(0)
100 เดียวแดง พระหลวงปู่ทวด หลังยันต์ (สมเด็จเจ้าเกาะยอ) วัดสุวรรณคีรี ปี 2505 จ.สงขลา เนื้อว่าน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง100 เดียวแดง พระหลวงปู่ทวด หลังยันต์ (สมเด็จเจ้าเกาะยอ) วัดสุวรรณคีรี ปี 2505 จ.สงขลา เนื้อว่าน
รายละเอียดยังมีรายการวัดใจอีกเยอะอย่าลืมคลิกดูที่ฆ้อนนะคะ
พระพิธีสุดยอดแห่งการสร้างหลวงปู่ทวดอีกครั้งนับตั้งแต่ได้มีการจัดสร้างกันมา ปกติใครๆ ก็กล่าวกันว่าหลวงปู่ทวด ให้ทันอาจารย์ทิมปลุกเสก นับว่าใช้ได้ แต่วัดสุวรรณคีรี มีดีซ้ำซ้อนด้วยเกจิ 108 รูป ที่ร่วมปลุกเสก
พระหลวงปู่ทวด วัดสุวรรณคีรี ปี 2505 ได้ขึ้นแท่นเป็นพระหลวงปู่ทวดต่างวัดที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ เพราะได้พระเถระผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น ถึง 5 ท่านเป็นประธานปลุกเสก เช่น
1.พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี(ผู้เป็นประธานปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่ได้รับการยอมรับที่สุด)
2.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จ.นครฯ (ฉายา เทวดาเมืองนครศรีฯ ผู้ที่ได้ชื่อว่า "วาจาสิทย์ แดนใต้" และ เป็นที่เคารพศรัทธา เป็นอันดับต้นๆของภาคใต้ )
3.หลวงพ่อวรรณ วัดปากพะยูน จ.พัทลุง (พระสงฆ์ผู้เรืองเวทย์ และ ได้ชื่อว่าวาจาสิทย์ ของเมืองลุง เป็นที่เคารพศรัทธา ของชาวพัทลุง และ สงขลา เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และ พระสงฆ์ โดยทั่วไป ถือเป็นเสาหลักด้านกำลังใจ ทางลุ่มทะเลสาปสงขลา ในสมัยที่โจรชุกชุม)
4.หลวงพ่อช่วง วัดกลาง จ.สงขลา (พระสงฆ์ผู้เป็นที่ศรัทธา และ อาวุโส และเป็นที่สุดของจังหวัดสงขลาสมัยนั้น)
5.หลวงพ่อเส้ง วัดแหลมทราย จ.สงขลา (พระสงฆ์ ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องอาคม และ ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ที่สุดองค์หนึ่งในจ.สงขลา พระเครื่องของท่านเป็นที่นิยม)
โดยมีหลักฐานการปลุกเสกเป็นรูปถ่ายด้วย มีพิธีปลุกเสกที่พิถีพิถัน และ อยู่ในการควบคุมรายละเอียดของท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ นอกจากได้พระสงฆ์ สุดยอดแห่งยุคในภาคใต้สมัยนั้น ถึง 5 ท่านแล้ว ยังได้พระเกจิผู้เรืองเวทย์ ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ อีก 108 องค์ มาปลุกเสก ถึง 6 วัน 6 คืน ตลอดถึงมวลสารที่รวบรวมมากมายตามสูตรว่านของหลวงปู่ทวด
โดยการจัดสร้าง ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น 2 เนื้อ คือ เนื้อว่าน และ เนื้อผงใบลาน จัดสร้างเป็น 3 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ซุ้มกอใหญ่ (กรรมการ) มีเฉพาะเนื้อว่าน
2. พิมพ์ซุ้มกอเล็ก มีเฉพาะเนื้อใบลาน
3. พิมพ์รูปไข่ มีทั้งเนื้อว่านและใบลาน
และมีพิมพ์พิเศษ พระพิมพ์ศรีวิชัย ที่จัดสร้างพร้อมกัน
รวมถึงยังได้มีการจัดสร้างพระบูชา เนื้อว่านขึ้นอีกด้วย
เนื้อขององค์พระที่สร้างด้วยใบลาน จะละเอียด สีดำ หรือสีเทา
เนื้อขององค์พระที่สร้างด้วยว่าน จะหยาบเป็นสีน้ำตาล หรือสีชมพู ถ้ามีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดอยู่มาก
