(0)
พระพุทธนวราชบพิตร สมเด็จจิตรลดา ภปร. ปี 2529 วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อผงผสมมวลสารจิตรดลา และเส้นพระเจ้า (เกศาในหลวง) พร้อมบัตรรับรองพระแท้






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธนวราชบพิตร สมเด็จจิตรลดา ภปร. ปี 2529 วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อผงผสมมวลสารจิตรดลา และเส้นพระเจ้า (เกศาในหลวง) พร้อมบัตรรับรองพระแท้
รายละเอียดพระพุทธนวราชบพิตร สมเด็จจิตรลดา ภปร. ปี 2529 วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อผงผสมมวลสารจิตรดลา และเส้นพระเจ้า (เกศาในหลวง) สร้างปี 2529 เข้าพิธี พุทธาภิเศก พร้อมกันกับ "พระกริ่งปวเรศปี 30" พิธียิ่งใหญ่อลังการ ในหลวงร.9 เสด็จในพิธี และกล่องเดิม ๆ จากวัด เป็นพระดีที่น่าเก็บสะสมมากครับ
1. พระเครื่องชุดนี้ ได้รับพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธนวราชบพิตร” ซึ่งเป็นพระนามเดียวกันกับ "สมเด็จจิตรลดา"
2. เป็นพระที่มีพระพุทธลักษณะ เดียวกันกับ "สมเด็จจิตรลดา"
3. มวลสารผงจิตรลดา พระราชทานพร้อมกัน กับพระกริ่งปวเรศ ปี 30 และเป็นมวลสาร ชุดเดียวกันกับที่ใส่ในรูกริ่ง พระกริ่งปวเรศปี 30
4. เข้าพิธี พุทธาภิเศก พร้อมกันกับ "พระกริ่งปวเรศปี 30"
5. ด้านหลังประทับตรา "ภปร."
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการประกอบพิธี ณ.วัดบวรฯ ในวันเสาร์ ที่ 12 เมษายน 2529
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธาน พิธีอธิฐานจิต โดยมีพระอาจารย์ ผู้ทรงศีลาจริยวัตร ร่วมพิธี ดังนี้
1.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์
2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
3.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง
4.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม
5.หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย
6.หลวงพ่อมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา
7.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
8.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ
9.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
10.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
11.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
12.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต
13.หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)ฯลฯ
ปัจจุบัน กล่องมี 2 แบบ ถ้าเป็นกล่องเดิม จากวัดเลย ต้องมีตรา ภปร. แบบนี้เท่านั้น จะไม่มีข้อความอื่น ๆ ทั้งสิ้น ส่วนกล่องที่มีข้อความว่า วัดบวรนิเวศวิหาร ผสมมวลสารจิตรลดา นั้น เป็นกล่องที่ทำขึ้นมาใหม่ มิใช่ของวัดเดิมครับ
มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน ๑ คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย ทั้งนี้ มี ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ผู้เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรม เป็นผู้แกะ แม่พิมพ์ ถวายเพื่อทรงพระราชวินิจฉัย แก้ไข จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
ผงพระพิมพ์ ประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ
ส่วนที่ ๑ ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย
ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาลเส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคลสี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ชัน (ผงชันผสมกับน้ำมันยางกวนให้เข้ากันจนเหนียวใช้สำหรับยารอยต่อของแผ่นไม้ใต้ท้องเรือ ป้องกันน้ำเข้าใต้ท้องเรือ)และสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่งใช้แข่งขันกีฬาแหลมทอง ๑๙๖๗
ส่วนที่ ๒ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วยวัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด
ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก เป็นต้น
มวสารศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ
1.ผงดอกไม้พระราชทานเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2517
2.ผงธูปพระราชทาน
3.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในเทศกาลเข้าพรรษา 2517
4.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศ
5.ผงธูปและดอกไม้หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
6.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
7.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
8.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร
9.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น
10.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก
11.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส
12.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สุวัจ วัดถ้ำศรีแก้ว
13.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก
14.ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
15.ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
16.ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระพระญาณสังวร
17.ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
18.ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช (วาส วาสโน)
