(0)
เหรียญสามพระอาจารย์(หลวงพ่อมิ่ง หลวงพ่อมิ่ง พระครูสมุห์ทน) อนุสรณ์ 100 ปี วัดสระกะเทียม จ.นครปฐม ปี 2540 กล่องเดิม ...สุดยอดหายาก สายนครปฐม ไม่ควรพลาด








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญสามพระอาจารย์(หลวงพ่อมิ่ง หลวงพ่อมิ่ง พระครูสมุห์ทน) อนุสรณ์ 100 ปี วัดสระกะเทียม จ.นครปฐม ปี 2540 กล่องเดิม ...สุดยอดหายาก สายนครปฐม ไม่ควรพลาด
รายละเอียดเหรียญสามพระอาจารย์(หลวงพ่อมิ่ง หลวงพ่อมิ่ง พระครูสมุห์ทน) อนุสรณ์ 100 ปี วัดสระกะเทียม จ.นครปฐม ปี 2540 กล่องเดิม

วัดสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้มีการแบ่งเขตปกครองใหม่ จึงได้ย้ายมาขึ้นอยู่กับอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดนาม ‘วัดสระกะเทียม’ มีพระเกจิอาจารย์ที่อาจคุ้นหูอยู่บ้าง คือ พระครูสมุห์ทน ผู้เป็นเจ้าของรูปเหมือนบนเหรียญปั๊มรูปเหมือนปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของท่าน
ความเป็นมาของวัดสระกะเทียมนั้น กล่าวว่า เดิมบ้านสระกะเทียมยังไม่มีวัด เมื่อชาวบ้านมีงานบุญ บวชลูกบวชหลาย หรือต้องการประกอบพิธีทางศาสนาอื่นๆ ต้องเดินทางไปประกอบพิธีกันที่วัดหนองเสือ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองเสือ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่อยู่ห่างไกลออกไป ไม่สะดวกต่อการเดินทาง


ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๙ หลวงปู่มิ่ง ฐานจาโร ขณะเป็นพระลูกวัดหนองเสือ ซึ่งพื้นเพเป็นคนสระกระเทียมได้เดินทางมาเยี่ยมญาติโยมที่บ้านสระกะเทียม ได้ปรารภว่า ชาวบ้านสระกะเทียมต้องเดินทางมาทำบุญถึงวัดหนองเสือเป็นที่ยากลำบาก เพราะถนนหนทางทุรกันดาร ทั้งวัดหนองเสือกับบ้านสระกะเทียมนั้นก็ห่างไกลกันมา เห็นว่าน่าจะสร้างวัดขึ้นที่บ้านสระกะเทียมเพื่อชาวบ้านจะได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต้องเดินทางไปไกล ชาวบ้านต่างเห็นพ้องต้องกันจึงได้ชักชวนกันสร้างวัดขึ้น โดยมีนายบัว นายสังข์ นางเล็ก เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ วัดได้สร้างขึ้นเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้นเอง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. ๒๔๔๒
วัดที่สร้างเสร็จมีชื่อว่า ‘วัดสระกะเทียม’ และชาวบ้านพร้อมใจกันนิมนต์หลวงปู่มิ่งจากวัดหนองเสือ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก
เมื่อแรกสร้างวัดเป็นวัดมหานิกาย หากต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ‘ธรรมยุติกนิกาย’ เนื่องมาจากในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ หลวงปู่มิ่งได้พบกับพระอาจารย์สังข์ ซึ่งเป็นฐานานุกรมในพระพุทธวิริยากร (จิตรฺ ฉนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้ธุดงค์มายังวัดสระกะเทียม เมื่อทั้งสองได้สนทนากันหลวงปู่มิ่งมีความเลื่อมใสในความรู้ด้านธรรมปฏิบัติของพระอาจารย์สังข์เป็นอย่างมาก จึงมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงวัดสระกะเทียมให้เป็นวัดธรรมยุตินิกาย จึงนำความไปปรึกษากับหลวงพ่อดำ วัดหนองเสือ และได้รับคำแนะนำจากพระอุปัชฌาย์ให้ทำให้ถูกต้องตามหลักสังฆกรรม

จากนั้นหลวงปู่มิ่งได้เดินทางไปพบพระพุทธวิริยากร (จิตร์ ฉนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร เพื่อขอญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย ต่อมาพระภิกษุรูปอื่นในวัดได้ญัตติตามด้วย จนกระทั่งวัดสระกะเทียมได้เป็นวัดธรรมยุติกนิกายโดยสมบูรณ์

หลวงปู่มิ่งตามประวัติกล่าวว่า เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๒ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นบุตรของนายมั่ง รักคง และนางเล็ก รักคง ภายหลังจากรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ปกครองวัดมาจนกระทั่งถึงเดือน ๗ พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้มรณภาพด้วยโรคอหิวาห์
จากนั้นหลวงปู่เกิด ถาวโร ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกะเทียมสืบแทน
หลวงปู่เกิด เป็นน้องชายร่วมบิดามารดากับหลวงปู่มิ่ง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๔ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๕ ได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดหนองเสือ แต่จะเป็นเมื่อใด แต่จะมีใครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์หาทราบไม่ ต่อมาได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกายตามหลวงปู่มิ่งผู้เป็นพี่ชาย
หลวงปู่เกิดมีความรู้และฝีมือในทางช่าง เมื่อครั้งร่วมกับหลวงปู่มิ่งสร้างวัดสระกะเทียมขึ้น ได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ขึ้นหลังหนึ่ง ปัจจุบันเป็นวิหารเก็บพระ แม้ว่าหลวงปู่เกิดจะมีสายตาไม่ค่อยดีนัก แต่ฝีมือในการกลึงลูกกรงธรรมาสน์ของท่านสวยงามเรียบร้อยมาก
ในสมัยสร้างวัดสระกะเทียมหลวงปู่เกิดมีส่วนมากในการก่อสร้างเสนาสนะ โดยนำไม้กระดานจากชาวบ้านที่ถวายให้ตามความเชื่อว่า บ้านไหนมีครอบครัวเพิ่งแต่งงานแล้วคลอดลูกตายจะต้องรื้อฝาเรือนออกนำไปถวายวัด ซึ่งหลวงปู่เกิดได้นำไม้เหล่านี้มาสร้างเสนาสนะทั้งหอสวดมนต์ กุฏิ ร่วมกับพระลูกวัด