ลักษณะพิเศษของวัตถุมงคลวัดสุวรรณคีรี ก็คือ จะมีหินชนิดหนึ่งฝังอยู่ด้านหลัง เรียกว่า หินเพชรน้ำค้าง หรือ หินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งได้มาจาก จังหวัดยะลา (ซึ่งปกติแล้วจะมีในพระพิมพ์ศรีวิชัย และพิมพ์ซุ้มกอใหญ่ส่วนพิมพ์อื่น อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้) หินเขี้ยวหนุมาน เป็นรัตนชาติที่มีพลังอานุภาพแห่งความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์อยู่ในตัวเอง เป็นพลังที่สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นพลังที่ดี มีพุทธคุณในตัวเองทั้งที่ยังไม่ได้ปลุกเสก เป็นหินแห่งโชคลาภ เมตตามหานิยมและช่วยคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำให้เกิดความแคล้วคลาด มหาอุด ป้องกันคุณไสย คุณผี คุณคน ป้องกันภยันตราย ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล ช่วยเสริมส่งวาสนาบารมี นำโชคลาภมาสู่ผู้ครอบครอง คนสมัยก่อนนิยมนำหินเขี้ยวหนุมานพกติดตัวไว้ เพื่อกันคุณไสย เขี้ยวงาต่างๆ สามารถป้องกันปัญหา และขจัดปัดเป่าสิ่งเลวร้ายให้ออกจากร่างกาย อาคารบ้านเรือน และสถานที่ที่ทำงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถปรับสมดุลตามธรรมชาติของร่างกายได้และพลังที่เปล่งออกมาเป็นพลังที่มีแต่ความเยือกเย็น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าจากธรรมชาติอย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถรับและดักเก็บพลังได้มาก
ย้อนหลังกลับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา "สมเด็จเจ้าเกาะยอ" หรือในชื่อ "พระราชมุนีเขากุด" ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายคำมีกับนางแก้ว แต่เดิมท่านมีชื่อว่า "ขาว" ครั้งเมื่อเกิดมากลางฝ่ามือของท่านเป็นรูปดอกบัวสีขาว เมื่ออายุ 20 ปี ตาของท่านได้นำไปฝากกับ "อธิการอ่ำ" วัดต้นปาบ ตำบลบ้านพรุ เพื่อให้บวชเรียนและอุปสมบทในที่สุด และจำพรรษาอยู่ที่วัดต้นปาบอยู่ถึง 7 พรรษา เมื่อศึกษาหลักธรรมจนแตกฉาน จึงขอลาพระอธิการอ่ำเพื่อออกเดินธุดงค์ สมเด็จเจ้าเกาะยอไปจำพรรษอยู่ที่วัดสุวรรณคีรี ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร (วัดโบราณเก่าแก่อีกแห่งของจังหวัดสงขลา) อยู่ถึง 6 พรรษา ก่อนท่านจะออกเดินธุดงค์ต่อไปยัง วัดบางโหนด ตำบลคูเต่า และเมื่อออกพรรษาท่านได้เดินธุดงค์ไปยังเมืองสทิงพระ เพื่อพบกับ "สมเด็จเจ้าพะโคะ" หรือ "หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ที่เราชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ทั้งสองได้นั่งสนทนาธรรมจนเป็นที่ชอบพอกัน
บางตำนานเล่าว่า ระหว่างที่หลวงปู่ทวดกับสมเด็จเจ้าเกาะยอกำลังสนทนากัน สมเด็จเจ้าเกาะยอตั้งสัจอธิษฐานว่า หากตัวท่านและสมเด็จเจ้าพะโคะได้ร่วมสร้างบารมีร่วมกันมา ขอให้สมเด็จเจ้าพะโคะนั่งอยู่บนพรมสีแดง เหตุการณ์อัศจรรย์ก็เกิดขึ้น เมื่อสมเด็จเจ้าเกาะยออธิษฐานเสร็จ ก็เห็นสมเด็จเจ้าพะโคะนั่งอยู่บนพรมสีแดงจริงๆ หลังจากนั้นทั้งสองจึงออกเดินธุดงค์ไปด้วยกัน จนไปพบ "สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่" เมื่อสนทนาธรรมเสร็จ สมเด็จเจ้าเกาะยอก็ตั้งสัจอธิษฐานต่อว่า