19.ผงธูปและดอกไม้ จากห้องปฏิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
20.ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
21.ผงดอกไม้จาก พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
22.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา
23.ผงดอกไม้ ผงธูปบูชาในพระบรมเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
24.ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศ
25.ผงพระสมเด็จโต วัดระฆัง
26.ผงพระ พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
27.ผงพระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
28.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระธาตุพนม
29.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร
30.ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
31.ผงพระวัดสามปลื้ม
32.ผงพระหลวงปู่โต๊ะ
33.ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ
34.ผงธูป ทองเปลว ศาลกรมหลวงชุมพร ฯ จ.ชุมพร
35.ผงธูป ทองเปลว พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
36.ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร วัดพระบรมธาตุไชยา
37.ผงพระสมัยศรีวิชัย
38.ผงพระสมัยทวารวดี พบที่ใต้ฐานอุโบสถ วัดเกาะ นครศรีธรรมราช
39.ผงดอกไม้ 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา
40.ผงว่าน 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา
41.ผงวิเศษ จากถ้ำเสือ กระบี่
42.ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง
43.ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง
44.ผงอิฐพระธาตุลำปางหลวง
45ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี
46.ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์ จาก 16 วัด
47.ผงพุทธคุณ อธิษฐานโดย ท่านเจ้าคุณนร ฯ พิธีเสาร์ 5 ปี 2513
48.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร
49.ผงพระ 25 พุทธศตวรรษ
50.ผงธูปดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
51.ผงกะเทาะ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
52.ผงตะไคร่ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
53.ผงว่าน 108 ชนิด จากนครศรีธรรมราช
54.ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
55.ผงกะเทาะองค์พระ ในพระฐานบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
56.ผงธูปจากพระพุทธบาท สระบุรี
57.ผงธูป จาก พระพุทธฉาย
58.ผงธูปจากที่บูชาพระพวย วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
59.ผงธูปจากที่บูชาพระปัญญา วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
60.ผงธูปจากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
61.ผงทอง จาก พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
62.ผงทองจากพระพุทธบาท สระบุรี
63.ผงทองจากพระนอนองค์ใหญ่ วัดพระเชตุพน
64.ผงทองจากพระพุทธฉายสระบุรี
65.ผงกะเทาะจาก พระนลาฏ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
66.ผงกระเบื้องจากองค์พระปฐมเจดีย์
67.ผงอิฐ ปูน รัก ทอง จากพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศ
68.ผงเม็ดพระศก หลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
69.ผงพระสมเด็จ ธมฺมวิตกฺโก
70.ผงผ่านพิธีพุทธาภิเษกสำคัญ ต่าง ๆ ได้แก่
1. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชบพิธ ปี 2512 , 2513 , 2514
2. พิธีพุทธาภิเษก วัดหัวลำโพง ปี 2513
3. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ปี 2512 , 2513
4. พิธีพุทธาภิเษก วัดธาตุทอง ปี 2513
5. พิธีพุทธาภิเษก วัดชิโนรส ปี 2512 , 2513
6. พิธีพุทธาภิเษก วัดอัมพวา ปี 2512 , 2513
7. พิธีพุทธาภิเษก วัดพิกุลทอง ปี 2513
และอีกมากมาย
ทางคณะกรรมการได้จัดงานพิธีพุทธาภิเษก 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 5 - 12 ก.ค. 2519 มีพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกดังนี้
1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
3. พระญาณสิทธาจารย์ หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง (อธิษฐาน 5 คืน )
7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ (อธิษฐาน 5 คืน )
8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด
10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม
11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม
14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี

**** หมายเหตุ รายการนี้หากประมูลได้ขอไม่ส่งออกบัตรนะครับ เนื่องจากทางสถาบัน G-PRA ยังไม่มีข้อมูลพระพิมพ์นี้ ท่านที่ต้องการบัตร G-PRA ผ่านไปก่อนนะครับ ส่วนกรณีอื่นๆ ผมรับประกันตามกฎเว็บ G-PRA ทุกประการ ดังนั้นควรพิจารณาก่อนเคาะนะครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาทั้ง 2 ฝ่าย
ราคาเปิดประมูล7,500 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ500 บาท
วันเปิดประมูล - 21 ก.ย. 2563 - 09:13:46 น.
วันปิดประมูล - 26 ก.ย. 2563 - 09:13:46 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkoontoop (435)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     7,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     500 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM