำลำเนาป่าเขาต่อไป
ต่อมาหลวงพ่อสุภากับพระอาจารย์ชา สุภัทโท ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรมยังที่ต่างๆ และต่างรูปก็ได้ไปสร้างสำนักใหม่ขึ้นมาตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างเป็นวัดป่า และสำนักวิปัสสนา จนกระทั่งท้ายที่สุด พระอาจารย์ชาได้ไปสร้างวัดหนองป่าพง และจำพรรษาอยู่ที่นั้นจนกระทั่งมรณภาพ เมื่อปีพุธศักราช 2535
****ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต*****
แม้หลวงพ่อสุภาจะสร้างวัดสำเร็จไปหลายวัด ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่แถบภาคอีสาน ท่านยังคงธุดงค์ท่องเที่ยวต่อไป หากพบเจอสถานที่ใดเหมาะสมท่านก็จะสร้างวัดขึ้น เมื่อสร้างเสร็จก็จะมอบให้พระภิกษุที่ท่านไว้วางใจได้ ดูแลแทนแล้วท่านก็จะออกธุดงค์ต่อไป จนกระทั่งครั้งหนึ่ง ขณะธุดงค์อยู่ได้มีโอกาสพบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ถ้ำเชียงดาว นานถึง 3 ปี ขณะที่ท่านได้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน หลวงปู่ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนธรรมปฏิบัติซึ่งกันและกัน ท่านเล่าว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนได้ดีมาก ในเรื่องการทำจิตให้เข้าถึงจิต หลังจากนั้นหลวงพ่อสุภา ได้ธุดงค์ลงมาทางจังหวัดนาครราชสีมา ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดที่เกาะสีคิ้ว แล้วท่านก็ธุดงค์ต่อมาจนถึง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และได้สร้างวัดไว้ จากนั้นท่านได้ธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดลพบุรี ได้พบกับหลวงพ่อโอภาสี ที่ถ้ำน้ำพระจันทร์ ท่านได้ร่วมกันปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลา 2 ปี
*****พบกับสหายทางธรรม*****
ออกจากเขาพนมศักดิ์ หลวงพ่อได้ธุดงค์ต่อไปจังหวัดนครสวรรค์ พำนักอยู่แถบถ้ำบรเพ็ชร (ถ้ำไก่ต่อ) ที่นั่นหลวงพ่อสุภาได้พบกับ หลวงพ่อเดิม (วัดหนองโพ) ในปีพุธศักราช 2483 ได้ทำตะกรุดแจกทหารร่วมกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ได้ช่วยกันทำผ้ายันต์แจกพวกทหาร ซึ่งมีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกในครั้งที่ 2 หลังจากธุดงค์ออกจากหลวงพ่อเดิม หลวงพ่อสุภา ได้ธุดงค์ต่อไปที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และได้พำนักธุดงค์อยู่ที่เขานางแล้งเป็นเวลาปีกว่าๆ ขณะที่พำนักอยู่ที่นั้น ได้ไปมาหาสู่กับอาจารย์ทบ กิ่งชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ทางด้านเวทมนต์คาถา ทางด้านทำตะกรุดองค์หนึ่ง ปัจจุบันได้มรณภาพไปแล้ว
ปัจจุบันนี้ หลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ต.ฉลอง อ.เมือง และวัดนี้ได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าพระราชทานนามว่า วัดสีลสุภาราม ซึ่งผู้มีจิตศรัทธา ได้ถวายที่ดินให้หลวงปู่สร้างวัดขึ้น ดังนั้นจึงมีวัดใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ในวาระหลวงปู่มีอายุ 106 ปี ปัจจุบันนี้หลวงปู่มีสิริอายุ 115 ปี สร้างวัดมาแล้ว รวม 39 วัด
หลวงปู่ท่านเคยปรารภกับลูกศิษย์ว่า หลวงปู่ชราภาพแล้ว ภารกิจหน้าที่หากสำเร็จแล้วหลวงปู่ปรารถนาจะธุดงค์เข้าป่า ศิษยานุศิษย์ต่างก็กราบ และขอนิมนต์หลวงปู่ให้อยู่ใกล้ชิดเนื่องจากหลวงปู่ชราภาพ และจะได้ช่วยดูแล แวะมากราบนมัสการ ฟังธรรมะ คำสั่งสอน ปฏิบัติธรรม มีโอกาสได้ทำบุญสร้างกุศลกับหลวงปู่ต่อไป
หลวงปู่เดินทางมาวัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว จ.สกลนคร อยู่เนืองๆ เนื่องในวันสำคัญๆ ทางพุทธศาสนา ท่านจะเมตตาศิษยานุศิษย์ทุกคน ญาติโยมทั้งหลายตลอดมามิได้ขาด ไม่เลือกชั้นวรรณะ
หลวงปู่สุภา กันตสีโล นับเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้า และเป็นพระสุปฏิปันโน ควรแก่ความศรัทธาเคารพนับถือ ถือได้ว่าพระผู้มีปฏิปทาเช่นท่าน หาได้ยากในยุคปัจจุบัน
ในด้านสุขภาพร่างกายของท่าน นับว่ายังแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เช่นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ น้ำเสียงของท่านนุ่มนวลเปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้ผู้ได้ยินได้ฟังซาบซ่านด้วยปีติและความอิ่มเอิบใจ เมื่อได้ฟังการบรรยายธรรมของท่าน ท่านทั้งหลายที่ได้กราบนมัสการหลวงปู่ คงจะไม่เชื่อเลยว่า ชีวิตของท่านที่ผ่านความยากลำบากนานับประการ ต้องเดินธุดงค์ผ่านป่าเขาลำเนาไพร ผ่านสัตว์ร้าย และภาวนาการณ์น่าประหวั่นพรั่นพรึงมานานนับหนึ่งศตวรรษ จะยังคงสภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีผิวพรรณผุดผ่อง ราวกับผู้ที่ไม่เคยกรำแดดกรำฝน หรือไม่เคยผ่านความยากลำบากใดๆ มาก่อนเลย แต่สำหรับผู้ที่ใฝ่การปฏิบัติธรรม คงไร้ข้อสงสัยแต่อย่าใด เพราะทุกคนล้วนทราบซึ้งกันดีอยู่แล้ว ว่าอานุภาพแห่ง ศีล นั้นมีมากน้อยเพียงใด
ราคาเปิดประมูล350 บาท
ราคาปัจจุบัน400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 07 พ.ค. 2558 - 08:05:09 น.
วันปิดประมูล - 14 พ.ค. 2558 - 15:03:16 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลaoopasio (4.5K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 07 พ.ค. 2558 - 08:06:06 น.



พร้อมกล่องเดิม เนื้อกะไหล่นาค หมาย เลข 2


 
ราคาปัจจุบัน :     400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    jochan (243)

 

Copyright ©G-PRA.COM