และเมื่อครั้งที่หลวงปู่เกิดก่อตั้งโรงเรียนวัดสระกะเทียมขึ้น โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นที่เรียน ท่านยังได้ร่วมกับพระลูกวัดต่อโต๊ะและเก้าอี้สำหรับให้เด็กนักเรียน
คนรุ่นเก่าๆ แถบวัดสระกะเทียมเล่าว่า หลวงปู่เกิดท่านพำนักอยู่ที่กุฏิหอสวดมนต์ ส่วนพระสมุห์ทน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปต่อมา และเป็นเจ้าของรูปเหมือนบนเหรียญปั๊มเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ทั้งยังเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกับหลวงปู่มิ่ง และหลวงปู่เกิด ท่านพำนักอยู่ที่กุฏิไม้ ๒ ชั้น คอยอุปัฏฐากหลวงปู่เกิด
ทั้งยังบอกเล่าอีกว่าหลวงปู่เกิดนั้นมีน้ำเสียงสวดมนต์ไพเราะนัก เสียงก้องกังวาลเหมือนเสียงระฆัง เวลามีอุปสมบทหลวงปู่เกิดท่านจะทำหน้าที่เป็นพระคู่สวดกับพระครูห้อย วัดเสน่หา อยู่บ่อยๆ
นอกจากนั้น เมื่อถึงช่วงแล้งฝนไม่ตก หลวงปู่เกิดยังทำพิธีขอฝนให้กับชาวบ้าน โดยอาราธนาพระพุทธรูปเชียงแสนองค์หนึ่งมาทำพิธี ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุโดยพระพุทธปาพจน์ ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นียังประดิษฐานอยู่ที่วัดสระกะเทียม
หลวงปู่เกิดมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
กล่าวสำหรับเจ้าอาวาสวัดสระกะเทียมรูปที่ ๓ คือ พระครูสมุห์ทน จิตฺตปาโล ซึ่งเป็นน้องชายของอดีตเจ้าอาวาสวัด ๒ รูปก่อนหน้า แต่วันเดือนปีเกิดของพระครูสมุห์ทนนั้นไม่อาจสืบทราบได้ ทราบแต่เพียงว่าเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น ได้บวชที่โบสถ์กลางน้ำ ที่บ้านรางพลับ ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในคณะธรรมยุติกนิกายเลย
และได้รับตำแหน่งเป็นพระครูสมุห์ฐานานุกรมพระพระราชกวี (วาสน์) วัดราชบพิธ ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เรื่องราวของพระครูสมุห์ทนมีที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ท่านเป็นพระภิกษุที่มีความเคร่งครัดต่อการปฏิบัติธรรมวินัยรูปหนึ่ง จนเกิดเรื่องราวเล่าขานว่า ท่านเป็นพระที่มีอะไรแปลกๆ รูปหนึ่ง ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่พระครูสมุห์ทนยังเป็นพระลูกวัดสระกะเทียม วันหนึ่งมีคนแปลกหน้าผู้หนึ่งนำพานดอกไม้มาหาท่านขณะกำลังกวาดลานวัดอยู่ พร้อมกับกล่าวกับท่านว่า “กระผมขอนิมนต์พระไปฉันที่บ้านสักหนึ่งองค์ และต้องการพระแท้ๆ” ท่านบอกว่าเลือกเอาเองสิ เขาพูดว่า “กระผมต้องการท่านนี้แหละให้ไปฉันเพลที่บ้าน”