หากตัวท่านกับสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ เคยสร้างบุญบารมีร่วมกันมาตั้งแต่ชาติปางก่อน ก็ขอให้สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ยืนอยู่บนพรมสีเหลือง เมื่ออธิษฐานเสร็จท่านก็เห็นสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ยืนอยู่บนพรมสีเหลือง ต่อมาทั้งสมเด็จสามจึงร่วมออกเดินธุดงค์ เพื่อไปพบกับสมเด็จเจ้าท่าเภา (วัดท่าสำเภาเหนือ จังหวัดพัทลุง) ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า "สมเด็จเจ้าพรหมทอง" ทั้งสี่ได้ร่วมสนทนาธรรมจนพอใจ สมเด็จเจ้าเกาะยอได้ตั้งสัจอธิษฐานอีกครา ครั้งนี้หากสมเด็จเจ้าท่าเภาเคยร่วมบุญบารมีกับท่านมา ก็ขอให้สมเด็จเจ้าท่าเภานั่งบนพรมสีขาว ผลปรากฏว่าเป็นไปตามดังที่สมเด็จท่านอธิษฐานไว้
สมเด็จเจ้าทั้งสี่ออกเดินทางธุดงค์ร่วมกันอยู่ระยะหนึ่งก็แยกจากกัน โดยสมเด็จเจ้าพะโคะออกเดินธุดงค์กลับไปที่วัดช้างไห้ สมเด็จเจ้าท่าเภาเดินกลับไปที่วัดท่าสำเภาเหนือ และสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่เดินทางกลับไปวัดสูงเกาะใหญ่ ส่วนสมเด็จเจ้าเกาะยอได้ออกเดินธุดงค์ไปเมืองสงขลา ลงเรือข้ามฝั่งที่เกาะยอ บ้านแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ ท่านไปปักกลดจำพรรษาอยู่บริเวณนี้นานถึง 7 เดือน จึงเดินทางกลับไปเยี่ยมบิดาและมารดา ณ บ้านพรุ และจำพรรษาที่วัดต้นปาบ ระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่นั้น สมเด็จเจ้าเกาะยอได้เหยียบรอยเท้าเอาไว้ในบริเวณวัดต้นปาบ เหมือนสมเด็จเจ้าพะโคะที่เหยียบไว้ ณ วัดพะโคะ ต่อมาชาวบ้านเรียกวัดต้นปาบว่า "วัดพระบาทบ้านพรุ"
หลังจากนั้นสมเด็จเจ้าเกาะยอเดินทางกลับไปยังเกาะยออีกครั้งหนึ่ง ท่านได้ไปปักกลดอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า "เขากุฏิ" (เขากุฏิ มาจากการเป็นที่ตั้งของกุฏิสมเด็จเจ้าเกาะยอ) คืนวันหนึ่งระหว่างที่สมเด็จเจ้านั่งสมาธิยู่นั้น ได้เกิดนิมิตรเห็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จลอยลงมายังยอดเขา ทำนายว่าต่อไปสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ขอให้สมเด็จท่านจำพรรษอยู่ที่นี่ ให้สร้างรูปเหมือนพระพุทธองค์ ต่อมาสมเด็จเจ้าเกาะยอก็ได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานยังยอดเขากุฏิ จนกระทั่งสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงเห็นว่า สมเด็จเจ้าเกาะยอเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ว่า "พระราชมุนีเขากุฏิ" แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปมักเรียกท่านว่า "สมเด็จเจ้าเกาะยอ" หรือ "สมเด็จเจ้าเขากุฏิ"
ราคาเปิดประมูล80 บาท
ราคาปัจจุบัน560 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ก.ค. 2564 - 08:53:55 น.
วันปิดประมูล - 30 ก.ค. 2564 - 09:06:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลgain2532 (180)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 ก.ค. 2564 - 08:54:19 น.



สวยเดิมๆคะ


 
ราคาปัจจุบัน :     560 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ป่าบอนต่ำ (947)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM