(0)
พระแผงตัดกรุวัดกระชาย อยุธยา ลงรักปิดทองเดิม สวยหนา








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระแผงตัดกรุวัดกระชาย อยุธยา ลงรักปิดทองเดิม สวยหนา
รายละเอียดกรุวัดกระชาย อยุธยา
วัดกระชาย แท้จริงแล้วคือ "วัดเจ้าชาย" ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระองค์ และเวลาไล่เลี่ยกัน ท่านได้สร้าง วัดวรเชษฐ์ สมัยโบราณถูกเรียกว่า "วัดเจ้าเชษฐ์" ถือเป็นวัดประจำพระองค์พระนเรศวร แต่ที่มาเพี้ยนเป็น "วัดวรเชษฐ์" นั้น อนุมานได้ว่าเป็นเพราะภาย หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวร มหาราชแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถได้พระราชทานชื่อใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระบรมเชษฐาธิ ราช จึงให้เรียกขานวัดนี้ว่า "วัดวรเชษฐ์" อันแปลว่า "วัดพี่ชายผู้ประเสริฐ" และท่านได้สร้าง วัดมหาเถรคันฉ่องถวายให้กับพระอาจารย์ อันเป็นที่รักและเคารพของพระองค์และพระนเรศวร ที่ทรงไปนิมนต์กลับมาสยามครั้งทรงขึ้นเป็นกษัตริย์นั่นเอง
วัดเจ้าชาย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา บริเวณทุ่งปากกราน ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่ยังไม่ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน อยู่บนเนินกลางทุ่งนา สันนิษฐานว่าสมัยก่อนมีคูน้ำล้อมรอบบริเวณวัด ปัจจุบันคูน้ำได้เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งนาไปหมดแล้ว เมื่อถึงฤดูทำนาจะมีน้ำเจิ่งนองล้อมรอบวัดและมีความลึกพอสมควร ไม่สามารถเดินทางด้วยเท้าเข้าถึงวัดได้
ผู้รู้ท่านหนึ่งให้ความรู้ว่า ความสำคัญของ วัดเจ้าชาย เป็นที่สถิตของเทพ พรหม และสิ่งศักดิ์ สิทธิ์ พวกใจบาปหยาบช้า จึงมีความหวาดกลัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทพ พรหมจะมาลงโทษ จึงร่วมกันทำลายเสียเลย ความจริงสิ่งที่ลำลายได้เป็นวัตถุเท่านั้น พลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังเทพพรหมไม่สามา รถทำลายได้ พลังเหล่านั้นจะสถิตคงอยู่ตามสภาวะ แต่เมื่อใดก็ตามมีเหตุปัจจัยถึงพร้อมก็จะแสดงออกมา
ภายในเจดีย์เก่าแก่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระแผงเนื้อดินเผาสมัยอยุธยาไว้เป็นจำนวนมาก และเคยมีนักขุดกรุได้ทำการขุดกรุในเวลากลางคืนได้พระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นพระแผงสิบท้ศน์เสียเป็นส่วนใหญ่ เคยมีคนนำไปทดลองยิงพระแผงสิบทัศน์ โดยเอาไปวางไว้ที่โค่นต้นกล้วยแล้วเหนี่ยวไกปืนยิงในระยะใกล้ๆ ผลปรากฏออกมาว่า ลูกกระสุนไม่เคยโดนพระแผงสิบทัศน์เลยแม้แต่นิดเดียว ทำให้เป็นที่ฮือฮากันอย่างมาก ข่าวดังกล่าวได้บอกต่อๆกันไปและไปถึงค่ายทหารแห่งหนึ่งในเมืองลพบุรี ทหารจึงพากันเดินทางมาของแบ่งบูชากันไปเป็นจำนวนพอสมควรทีเดียว และได้ยิงทดสอบกันตรงนั้นเลย ผลปรากฏออกมาเหมือนเดิมคือไม่โดนองค์พระแม้จะยองเข้ามาใกล้มากถึงแค่หนึ่งคืบเองครับ
ราคาเปิดประมูล59 บาท
ราคาปัจจุบัน319 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 13 มิ.ย. 2558 - 19:54:50 น.
วันปิดประมูล - 15 มิ.ย. 2558 - 00:51:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลภาสะลอง (3.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 13 มิ.ย. 2558 - 19:55:05 น.



