(0)
พระกริ่ง ภปร นวปทุม เนื้อนวะ วัดปทุมวนาราม ปี35








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง ภปร นวปทุม เนื้อนวะ วัดปทุมวนาราม ปี35
รายละเอียดพระกริ่ง ภปร นวปทุม เนื้อนวะ วัดปทุมวนาราม ปี35

ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งนวปทุม ภปร. วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ เนื้อนวโลหะ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเททอง ปี ๓๕
รายละเอียด พระกริ่งนวปทุม ภปร. วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ถือว่าเป็นพระที่อยู่ในชุดของรัชกาลที่ 9 เพราะนอกจากจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้สามารถติดอักษร "ภปร"ที่องค์พระกริ่งนวปทุม ในหลวงท่านยังได้เสด็จเททองพระกริ่งชุดนี้ด้วยครับ นับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง
สำหรับพระกริ่งนวปทุม ภปร. มีการจัดสร้างเพียง 3 เนื้อ คือ

- ทองคำ ตามจำนวนสั่งจอง
- เนื้อเงิน 3000 องค์
- เนื้อนวโลหะ 3000 องค์

พระกริ่งนวปทุม รุ่นนี้ สร้างขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมนาคุณ “มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา” ซึ่งแนวความคิดในการจัดสร้าง “พระกริ่งนวปทุม” นี้มีความสอดคล้องกับนามวัดคือ “ปทุมวนาราม” จึงนำต้นแบบมาจาก “พระกริ่งพระปทุม” หรือ “พระกริ่งใหญ่ของจีน” ที่ “พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” แห่งพระราชอาณาจักร “ขอม” ในอดีตกาลได้ทรงสร้างไว้เป็นปฐมและโดยเหตุที่ท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศนเทพวราราม” เคยทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า “การสร้างพระกริ่งของพระองค์ได้แบบอย่างมาจาก “พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์” คือมีพระพุทธลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงายพระหัตถ์ซ้ายทรงวชิราวุธ”

.........คณะกรรมการจึงได้นำเอาแบบอย่างการสร้างพระกริ่งของ “วัดสุทัศน์ฯ” ตามกรรมวิธีของท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระสังฆราชแพ” มาสร้าง “พระกริ่งนวปทุม” ครั้งนี้กล่าวคือ “เนื้อโลหะ” ที่จะหล่อหลอมเป็นองค์กำเนิดมาจากแผ่น “พระยันต์ ๑๐๘” และ “นะปถมัง ๑๔ นะ” ประกอบพิธีกรรมลงอักขระบนแผ่นยันต์ครบถ้วนตามโบราณประเพณีดั้งเดิม ทุกประการ

ส่วนมูลเหตุแห่งการเพิ่มจำนวน “บัว” ที่ฐานบัวคว่ำบัวหงายก็เป็นเพราะ “พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์” ในสมัย “พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” มี “บัวคว่ำบัวหงาย” เพียง “๗ คู่” ดังนั้นจึงเพิ่มบัวให้ “พระกริ่งนวปทุม” เป็น “๙ คู่” โดยมีเหตุผล “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงเป็น “พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙” และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.” ดังกล่าวมาแล้วจึงได้เพิ่ม “บัวคว่ำบัวหงาย” ขึ้นอีก “๒ คู่” เป็น “๙ คู่” และถวายพระนามพระกริ่ง ว่า “พระกริ่งนวปทุม ภ.ป.ร.” ซึ่งสอดคล้องกับนามของ “วัดปทุมวนาราม” จึงนับเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง..... และจากที่ล้นเกล้าฯ “พระบาทสม เด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานการสถาปนา “วัดปทุมวนารามฯ”

พิธีมหาพุทธาภิเษก

ท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา และพิธีชัยมังคลาภิเษกในวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ มณฑลพิธีศาลาพระราชศรัทธาวัดปทุมวนาราม โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศ 142 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก อาทิเช่น

1. หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล (ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

2. หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลาวาศ

3. พระอาจารย์มหาถาวร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

4. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี

5. หลวงปู่ดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี

6. หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี

7. หลวงพ่อจำเนียร วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 28 มี.ค. 2565 - 14:53:18 น.
วันปิดประมูล - 31 มี.ค. 2565 - 17:45:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลNuek2505 (389)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 มี.ค. 2565 - 14:54:07 น.



เพิ่มเติมข้อมูล1


 
ราคาปัจจุบัน :     3,400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    toon2526 (442)

 

Copyright ©G-PRA.COM