(0)
@@@ เคาะเดียวแดงค่ะ @@@วัดใจกันเลยกับพระสวยๆบ้านๆค่ะ@@@เหรียญแม่ชีขนนกยูง สภาพสวยๆค่ะ@@@มีอีกหลายรายการที่ค้อนนะค่ะ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@@ เคาะเดียวแดงค่ะ @@@วัดใจกันเลยกับพระสวยๆบ้านๆค่ะ@@@เหรียญแม่ชีขนนกยูง สภาพสวยๆค่ะ@@@มีอีกหลายรายการที่ค้อนนะค่ะ
รายละเอียดแม่ชีจันทร์ เป็นอุบาสิกา ผู้ก่อตั้งวัดพระธรรมกาย

อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นหนึ่งในจำนวนศิษย์คนสำคัญของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งเป็นผู้นำในด้านธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ซึ่งท่านได้รับคำยกย่องความสามารถในเรื่องของการปฏิบัติธรรมจากหลวงปู่วัดปากน้ำว่า "ลูกจันทร์นี้ เป็นหนึ่งไม่มีสอง"[ต้องการอ้างอิง] ท่านเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สืบสานมโนปณิธานของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มายังพระราชภาวนาวิสุทธิ์หรือหลวงพ่อธัมมชโย ผู้มีมโนปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายไปทั่วโลกดุจเดียวกัน อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นผู้ให้กำเนิด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้หล่อหลอมการฝึกฝนอบรมตนเองและธรรมปฏิบัติให้แก่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ตั้งแต่เมื่อครั้งยังมิได้อุปสมบท
เนื้อหา
ประวัติ

อุบาสิกา จันทร์ ขนนกยูง เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2452 ซึ่งตรงกับ วันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ที่ อำเภอนครไชยศรี จ. นครปฐม ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องชายหญิงทั้งหมด 9 คน มีบิดาชื่อ พลอย มีมารดาชื่อ พัน ซึ่งประกอบอาชีพทำนา ฐานะของครอบครัวจัดอยู่ในระดับปานกลาง[1] มารดาของอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นผู้ที่มีฐานะดีกว่าบิดา ในสมัยเด็กมีความใกล้ชิดกับมารดามากกว่าบิดา มารดาเป็นคนใจดี ชอบทำขนมให้ลูกๆ รับประทาน ส่วนบิดาเป็นคนติดสุรา จึงมักทะเลาะกับมารดาเสมอ ตั้งแต่วัยเด็ก ท่านมีอุปนิสัยเป็นคนว่านอนสอนง่าย รักสะอาด ขยัน อดทน คล่องแคล่วว่องไว ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญู เรียบง่าย ประหยัด มีระเบียบวินัยสูง เมื่อเจริญวัยเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และ วัยอาวุโส ท่านเป็นผู้ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบและความสะอาดของวัด รวมถึงเป็นผู้วางกฎระเบียบของวัดพระธรรมกาย เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