พระเนื้อดิน พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชายหรือวัดเจ้าชาย เป็นพระกรุยุคสมัย อยุธยา ....เป็นพระเนื้อดินลงรัก ปิดทองเก่าเดิมๆ องค์พระหน้าตาคมชัด... "วัดเจ้าชาย" สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความสนพระทัยในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ตามตำนานของอยุธยา เล่าสืบกันมาว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ ท่านทรงสร้างวัดประจำพระองค์วัดหนึ่ง อยู่ใต้"วัดวรชษฐ์นอกเกาะ" วัดแห่งนี้ชื่อว่า "วัดเจ้าชายธรรมราชา" เรียกสั้น ๆ ว่า "วัดเจ้าชาย" และเรียกเพี้ยนเสียงมาเป็น "วัดกระชาย"
จากระยะเวลาที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงครองราชย์สมบัติในระว่างปี พ.ศ.๒๑๔๘ – พ.ศ.๒๑๕๓ รวมระยะเวลา ๕ ปีเศษนั้น แม้จะเป็นห้วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่พระองค์ก็ได้สร้างคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินไทยอย่างเป็นอเนกอนันต์ นอกจากพระองค์ท่าน จะเป็นนักรบ นักพัฒนา นักการค้า นักการฑูตแล้ว ด้านการค้ำชูพระพุทธศาสนา พระองค์ท่านก็สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านนี้ได้เป็นอย่างดี สมกับที่เป็นยอดพระมหากษัตริย์พระราชอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อย่างแท้จริง


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 13 มิ.ย. 2558 - 19:55:22 น.



