(0)
+พิมพ์นิยม ท่ากระดาน(เล็ก)400+ปิดทอง* พระกรุวัดเกาะ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อชินเงิน **






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง+พิมพ์นิยม ท่ากระดาน(เล็ก)400+ปิดทอง* พระกรุวัดเกาะ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อชินเงิน **
รายละเอียดพระ กรุที่ค้นพบนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้างไว้แต่เมื่อไหร เพียงแต่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างโบสถ์ วิหาร และกำแพงรอบโบสถ์วิหาร เพราะได้พบพระกรุมีอยู่ที่ซุ้มระหว่างโบสถ์กับวิหารเก่า ซุ้มประตูกำแพงรอบโบสถ์ วิหาร และพบท้ายสุดที่ฐานพระประธาน การค้นพบในอดีตมี ๓ ครั้ง คือ

ครั้ง ที่ ๑ ซุ้มทางเดินติดต่อกันระหว่างโบสถ์กับวิหารเก่าพังลง ปราฏว่ามีพระเครื่องชนิดนี้ ตกกระจัดกระจายอยู่ทั่ว ทางวัดจึงได้รวบรวมสร้างเจดีย์บรรจุไว้ในระหว่างโบสถ์กับวิหาร และแจกให้ต้องการออกไปบ้าง

ครั้ง ที่ ๒ ซุ้มประตูกำแพงโบสถ์วิหาร ด้านทิศตะวันตกพังลงปรากฏว่า มีพระเครื่องชนิดเดียวกันนี้ ตอนแรกไม่มีใครสนใจมากนัก เกิดแตกตื่นเล่าลือกันมาก เนื่องจากทหารเรือเอาไปทดลองยิงดูที่บางนาปรากฏว่ายิงไม่ออก จึงเป็นที่แสวงหากันมากในช่วงนั้น

ครั้ง ที่ ๓ เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตให้รื้อพระอุโบสถ วิหาร และเจดีย์ พบพระเครื่องชนิดเดียวกันอีกที่ฐานพระประธาน ในส่วนที่อยู่ใต้ฐานของพระประธานนั้น เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ โดยค้นพบคณะที่สกัดทำการเคลื่อนย้าย ได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินพิมพ์ต่างๆ ๆ บรรจุอยู่ในองค์พระและใต้ฐานพระเป็นจำนวนมาก

ส่วน ที่บรรจุอยู่ในองค์พระประธานและฐานพระ แต่เดิมทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องบรรจุอยู่ มาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดได้ดำเนินการอัญเชิญพระประธานจากพระอุโบสถเดิมขึ้นพระอุโบสถหลังใหม่ มีการสกัดฐานเพื่อใช้รถยกพระประธานขึ้น ตามเอกสารของวัดเกี่ยวกับองค์พระประธานองค์เก่าของวัดได้บันทึกไว้ ดังนี้

พระ พุทธรูปที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถเดิมไม่ปรากฏพระนาม ต่อมา ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์ นิทฺเทสกเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ รูปที่ ๙ ได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธนราสภะทศพล"

สำหรับ พระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้ เป็นซุงคว้านไส้กลวง ภายนอกถือปูนทับ พระพาหาเป็นไม้ทั้งลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าพระเพลากว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๑๑ นิ้ว สูงแต่ที่ประทับสุดพระรัศมี ๔ ศอก ๒ นิ้วครึ่ง

พระพุทธ รูปองค์รองลงมาซึ่งเป็นองค์กลาง ห้าพระเพลากว้าง ๒ ศอก ๕ นิ้ว ปางมาวิชัย ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง องค์ล่าสุดเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ หน้าพระเพลากว้าง ๑ ศอก ๕ นิ้ว ใต้ฐานองค์พระโปร่ง มีพระมงกุฎ เครื่องราชูปโภคเบญจราชกกุธภัณฑ์ จำลองเป็นส่วนเล็ก ทำด้วยทองคำ สำหรับพระมงกุฎภายในและบริเวณรอบๆบรรจุพระอังคารของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ยอดพระมงกุฎบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์ โดยมีผอบเป็นแก้วครอบอีกชั้นหนึ่ง เดิมที่เดียวทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีสิ่งต่างๆ และพระองคารบรรจุอยู่ภายใน ต่อมาในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๒ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (หม่อมมารดาของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์) ผู้เป็นกุลทายาทในสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้สถาปนาวัดนี้ ได้มาบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุครบ ๗ รอบ ที่พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ

์ ก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ได้แจ้งแก่ทางวัดว่าประสงค์จะบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานกิจ สดับปกรณ์พระอังคารสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ผู้ทรงเป็นต้นราชสกุลของท่าน โดยให้พนักงานโยงผ้าภูษาโยงไปที่พระพุทธรูปองค์ล่างสุด โดยท่านกล่าวยืนยันเป็นแม่นยำว่าพระพุทธรูปองค์นี้ภายในบรรจุพระอังคารของ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ต้นราชสกุล "มนตรีกุล" สำหรับพระอัฐินั้นประดิษฐานอยู่ที่หอพระนาก ในพระบรมมหาราชวัง (ซึ่งแต่เดิมที่เดียวประดิษฐานอยู่ที่วังหน้าจนหอชำรุดรื้อลงในรัชกาลที่ ๕ จึงได้เชิญไปไว้ที่หอพระนาก)

ใน คราวอัญเชิญพระพุทธรูปจากพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อนำขึ้นไปประดิษฐานบนพระอุโบสถหลังใหม่ ได้พบปูชนียวัตถุต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น จึงนับว่าหม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ท่านมีความทรงจำในอดีตเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของต้นสกุลท่านเป็นเยี่ยม แม้จะมีอายุชราถึง ๘๔ พรรษา (ขณะที่มาบำเพ็ญกุศลในวันนั้น)

สำหรับ แผ่นเงิน แผ่นนาก และแผ่นทองคำ ที่พบรวมอยู่กับพระมงกุฎ ได้จารึกอักษรขอม กล่าวถึงพระสูตร พระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งบรรดาของมีค่าเหล่านั้น ทางวัดได้เก็บรักษาได้วเป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำเข้าบรรจุไว้ในพระพุทธรูปองค์เดิมที่พบโดยจะได้บำเพ็ญกุศลถวาย เป็นกรณีพิเศษ ตามพระประสงค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ มีพระประสงค์ในคราวที่พระเทพปัญญามุนี (ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถาวรเถระ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และคณะได้นำสิ่งต่างๆไปถวายที่วังเพื่อของพระวินิจฉัยในอันที่ปฏิบัติต่อ ปูชนียวัตถุนั้น ทั้งนี้โดยที่พระวรวงศ์บพิตร เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นกุลทายาทผู้สูงศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดสัมพันธวงศ์มาเป็นเวลาช้านาน

ส่วน พระประธานองค์ใหญ่ ขณะที่สกัดทากรเคลื่อนย้าย ได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินพิมพ์ต่างๆ บรรจุอยู่ในองค์พระและใต้ฐานพระเป็นจำนวนมากนับเป็นหมื่นองค์ พระเครื่องชุดนี้ตามที่ปรากฏหลักฐานจากท่านผู้มีความรูทางโบราณคดีแจ้งว่า พระชุดนี้สร้างในสมัยเดียวกันกับกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อสร้างแล้วนำมาบรรจุไว้ตามซุ้มกำแพงแก้วบ้าง ในองค์พระเจดีย์บ้าง ในองค์พระประธานบ้าง

พระ กุรุที่บรรจุอยู่ตามซุ้มประตูกำแพงแก้ว และในพระเจดีย์ ทางวัดได้เคยเปิดกรุนำออกแจกจ่ายแก่ประชาชนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกครั้งหนึ่ง และนำออกในคราวรื้อซุ้มประตูเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นครั้งสุดท้าย การนำออกจากซุ้มประตูแต่ละคราวก็เจ้าเป็นซุ้มๆเฉพาะที่ต้องการ ซุ้มไหนยังไม่ได้เจาะก็ให้คงไว้ เหลือมาถึงในคราวสุดท้ายที่ทำการรื้อกำแพงแก้ว


แต่ เดิมทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องบรรจุอยู่ มาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดได้ดำเนินการอัญเชิญพระประธานจากพระอุโบสถเดินขึ้นสู่พระอุโบสถหลัง ใหม่มีการสกัดฐานเพื่อสกัดฐานเพื่อใช้รถยกพระประธานขึ้น จึงได้พบพระจำนวนมาก มีพิมพ์ต่างๆ คือ

๑. พระท่ากระดาน เกศบัวตูม (มีทั้งพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก)
๒. พระปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ซ้ายบ้าง ยกพระหัตถ์ขวาบ้าง
๓. พระปางปรกโพธิ์
๔. พระปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้าง
๕. พระปางไสยาสน์
๖. พระปางทรงเครื่อง หรือ ทรงธิเบต หรือทรงเขากวาง
๗. พระปางยอดธง
พระ เครื่องทั้งหมด มีชนิดปิดทองก็มี ชนิดอาบปรอทก็มี ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนบูชาเพื่อนำทุนทรัพย์สมทบทุนในการสร้างพระอุโบสถ หลังใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๑๕ มีประชาชนสนใจบูชาไปเป็นจำนวนมาก
ราคาเปิดประมูล350 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 เม.ย. 2559 - 08:31:13 น.
วันปิดประมูล - 28 เม.ย. 2559 - 14:04:08 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลคอปแมน (44K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    darkwalf (581)

 

Copyright ©G-PRA.COM