ด้วยเหตุที่บิดาติดสุรา เมื่อมึนเมามักบ่นพึมพำ มารดารู้สึกรำคาญ จึงตะโกนออกไปว่า "ไอ้นกกระจอก อาศัยรังเขาอยู่" เมื่อบิดาของท่านได้ยินก็โกรธจัด จึงถามลูกๆ ว่าได้ยินที่แม่ด่าว่าพ่อไหม เด็กหญิงจันทร์ ไม่อยากให้บิดาและมารดาทะเลาะกันจึงกล่าวว่า มารดากล่าวเช่นนั้นคงไม่ได้หมายถึงบิดา ทำให้บิดาโกรธมากจึงแช่งว่าขอให้เด็กหญิงจันทร์หูหนวก 500 ชาติ ทำให้เด็กหญิงจันทร์กลัวมาก เพราะเชื่อว่าคำพูดของบิดามารดานั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากแช่งลูกอย่างไรย่อมจะเป็นเช่นนั้น เมื่อเด็กหญิงจันทร์อายุได้ 13 ปี บิดาได้เสียชีวิตในวันที่เด็กหญิงจันทร์กำลังอยู่ในท้องนา ทำให้ไม่ได้มาขอขมาบิดาก่อนเสียชีวิต ซึ่งความรู้สึกกลัวนั้นยังคงติดอยู่ในใจของเด็กหญิงจันทร์ตลอดมา จนกระทั่งเวลาผ่านไปทำให้ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือที่รู้จัก กันในอีกนามหนึ่งคือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ว่าท่านสามารถสอนสมาธิเพื่อไปเยี่ยมญาติที่เสียชีวิตแล้วได้ ไปนรก สวรรค์ และนิพพานได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นางสาว จันทร์ ปรารถนาที่จะศึกษาวิธีการนั่งสมาธิเพื่อไปขอขมาบิดาในปรโลกเพื่อให้ตนไม่ ต้องหูหนวกในชาติต่อๆ ไป
[แก้] เส้นทางธรรม

ปี พ.ศ. 2478 เมื่อท่านอายุได้ 26 ปี จึงตัดสินใจลามารดาและพี่น้อง เพื่อหาทางไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยอ้างว่าจะไปหางานทำ ทุกคนจึงเข้าใจว่าท่านอยากได้เงินทอง จึงออกปากมอบทรัพย์สมบัติให้ แต่ท่านไม่รับ แต่กลับมอบทรัพย์สินส่วนของตน อันได้แก่ เงิน และ ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกให้พี่น้อง แล้วลามารดาโดยนำเงินติดตัวไป 2 บาท

ในสมัยนั้นการเข้าไปอยู่ในวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นเรื่องไม่ง่ายนักเพราะที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีพระและแม่ชีอยู่จำนวนมาก ท่านจึงวางแผนไปทำงานรับใช้คุณนายเลี๊ยบ สิกาญจนานันท์ เศรษฐินีย่านสะพานหัน ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากคนสำคัญของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งมักไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ นางสาวจันทร์ยอมทำงานรับใช้ทุกอย่างเพื่อให้เจ้านายไว้วางใจ จนกระทั่งได้พบกับอาจารย์ผู้สอนธรรมปฏิบัติให้แก่คุณนายเลี๊ยบ ซึ่งมีชื่อว่า นางทองสุก สำแดงปั้น ซึ่งในขณะนั้นเป็นแม่ค้าขายมะพร้าวกะทิและเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ นางทองสุก สำแดงปั้น ได้สอนธรรมปฏิบัติให้แก่ท่านจนกระทั่งได้เข้าถึงพระธรรมกายและพาไปพบบิดาที่ ยมโลกของมหานรกขุมที่ 5 (มหาโรรุวมหานรก) เพราะกรรมดื่มสุราเป็นอาจิณ ท่านเล่าด้วยตนเองว่า เมื่อท่านได้ขอขมาบิดาแล้วจึงช่วยให้บิดาอาราธนาศีล 5 และนำบิดาให้พ้นจากยมโลก[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] ออกบวช

ปี พ.ศ. 2481 เมื่อนางสาวจันทร์ได้พบพ่อด้วยธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายสมความปรารถนา แล้ว ก็มีความซาบซึ้งในธรรมปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ลาคุณนายเลี๊ยบไปบวชที่วัดปากน้ำ 1 เดือน โดยไปกับนางทองสุก สำแดงปั้น ซึ่งในขณะนั้นมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนางสาวจันทร์ได้พบกับหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว ก็ได้เข้าศึกษาวิชชาธรรมกายในโรงงานทำวิชชาตั้งแต่วันแรกที่พบกัน ซึ่งการจะผ่านเข้าไปปฏิบัติธรรมขั้นสูงในโรงงานทำวิชชานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักต้องผ่านการทดสอบหลายอย่างก่อนที่จะได้เข้าไป[ต้องการอ้างอิง] เมื่อได้เรียนรู้ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายมากขึ้น ทำให้ท่านเกิดความซาบซึ้งในธรรมปฏิบัติอย่างยิ่ง จึงได้ชวนนางทองสุก สำแดงปั้น โกนผมออกบวชเป็นอุบาสิกาแม่ชีในคืนก่อนวันครบกำหนด 1 เดือนที่ได้ลาคุณนายเลี๊ยบมาปฏิบัติธรรมนั่นเอง
[แก้] การก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมและวัดพระธรรมกาย

ก่อนที่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จะถึงแก่มรณภาพ ท่านได้มีคำสั่งให้อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อยู่รอบุรุษผู้หนึ่งที่มาเกิดแล้วที่จ.สิงห์บุรี เพื่อจะได้ถ่ายทอดวิชชาธรรมกายให้แก่บุรุษหนุ่มท่านนั้น เพื่อขยายพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปให้ทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งต่อมาบุรุษหนุ่มท่านนั้นคือ นายไชยบูลย์ สุทธิผล ซึ่งต่อมาคือ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงได้พบและสั่งสอนธรรมปฏิบัติให้แก่นายไชยบูลย์ สุทธิผล ซึ่งในขณะนั้นเป็นนิสิตหนุ่มจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดปากน้ำภาษีเจริญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 บ้านธรรมประสิทธิ์มีนิสิต นักศึกษา และสาธุชน มาปฏิบัติธรรมกับอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง จำนวนมากจนทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่อาจรองรับการปฏิบัติธรรมได้อีก นายไชยบูลย์ สุทธิผล ได้มีดำริร่วมกันกับอุบาสิกาจันทร์ ที่จะสร้างวัดขึ้น เพื่อรองรับการเผยแผ่ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย จึงคิดหาพื้นที่สร้างวัด จนกระทั่งพบที่ดินที่เหมาะสม จึงได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจาก คุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี แต่เนื่องจากวันที่ไปเจรจาขอซื้อที่ดินนั้น ตรงกับวันเกิดของคุณหญิงฯ ท่านจึงปฏิเสธที่จะขายที่ดินผืนดังกล่าว แต่ได้ยกที่ดินผืนดังกล่าวให้โดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งมีจำนวนพื้นที่รวม 196 ไร่ 9 ตารางวา อยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ในปี พ.ศ. 2512 เมื่อนายไชยบูลย์ สุทธิผล ได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามคำแนะนำของ อุบาสิกาจันทร์ ว่าให้ศึกษาปริญญาทางโลกให้จบเสียก่อนจึงค่อยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ นายไชยบูลย์ สุทธิผล จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในวันที่ 27 สิงหาคม ซึ่งต่อมาวัดพระธรรมกายได้กำหนดให้วันดังกล่าวคือ "วันธรรมชัย"

การก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมได้สร้างอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งการก่อสร้างศาลาสำหรับปฏิบัติธรรมและกุฏิเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2518 ธมฺมชโย ภิกฺขุและอุบาสิกาจันทร์ จึงได้ย้ายจากบ้านธรรมประสิทธิ์มาอยู่ที่ศูนย์พุทธจักปฏิบัติธรรม อุบาสิกาจันทร์ ได้ตั้งกฎระเบียบภายในวัดด้วยตนเองทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความมีระเบียบ และความสะอาด ซึ่งได้นำประสบการณ์เมื่อครั้งที่อยู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มาใช้ และเนื่องจากวัดเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ การเทศน์สอนให้ลึกซึ้งยังทำได้ไม่สะดวกนัก ท่านจึงได้สั่งสอนญาติโยมด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่สำคัญต่อการปฏิบัติธรรม ซึ่งก็คือ ความมีระเบียบ สะอาด เช่น การวางรองเท้า ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ถังขยะ โดยท่านสอนว่าสิ่งเหล่านี้ทำไปเพื่อให้ใจของผู้ที่มาปฏิบัติธรรมนั้น ใส สะอาด สว่าง สงบ

ประมาณปี พ.ศ. 2528 เมื่อมีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมมากจนพื้นที่วัด 196 ไร่ ไม่อาจรองรับได้ มูลนิธิธรรมกาย จึงได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 2,000 ไร่เศษ จากกองมรดกของ ม.ร.ว. สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อจัดสร้างเป็นศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติธรรม
[แก้] ประธานงานบุญกฐินสามัคคี

ปี พ.ศ. 2531 อุบาสิกาจันทร์ ได้ขอพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เป็นประธานกฐินครั้งแรกในชีวิด ซึ่งในครั้งนั้นได้ทำการทอดกฐินสามัคคี ณ สภาธรรมกายสากลหลังคาจาก วัดพระธรรมกาย ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
[แก้] ชีวิตช่วงสุดท้าย

ปีพ.ศ. 2537-2541 สุขภาพของอุบาสิกา จันทร์ ขนนกยูง อ่อนแอลงมาก ไม่สามารถออกมาต้อนรับและสอนศิษยานุศิษย์ได้ แต่ท่านยังคงเฝ้าดูความก้าวหน้าในการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์อย่างต่อเนื่อง เช้ามืดของวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2543 อุบาสิกา จันทร์ ขนนกยูง ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น กรุงเทพฯ

หลังจากการถึงแก่กรรมของอุบาสิกา จันทร์ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้มีดำริให้สวดอภิธรรมติดต่อกันเป็นเวลา 500 วัน ณ บ้านแก้วเรือนทอง ซึ่งต่อมาคือพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลผันในฝันวิทยา ที่อยู่ในโซนด้านเหนือของสภาธรรมกายสากล

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้เลือกวันณาปณะกิจศพของอุบาสิกาจันทร์ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นวันที่เดียวกับที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และอุบาสิกาทองสุก สำแดงปั้น ได้มรณภาพและถึงแก่กรรมลง ซึ่งในเวลาต่อมาทางวัดพระธรรมกายได้กำหนดให้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี คือ วันมหาปูชนียาจารย์

ในงานณาปณะกิจศพอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง นั้น พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้จัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่เพื่อบูชาธรรมครูที่ได้สอนวิชชา ธรรมกายให้แก่ท่าน โดยถวายหนังสือฎีกาที่ได้ลงนามของท่านด้วยมือของท่านเอง เพื่อนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั่วเมืองไทยจาก 30,000 วัดทั่วประเทศไทย เพื่อร่วมงานณาปณะกิจศพแก่อุบาสิกา จันทร์ ขนนกยูง ร่วมกับศิษยานุศิษย์ที่มาร่วมงานกว่า 200,000 คน

ภายหลังการณาปณะกิจศพกระดูกของอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ได้เปลี่ยนเป็นอัฐิธาตุที่มีลักษณะเป็นรัตนชาติ[ต้องการอ้างอิง]คือ เป็นทอง ทับทิม และ แก้ว ซึ่งได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ภายในมหารัตนธาตุเจดีย์ ประดิษฐาน ณ บ้านแก้วเรือนทองคุณยายฯ หรือโรงเรียนอนุบาลฝ้นในฝันวิทยา ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนไปในเดือน พฤษภาคม 2553 แต่ยังคงประดิษฐานรัตนอัฐิธาตุของอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อยู่เช่นเดิมเพื่อให้สาธุชนได้สักการะต่อไป
[แก้] สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับคุณยายอาจารย์ฯ ที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้มีดำริให้ก่อสร้างขึ้น โดยอาศัยการร่วมปัจจัยจากศิษยานุศิษย์จำนวนมากทั่วโลก ได้แก่

1) หอฉัน
หอฉันที่วัดพระธรรมกาย ได้ตั้งชื่อตามผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกายว่า หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง หรือ เรียกโดยย่อว่า หอฉันคุณยาย สามารถรองรับพระภิกษุได้มากถึง 6,000 รูป โดยในแต่ละวัน จะมีสาธุชนมาร่วมกันถวายภัตตาหารและน้ำปานะแด่พระภิกษุสามเณร จำนวนกว่า 1,200 รูป ซึ่งประจำอยู่ ณ วัดพระธรรมกาย หอฉันมีพื้นที่กว้างขวางนี้ มักจะถูกใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะ และยังเป็นที่รวมตัวกันของพระภิกษุสงฆ์เพื่อการสวดมนต์ และ/หรือ การประชุม พร้อมทั้งเป็นสถานที่สำหรับสาธุชนในการถวายภัตตาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อนักบวช เช่น ผ้าไตรจีวร คิลานเภสัช เครื่องอุปโภค ผ้าห่ม ดอกไม้ ดอกบัว พวงมาลัย และอื่นๆ


2) มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
มหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่ผู้สถาปนาวัดพระธรรมกาย โดยเหล่าศิษยานุศิษย์ของคุณยายอาจารย์ฯ ทั้งพระภิกษุและสาธุชน ร่วมกันประกอบพิธีตอกเสาเข็มต้นแรก สถาปนามหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2545 มหาวิหารฯ เสร็จสมบูรณ์ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2546 ทั้งพระภิกษุและสาธุชน ร่วมกันประกอบพิธีอัญเชิญรูปเหมือนทองคำของท่านไปประดิษฐาน ณ ศูนย์กลางของมหาวิหารฯ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 มหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ เป็นสถาปัตยกรรมทรงพีระมิดหก เหลี่ยมสีทอง มหาวิหารฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสระน้ำและแมกไม้อันร่มรื่นภายในวัดพระธรรมกาย มหาวิหารฯ มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ 2 ชั้น โดยที่ชั้นที่ 1 ได้จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับผลงานที่ท่านได้สร้างและอุทิศไว้ในพระพุทธ ศาสนา และจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของท่าน เพื่อบ่งบอกถึงความเรียบง่าย สมถะในการใช้ชีวิตของผู้ที่รักการปฏิบัติธรรม การเป็นผู้สอนธรรมะ และผู้สถาปนาวัดพระธรรมกาย ส่วนชั้นที่ 2 สร้างไว้สำหรับเป็นห้องปฏิบัติธรรม โดยมีรูปหล่อทองคำแท้ของอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตั้งอยู่ ณ กลางห้องปฏิบัติธรรม[2]


3) อาคารร้อยปีคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
ในปี พ.ศ. 2552 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ดำริให้สร้างอาคารเพื่อเป็นอนุสรณ์และบูชาธรรมแก่อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อีกหลังหนึ่งทดแทนพื้นที่ที่เคยเป็นสภาธรรมกายสากลหลังคาจากที่ได้เคยใช้ เป็นที่ปฏิบัติธรรมตั้งแต่ครั้งสร้างวัดพระธรรมกายได้ไม่นานนัก ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของวัด เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นห้องปฏิบัติธรรมของพุทธบริษัทสี่ขนาดใหญ่ เป็นห้องประชุมทางด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ โดยมีเจตจำนงให้เป็นฐานที่ตั้งด้านวิชาการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก และวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน โดยให้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคาร ๑oo ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง โดยมีการระดมทุนร่วมปัจจัยสร้างโดยการทอดกฐินสามัคคี ซึ่งให้ชื่อว่า "กฐินบรมจักรพรรดิ์" ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ม.ค. 2565 - 11:06:50 น.
วันปิดประมูล - 25 ม.ค. 2565 - 00:29:10 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลแทนพระคุณ (525)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ichigomomo (482)

 

Copyright ©G-PRA.COM