พระครูสมุห์ทนท่านก็รับนิมนต์ และได้ไปพร้อมกับชายคนนั้น โดยมีลูกศิษย์พระครูสมุห์ทนชื่อนายลอยตามไปด้วย ซึ่งจากปากคำบอกเล่าของนายลอยว่า ขณะเดินทางไปนั้น ได้ไปถึงบ้านหลังหนึ่งเขาก็นิมนต์ให้ขึ้นไปบนบ้าน และจัดหาอาหารถวาย ส่วนนายลอยได้ขึ้นไปนั่งบนระเบียงบ้าน เมื่อพระครูสมุห์ทนฉันเสร็จแล้ว เจ้าของบ้านไม่ได้จัดอาหารให้นายลอยได้รับประทานเลย จนกระทั่งพระครูสมุห์ทนและนายลอยกลับวัด
ต่อมาผ่านไปได้ประมาณ ๕-๖ วัน นายลอยพร้อมกับพ่อได้เดินทางผ่านไปละแวกบ้านที่มานิมนต์พระครูสมุห์ทน แต่ไม่พบเห็นบ้านหลังดังกล่าว จึงได้บอกกับพ่อของตนว่า วันก่อนหลวงลุงมาฉันที่นี่ แต่ทำไมวันนี้ไม่เห็นมีบ้านอยู่เลย
อีกเรื่องหนึ่งที่เล่าขานกันว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางวัดรางสระกะเทียมได้ฉลองงานโรงเรียน ซึ่งได้ย้ายมาสร้างใหม่ในที่ปัจจุบัน โดยได้นิมนต์พระครูสมุห์ทนไปสวดมนต์ เมื่อถึงวันงาน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๘ เวลาเย็น ท่านได้ออกจากวัดพร้อมเด็กวัดคนหนึ่งชื่อ สำราญ และตากุ๋ย
หลังจากพระครูสมุห์ทนมรณภาพไปแล้วประมาณ ๗ วัน ตากุ๋ยถึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นว่า ขณะเดินทางไปเกือบถึงวัดอยู่แล้ว ท่านอาจารย์ได้หยุดกึกเฉยๆ คล้ายกับว่าสะดุดอะไรสักอย่างหนึ่ง พอท่านหยุดก็หันหลังมาพูดว่า ใครจะปัสสาวะก็เอาสิ แล้วท่านเองได้เดินลงไปในช่องเล็กๆ ช่องหนึ่งคล้ายทางเดินวัว ตากุ๋ยได้เดินตามหลังท่านเข้าไปด้วย เข้าไปประมาณ ๖ วาเศษๆ ท่านก็หยุดนิ่ง ส่วนตากุ๋ยนั้นได้มองไปข้างหน้าข้างๆ แขนของท่าน ก็ปรากฏว่าได้เห็นผู้ชาย ๓ คน นั่งบนพรมสีเขียว นุ่งผ้าโจงกะเบน ห่มสไบเฉียง ตัดผมแบบเก่า นั่งคุกเข่าประนมมือพูดคุยกับท่าน ซึ่งตากุ๋ยบอกว่าฟังเสียงพูดคล้ายเสียงนกแซงแซว จับความได้ว่า “ถ้าท่านมาวันหลังพวกกระผมจะต้อนรับอีก” ขณะเดียวกันนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งเดินมาระหว่างท่านอาจารย์กับตากุ๋ย มาหยุดตรงหน้าตากุ๋ยแล้วเอื้อมมือมาจับที่ชายพกผ้านุ่งของแก แล้วไปจับที่ชายผ้านุ่งของเธอ แต่ไม่ได้พูดอะไร สังเกตผ้านุ่งของเธอและของแกเป็นสีเม็ดมะขามเหมือนกัน แต่ผมของผู้หญิงคนนั้นสีดังปีกแมลงทับ มีกลิ่นหอมคล้ายรากอบเชย
นอกจากนี้ตากุ๋ยบอกว่า ยังได้เห็นคนอีกเป็นจำนวนมากดูขวักไขว่เหมือนกับมีงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านอาจารย์ยืนอยู่ที่นั้นประมาณ ๑๐ นาที ก็ออกมาพร้อมกับตากุ๋ย ก็พอดีพระในวัดออกมารับ หลังจากสวดมนต์เสร็จแล้ว ท่านบอกตากุ๋ยว่า ออกไปดูการละเล่นอะไรๆ ข้างล่างก่อนสิ ฉันจะคุยกับญาติโยมที่นี้ก่อน ตากุ๋ยจึงลงไปดูการละเล่นเป็นเวลานาน กลับขึ้นมาเกือบเที่ยงคืนพอดี
รุ่งเช้าท่านไปฉันที่วัดรางสระกะเทียมพร้อมกับตากุ๋ย ขณะที่ออกจากวัดสระกะเทียมไปนั้น ท่านได้พูดขึ้นว่า “เมื่อคืนนี้คนเขามาส่ง ๘-๙ คน ตากุ๋ยเห็นไหม” ตากุ๋ยตอบว่า “ผีหลอกเหรอครับ” ท่านพูดว่า “โผงผีที่ไหน” แล้วก็หัวเราะ ทั้งนี้ตากุ๋ยไม่ได้เห็นคนเหล่านั้น ท่านได้เดินนำเรื่อยไปจนถึงวัดรางสระกระเทียม เมื่อถึงเวลาฉันเช้า เขาได้จัดอาหารถวายองค์ละสำรับ แต่ตากุ๋ยและคนอื่นๆ ได้เห็นเห็นว่ามีคนนำอาหารถวายอีกหลายคน ซึ่งคนเหล่านั้นต่างก้ผลัดกันนำอาหารมาถวายทีละคน ชาวบ้านที่นั้นเข้าใจว่าคนเหล่านั้นเป็นคนที่อยู่บ้านใกล้ๆ กัน แต่ไม่มีใครรู้จักเขาเลย ขณะที่กำลังฉันอยู่นั้น คนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า “นิมนต์ฉันอาหารในโถนั้นเถิดครับ เป็นของคาวไม่ใช่ของหวานหรอก” ท่านก็เปิดโถนั้น ครั้นฉันเสร็จแล้วท่านก็เลื่อนอาหารทั้งหมดให้ตากุ๋ยและลูกศิษย์กิน ขณะที่ตากุ๋ยกำลังกินอยู่นั้น ท่านพูดว่า “กุ๋ย ลองกินอาหารในโถนั้นสิ ของเขาอร่อยดีเหลือเกิน” ว่าเป็นแกงมัสมั่น มีเนื้อชิ้นขาวๆ ละเอียดมาก มีผักสีเขียวๆ มีรสเลิศเป็นพิเศษ
หลังจากฉันเสร็จก้กลับวัด ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ท่านถามตากุ๋ยว่า “วันที่เราได้ไปวัดรางสระกะเทียมและได้แวะเข้าไปในทางเล็กๆ ก่อนจะถึงวัดนั้น ตากุ๋ยเห็นอะไรบ้าง” ทั้งนี้เพราะท่านเข้าใจว่าตากุ๋ยไม่ได้เห็นอะไร ตากุ๋ยตอบว่า เห็นครับ ท่านเลยพูดตัดบทขึ้นว่า “เห็นก็เห็นนะ แต่ตากุ๋ยอย่าไปพูดกับใครว่า เราได้พูดอะไรบ้างวันหลังเราค่อยไปกันอีก” หลังจากนั้น ๔-๕ สัน ท่านก็ได้มรรภาพเมื่อปีกุน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
ครั้งหลังสุดเมื่อท่านมรรภาพ ชาวบ้านสระกะเทียมได้ยินจำนวนมาหโห่ร้องเสียงดังในวัด ต่างพากันมาดู แต่ก้ไม่เห็นมีใคร ตกกลางคืนคนที่นอนอยู่ใกล้ๆ ศพชื่อ ตาชื่น ได้เห็นคนหลายคนแต่งกายด้วยชุดเครื่องแบบตำรวจสีขาว ได้นำดอกไม้มาบูชาบนกุฏิ แต่มิได้ขึ้นมาบนบันได ขึ้นมาตามเสา ตาชื่นเล่าว่า ถ้าแกหลับตาจึงจะเห็นคนเหล่านั้น แต่ถ้าลืมตาก็จะไม่เห็น ตาชื่นกลัวมาจึงเข้าไปนอนใกล้ๆ พระ รุ่งเช้าก็ออกจากวัดไปเลย
ล่วงมาประมาณ ๑๐ วัน เป็นวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นวันเผาศพพระครูสมุห์ทน ขณะพระกำลังเทศน์อยู่นั้น ตากุ๋ยได้ร้องตะโกนถามมาแต่ไกลว่า “ท่านวิชัย (พระครูวิเขตศีลาจารย์) จะเผาท่านอาจารย์ตอนไหน” ท่านวิชัยตอบว่า “เย็นนี้แหละเวลาสามโมงครึ่ง” ตากุ๋ยก็หันไปบอกว่า “สามโมงครึ่งครับ” แต่ไม่ทราบบอกใคร แล้วตากุ๋ยก็วิ่งเข้ามาเกาะสะเอวพระวิชัยแล้วพุดว่า “ท่านเห็นไหมคนเขามากันเยอะแยะ” พร้อมกับชี้มือให้พระวิชัยดู พระวิชัยบอกว่าไม่เห็น ตากุ๋ยก็ผละออกไปแล้วพูดว่า “ผมจะชวนให้เขาดูลิเกก่อน” ขณะนั้นคนเหล่านั้นกำลังมุงดูเมรุเผาศพอยู่ ตากุ๋ยได้บอกกับคนที่กำลังตกแต่งเมรุอยู่ว่า “หลีกหน่อยๆ คนเขาจะดูเมรุ” คนที่ตกแต่งเมรุก้หลีกทางให้ แต่ไม่มีใครเห็นคนเขามาดูเมรุเลย เห็นแต่ตากุ๋ยคนเดียว เพราะว่าคนอื่นล้วนต่างมองไม่เห็น มีเพียงตากุ๋ยคนเดียวที่เห็น หลังจากคนเหล่านั้นได้ดูเมรุแล้ว ตากุ๋ยได้ชวนไปดูลิเก แต่พอตากุ๋ยชวนให้ไปดูลิเกเท่านั้น คนเหล่านั้นก็ออกเดินมุ่งหน้ากลับไป เหตุการณ์ครั้งนั้นตากุ๋ยได้เล่าให้พระวิชัยและชาวบ้านฟัง ตากุ๋ยบอกว่า นึกว่าคนบางแพเขาจะมาเผาศพ แต่ไปถามใครๆ ดูแล้วก็ไมีมีใครเห็น แกนึกว่าจะเป็นคนที่แกเคยเห็นเมื่อคราวที่ไปกับท่านอาจารย์คราวนั้น
กล่าวสำหรับพระวิชัย ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อจากพระครูสมุห์ทน ครั้งหนึ่งพระครูสมุห์ทนได้ชักชวนพระวิชัยซึ่งได้มาร่วมสังฆกรรมงานบวชเป็นพระอันดับ (พระวิชัยบวชวัดสระกะเทียม แต่ไปเรียนพระปริยัติอยู่ที่วัดเสน่หา) ให้กลับมาช่วยกันดูแลวัด พระวิชัยยังไม่ได้รับปาก เพราะกังวลเรื่องภัตตาหารที่ต้องรบกวนโยมที่บ้านทำปิ่นโตส่ง เนื่องจากในสมัยก่อนอาหารที่บิณฑบาตไม่ได้มากมายเหมือนในสมัยนี้ พระวิชัยคิดว่าอยู่วัดเสน่หาจะสะดวกกว่าไม่ต้องรบกวนญาติโยม
พระครูสมุห์ทนจึงพูดขึ้นว่า “เราอยู่อย่างพระ อยู่ที่ไหนก็ได้” แม้กระนั้นพระวิชัยก็ยังไม่ได้รับปาก จนกระทั่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ญาติโยมได้มาที่วัดเพื่อช่วยกันย้อมจีวรก่อนเข้าพรรษา เมื่อแล้วเสร็จจึงให้ญาติโยมกลับ หลังญาติโยมกลับกันแล้ว พระครูสมุห์ทนเกิดอาพาธกระทันหัน ล้มลงมรณภาพในวันนั้นนั้นเอง พระวิชัยเมื่อทราบข่าวถึงการมรณภาพของพระครูสมุห์ทนจึงรีบมายังวัดสระกะเทียมเพื่อช่วยจัดการงานศพ เมื่อจัดฌาปนกิจศพพระครูสมุห์ทนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระธรรมเจติยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเสน่หาในขณะนั้น ได้สั่งให้พระวิชัยมาช่วยดูแลวัดสระกะเทียม พระวิชัยจึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกะเทียม

เมื่อรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแล้ว ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น ‘พระครูวิเชตศีลาจารย์’ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสระกะเทียม (ธรรมยุติกนิกาย)

นานๆ จะพบเห็น เชิญบูชา
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ม.ค. 2565 - 23:42:29 น.
วันปิดประมูล - 01 ก.พ. 2565 - 18:09:41 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลcunchit (3.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    กานต์ไม้รวก (277)

 

Copyright ©G-PRA.COM