พระเนื้อดิน พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชายหรือวัดเจ้าชาย เป็นพระกรุยุคสมัย อยุธยา ....องค็นี้เป็นพิมพ์ปางสมาธิ และป็นพิมพ์ใหญ่ เนื้อดินลงรัก ปิดทองเก่าเดิมๆ องค์พระหน้าตาคมชัด... ทุกส่วนสมบูรณ์ สวย งดงามแบบนี้หาชมได้ยากยิ่งครับ ....ต่อไปผมขออนุญาตินำประวัติของพระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย จ.อยุธยา มาลงไว้เพื่อเป็นแนวการศึกษาแก่ผู้สนใจกันต่อไปนะครับ
"วัดเจ้าชาย" สันนิษฐานว่า ช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 แถบวัดเจ้าชาย วัดเต่า วัดสุเรนทร์ เป็นที่ตั้งทัพของพม่า จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุประเภทอาวุธ เช่น มีด หอก ดาบ ทวน ลูกกระสุนปืนใหญ่ เป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ว่าวัดเจ้าชาย ใช้เป็นที่ตั้งทัพสงคราม คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นอกจากโบราณวัตถุประเภทอาวุธแล้ว ยังพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องมุงหลังคาแบบกาบกล้วย กระเบื้องเชิงชายเป็นลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพิมพ์ดินเผาแบบพระแผง และโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และคาดว่าวัดเจ้าชายถูกทิ้งร้างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากการขุดแต่งโบราณสถานวัดเจ้าชาย เมื่อปี พ.ศ.2544 พบหลักฐานหลายอย่างเป็นข้อมูลว่า วัดแห่งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น "เขตพุทธาวาส" กับ "เขตสังฆาวาส" เขตพุทธาวาส เป็นที่ตั้งของโบราณสถานต่างๆ ตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก โดยมีเจดีย์ทรงระฆังกลม ตั้งบนฐานปัทม์แปดเหลี่ยมเป็นประธาน ด้านหน้าเจดีย์ประธานทางทิศตะวันออก เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถ เพราะจากการขุดแต่งพบฐานเสมาและใบเสมา รอบเจดีย์ประธานพบฐานเจดีย์ราย 4 องค์ล้อมรอบด้วยกำแพงวัด โบราณสถานต่างๆส่วนใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าประธานทางทิศตะวันออก นอกจากเขตพุทธาวาสแล้ว เนินดินทางทิศใต้ขององค์เจดีย์ประธาน พบเศษภาชนะดินเผาประเภท หม้อทะนน เตาเชิงกราน ไหจากเตาแม่น้ำน้อย และแหล่งเตาบ้านบางปูน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งเศษกระเบื้องมุงหลังคา แต่ไม่พบรูปเคารพทางศาสนา สันนิษฐานว่า เนินดินบริเวณนี้เป็นเขตสังฆาวาส นอกจากนี้ยังพบว่าวัดเจ้าชาย มีการปรับพื้นที่ในเขตพุทธาวาส หลายครั้งด้วยกัน ในสมัยแรกมีการปรับพื้นที่โดยนำดินเหนียวท้องนา มาถมปรับพื้นที่ให้สูงขึ้นจากเดิม เพื่อให้พ้นจากน้ำท่วม จากหลักฐานที่ขุดค้นพบว่าในสมัยแรกยังไม่มีการสร้างเจดีย์ประธาน และตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน โดยเป็นพื้นที่โล่งอยู่นอกเมือง โบราณวัตถุที่พบในดินช่วงนี้มีน้อยมาก สมัยที่สอง มีเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเป็นประธาน มีวิหารอยู่ทางด้านหน้าเจดีย์ประธาน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นคตินิยมของการสร้างวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ในสมัยนั้นเจดีย์ประธาน มีทั้งที่เป็นเจดีย์ทรงกลม เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม หรือปรางค์ เช่นวัดส้มใช้ปรางค์เป็นประธาน วัดพลับพลาชัยใช้เจดีย์ทรงกลมเป็นประธาน ส่วนการใช้เจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเป็นประธานแบบวัดเจ้าชายได้แก่วัดหัสดาวาส วัดตะไกร วัดจงกลม เป็นต้น ซึ่งวัดทั้งสามนี้ ขุดค้นขุดแต่งระบุได้ว่า สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ต่อมาในสมัยที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นและก่อสร้างสิ่งใหม่ เพิ่มเติมคือ วิหารที่อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธานถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอุโบสถ มีการสร้างเจดีย์รายและกำแพงแก้วรอบอุโบสถขึ้น การเปลี่ยนวิหารให้กลายเป็นอุโบสถ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญกับอุโบสถ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป เช่น วัดวังชัย สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต่อมาเมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ 23 ความสำคัญของอุโบสถยิ่งมีมากขึ้น วัดที่สร้างขึ้นในช่วงนี้จะสร้างอุโบสถเป็นประธานของวัด เช่น วัดบรมพุทธาราม ที่สร้างสมัยสมเด็จพระเพทราชา และหากเป็นวัดที่ปฏิสังขรณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็มักแปลงจากวิหารที่เคยตั้งอยู่หน้าเจดีย์ประธานให้กลายเป็นอุโบสถ เช่น วัดมเหยงคณ์ ที่ปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ พ.ศ. 2254 วัดเจ้าชาย ในช่วงนี้ได้มีการก่อพอก เฉพาะส่วนฐานของเจดีย์ประธาน แปลงจากแปดเหลี่ยมเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อค้ำองค์เจดีย์ไม่ให้ทรุดไปมากกว่าที่ เป็นอยู่ ก่อกำแพงรอบโบราณสถานตั้งแต่อุโบสถ เจดีย์รายทั้งสี่องค์ รวมทั้งเจดีย์ประธานและได้ขยายพื้นที่โบราณสถานไปทางทิศตะวันตก อนึ่งวัดเจ้าชาย แห่งนี้มีชาวบ้านแถบวัดกลางทุ่งปากกราน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ของวัดเจ้าชาย เคยเข้ามาขุดกรุที่องค์เจดีย์ ได้โบราณวัตถุเป็นพระพิมพ์ดินเผา ลักษณะของพระพิมพ์เป็นดินแผ่นรูปห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่ากัน พิมพ์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิบรรจุอยู่ 3 แถว แถวละ 3 องค์ และอยู่บนสุดอีก 1 องค์ พระพิมพ์ที่ขุดได้มี 2 ขนาด คือ ขนาด 17 x 10 x 1.5 เซนติเมตร กับขนาด 11 x 6.5 x 1.5 เซนติเมตร พระพิมพ์วัดเจ้าชายนี้ ชาวบ้านแถบนั้นมีความเคารพนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมักจะเรียกพระพิมพ์ลักษณะนี้ว่า "พระเจ้าสิบชาติ" ซึ่งหมายถึงชาติทั้งสิบของพระพุทธเจ้านั่นเอง พระเอกาทศรถ ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างพระและสร้างวัดมากมาย จึงไม่แปลกใจที่ แต่ละวัดที่ท่านสร้างจะมีพระดีบรรจุไว้ในเจดีย์แทบทุกวัด ซึ่งต่อมาได้มีการลักลอบขุดค้น นำพระไปจำหน่ายต่อกันไปโดยไม่เกรงกลัวต่อบาป และไม่สำนึกในบุญคุณในพระองค์ท่าน และตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กษัตริย์พระองค์นี้ ทรงมีพระชายา และมีเชื้อสายสืบสันตติวงศ์ต่อมาตามลำดับคือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 13 มิ.ย. 2558 - 19:56:36 น.



เลือกโอนได้ครับ แจ้งชื่อบัญชีด้วยยิ่งดี
เดิมชื่อจำลอง ชื่อใหม่ภาษะลอง
โอนแล้วแจ้งในกล่องข้อความ หรือโทร โทร 081 - 2877508
จะได้จัดส่งรวดเร็ว
เชิญคลิกที่ ภาสะลอง
มีรายการที่ตั้งประมูล น่าสนใจครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     319 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Suebsaks (725)

 

Copyright ©G-PRA.COM