(0)
เหรียญปราบกบฏ 2476 (((เคาะเดียว)))







ชื่อพระเครื่องเหรียญปราบกบฏ 2476 (((เคาะเดียว)))
รายละเอียดเหรียญปราบกบฏ ปี 2476

นับตั้งแต่มีการสถาปนาอาณาจักรไทยขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัย จนกระทั่งมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มี “กบฏ” ขึ้นหลายครั้งนับจำนวนไม่ถ้วนเลยทีเดียว จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ.2475 ก็ยังมีกบฏขึ้นหลายครั้งด้วยกัน แต่ที่เป็นกบฏครั้งสำคัญที่สุดในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ คือ
" กบฏบวรเดช " เพราะอำนาจนั้นไม่เข้าใครและไม่ออกใคร ทุกๆคนก็อยากจะมีอำนาจกันทั้งนั้น ครั้นเมื่อมีอำนาจแล้วก็อยากมีอำนาจให้มากขึ้นไหรือมีอำนาจแล้วก็อยากจะรักษาและอยู่ในอำนาจนั้นให้นานที่สุด

กบฏบวรเดช นับเป็นกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง หัวหน้าในการก่อกบฏคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช สาเหตุของการเกิดกบฏครั้งนั้นก็เนื่องมาจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมไม่พอใจที่นายถวัติ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จากกรณีที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจนี้มีการเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก หลายแนวทางคล้ายกับการปกครองในระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อพื้นฐานโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายของประเทศ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงวิจารณ์ข้อเสนอของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎร์เองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในสภา ในที่สุดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงถูกเสนอให้ยกเลิก จึงเป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกกดดันจนต้องไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว เหตุการณ์นี้ทำให้คณะราษฎร์หลายคนไม่พอใจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะฝ่ายทหาร และนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 หลังจากรัฐประหารพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำคณะราษฎร์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ทำให้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นจนเป็นเหตุให้พล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชและบรรดานายทหารอื่นๆที่โดนปลดหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพ.ศ.2475 ไม่พอใจรัฐบาลอย่างมาก

ดังนั้นพระองค์เจ้าบวรเดชจึงเริ่มก่อกบฏโดยนำกองกำลังจากหัวเมืองโดยเฉพาะทางภาคอีสาน เข้าล้มล้างการปกครองรัฐบาล เริ่มที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยไว้ที่โคราช จากนั้นคณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ามายึดดอนเมืองเอาไว้ โดยเรียกคณะตนเองว่าคณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนปฏิบัติครั้งนี้ว่าแผนล้อมกวาง โดยมีกองกำลังทหารจากหลายหัวเมืองยกเข้ามาล้อมเมืองหลวงหลายกองด้วยกัน ทั้งโคราช อุดรธานี นครสวรรค์ ปราจีนบุรี และเพชรบุรี เป็นต้น

ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้งพ.ท.หลวงพิบูลสงคราม(ยศในขณะนั้น)เป็นผู้บัญชาการปราบฝ่ายกบฏ โดยตั้งกองอำนวยการขึ้นที่สถานีรถไฟบางซื่อ ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพ.ต.หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นตัวแทนมาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย แล้วจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ฝ่ายกบฏได้จับตัวพ.ต.หลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้เป็นตัวประกัน
ต่อมาฝ่ายกบฏได้ส่งน.อ.พระยาเวหาสยานศิลป์สิทธิ์ น.ท.พระยาเทเวศวรอำนวยฤทธิ์ และ ร.อ.เสนาะ รักธรรม เป็นคนกลางถือหนังสือของพระองค์เจ้าบวรเดชมาเจรจากับรัฐบาล โดยยื่นเงื่อนไขมาทั้งหมด 6 ข้อ คือ

1.ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
2.ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
3.ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
4.การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมือง เป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง
5.การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริงๆ
6.การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง
สุดท้ายได้ขอประกาศนิรโทษกรรมแก่คณะตนเอง ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

คณะปฏิวัติจึงได้เคลื่อนกำลังเข้าพระนครทันที โดยยึดพื้นที่จากดอนเมืองเรื่อยมาจนถึงบางเขน ทางฝ่ายรัฐบาลจึงเข้าทำการปราบปราบ โดยมีกองทหารจากปราจีนบุรีเข้าร่วม ฝ่ายกบฏซึ่งเป็นรองทางด้านอาวุธและกำลังสนับสนุน จึงล่าถอยไปโคราชเพื่อตั้งหลัก ฝ่ายรัฐบาลติดตามไปจึงถึงอำเภอปากช่อง จนเกิดการต่อสู้กันอย่างหนัก สุดท้ายฝ่ายกบฏพ่ายแพ้ พระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้ากบฏและพระชายาจึงขึ้นเครื่องบินหนีไปยังเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2476

เมื่อปราบกบฏเสร็จเรียบร้อย จึงได้มีการตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาโทษทหารและพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับการกบฏครั้งนั้น ซึ่งธรรมเนียมของโทษผู้ก่อการกบฏที่มีมาแต่สมัยโบราณคือประหารชีวิต แต่ครั้งนี้ไม่มีโทษประหารชีวิต เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ ทำให้รัฐบาลต้องอภัยโทษให้บรรดาผู้ต้องโทษ เป็นจำคุกตลอดชีวิต

กบฏบวรเดชสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) ที่ถูกกล่าวว่าจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ อันเป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ครั้งนั้นเมื่อรัฐบาลปราบกบฏลงได้ก็มีการสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเรียกว่า " เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ " หรือ คนทั่วไปเรียกว่า " เหรียญปราบกบฏ "
เหรียญนี้เป็นเพียงเหรียญที่ระลึกไม่ได้เป็นเหรียญคุณพระที่มีพิธีปลุกเสกแต่อย่างใด แต่ก็เป็นเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ที่ยังมีให้เห็นได้ในปัจจุบัน

เหรียญปราบกบฏ ปี 2476 เนื้อทองแดงรมดำ

ประเภท : เหรียญราชอิสริยาภรณ์ประเภทบำเหน็จความกล้าหาญ พระราชทานแก่ ผู้ช่วยเหลือราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในการปราบกบฏบวรเดช เมื่อพ.ศ. 2476

ลักษณะเหรียญ : เป็นเหรียญทรงสีเหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 23 มิลลิเมตร ด้านหน้ามีภาพสมุดรัฐธรรมนูญวางบนพานแว่นฟ้าสองชั้น อยู่ภายในวงพวงมาลัยชัยพฤกษ์ แผ่รัศมีกระจายทั่วมณฑล ด้านหลัง มีรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์ ยืนลอยอยู่เหนือตัวอักษรตามขอบล่างว่า "ปราบกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖" ภายใต้ห่วงอันมีอักษรว่า "พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" แพรแถบสีธงไตรรงค์ กว้าง 28 มิลลิเมตร ห้อยบนแพรแถบมีเข็มโลหะทองแดงรมดำ จารึกอักษรว่า "สละชีพเพื่อชาติ"

รับประกันพระแท้ตามกฎทุกประการ

หมายเหตุ ราคาปิดพระไม่เกิน 500 ส่งลงทะเบียนให้ครับ ถ้าจัดส่ง ems เพิ่ม 30 บาทครับ 501 ขึ้นไปส่ง ems ครับ โอนแล้วแจ้ง inbox ให้ด้วยนะครับแร้วก็ระบุชื่อพระเครื่องมาด้วยครับจะได้สดวกกับการตรวจสอบและจัดส่งครับผมควรพิจารณาให้รอบครอบก่อนทำการเคาะประมูลนะครับ ทุกกระทู้มีค่าให้จ่ายครับผม ขอบพระคุนมากครับผม
ยังมีรายการอื่นราคาเบาๆอีกเพียบเลย คลิ๊กที่ค้อนเลยครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน640 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 09 พ.ค. 2563 - 21:13:02 น.
วันปิดประมูล - 10 พ.ค. 2563 - 21:14:56 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลEyeclose (165)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     640 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Rongme (263)

 

Copyright ©G-PRA.COM