(0)
พระสมเด็จ 5 อังคาร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต เนื้อพิเศษ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จ 5 อังคาร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต เนื้อพิเศษ
รายละเอียดสุดยอดมวลสารที่หายากสุดในสายป่า พระสมเด็จ 5 อังคาร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จังหวัดหนองคาย
พระสมเด็จ 5 อังคาร นี้จัดสร้างขึ้นช่วงปีพ.ศ.2536 เพื่อนำออกให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าบูชาและนำเงินที่ได้ไปร่วมสมทบทุนในการจัดสร้าง "พระสุธรรมเจดีย์" ณ วัดอรัญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
พระสุธรรมเจดีย์ที่จัดสร้างขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (วัตถุประสงค์โดยสังเขป)
1. เพื่อเป็นเครื่องรำลึกในคุณธรรมสัมมาปฏิบัติของหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
2. เป็นเครื่องรำลึกบูชาถึงพระรัตนตรัย และเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระธรรม และอัฐิธาตุ/เกศาธาตุ ของครูบาอาจารย์ เช่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิม หลวงปู่สาม หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่หลุย ฯลฯ
3. เป็นศูนย์การศึกษธรรมะ เผยแพร่ธรรมะ และปฎิบัติธรรม
4. เป็นการกระจายบุญ
พระสุธรรมเจดีย์นี้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ.2536 โดยมีคณะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และศิษย์ ต่างร่วมสนับสนุนในการสร้างครั้งนี้
ในส่วนของพระสมเด็จ 5 อังคารนี้ กลุ่มผู้สร้างได้นำอังคารของหลวงปู่สิม หลวงปู่หลุย หลวงปู่สาม หลวงปู่บัวพา และของครูบาพรมจักร มาเป็นส่วนผสมในการสร้าง จึงเป็นที่มาของชื่อ "พระสมเด็จ 5 อังคาร"
ในส่วนของอังคารครูบาอาจารย์ที่ผสมอยู่นั้นจะมีส่วนผสมอังคารของหลวงปู่สิมมากสักหน่อย เพราะว่าในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ครบรอบ 1 ปีการมรณะของหลวงปู่สิม ทางวัดถ้ำผาปล่องต้องการทำบุญฉลองอัฐิของหลวงปู่สิม ทางวัดจึงมอบหมายให้ทางผู้สร้าง(ผู้สร้างพระสมเด็จ 5 อังคาร) สร้างพระให้แก่ทางวัดชุดหนึ่ง แต่เนื่องจากทางวัดไม่เคยจัดสร้างพระมาก่อนจึงไม่ทราบว่าต้องใช้มวลสารเท่าใด ดังนั้นทางวัดจึงได้มอบอังคารธาตุของหลวงปู่สิมให้แก่ผู้สร้างจำนวน 1 ถังใหญ่ รวมทั้งอัฐิของหลวงปู่สิมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างได้นำมวลสารนี้มาสร้างพระผงรูปหลวงปู่สิมเพื่อส่งมอบให้แก่ทางวัด (โดยหลวงปู่เหรียญ วรลาโภได้เมตตาอธิษฐานจิตพระผงหลวงปู่สิม) และพระสมเด็จ 5 อังคารด้วย
พระสมเด็จ 5 อังคารนี้จะมี 2 พิมพ์ ด้านหน้าของทั้งสองพิมพ์จะเป็นพิมพ์เดียวกัน แต่ด้านหลังจะเป็นแม่พิมพ์ที่เป็นตัวหนังสือพิมพ์หนึ่ง กับแม่พิมพ์ที่เป็นรูปพระสุธรรมเจดีย์อีกพิมพ์หนึ่ง เนื้อพระจะเป็นผงพุทธคุณสีขาวไปจนถึงสีเทาอ่อน ในขณะนั้นจำได้ว่าออกให้เช่าบูชาองค์ละ 100 บาท ส่วนจำนวนการสร้างของพระกริ่ง และ พระสมเด็จนั้นอาจจะมากสักหน่อย เนื่องจากต้องการนำเงินมาร่วมสมทบทุนสร้างพระเจดีย์
นอกจากพระสมเด็จ 5 อังคารเนื้อธรรมดาที่นำออกให้เช่าบูชาแล้ว คณะผู้สร้างได้ยังสร้างพระสมเด็จ 5 อังคารออกมาอีกจำนวนหนึ่งซึ่งจะใส่มวลสารมากเป็นพิเศษ เพื่อแจกให้แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและผู้ที่ช่วยดำเนินการ พระสมเด็จ 5 อังคารเนื้อพิเศษนี้เท่าที่มีข้อมูลปรากฎมีทั้งที่ผสมพลอยบดสีต่างๆ (เป็นพลอยที่ลูกศิษย์ชาวจันทบุรีนำมาถวายให้แก่หลวงปู่เหรียญ) ผสมอัฐิหลวงปู่สิม ใส่เส้นเกษาครูบาอาจารย์ในองค์พระ เป็นต้น
พระสมเด็จ 5 อังคารชุดนี้หลวงปู่เหรียญท่านได้อนุญาตและรับรู้เกี่ยวกับการจัดสร้างพระชุดนี้ ตามข้อมูลพระชุดนี้มิได้อธิษฐานจิตที่วัดอรัญบรรพต แต่ได้มาอธิษฐานจิตที่กรุงเทพฯ บางข้อมูลกล่าวว่าอธิษฐานจิตที่สำนักสงฆ์วังสวนจิต กรุงเทพฯ (เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวหลวงปู่เหรียญท่านอยู่ที่กรุงเทพฯบ่อย)

พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
“พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งสาแหรกธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น”
พระเดชพระคุณหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ พระอริยเจ้าศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ฉายานามที่นักปฏิบัติธรรมต่างยกย่องกันว่า “สาแหรกธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น” อันมีความหมายว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถทำกายและจิตให้มั่นคงดั่งสาแหรก สำหรับรองรับอรรถและธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นอบรมสั่งสอน และสามารถถอนตนจากหล่มลึกคือกองทุกข์เสียได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดี เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย จนคนทั่วไปไม่อาจทราบได้ว่า เบื้องหลังท่านคือปฏิปทาอันแกร่งกล้าน่าอัศจรรย์กรำศึกในธุดงค์ธรรม หาผู้เปรียบได้ยากและเป็นทายาทธรรม ที่สำคัญรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
ด้วยวัตรปฏิบัติและปฏิทาอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส สาธุชนจึงพากันหลั่งไหลมากราบมากขึ้นโดยลำดับ มีพระภิกษุสามเณรมาร่วมปฏิบัติธรรมมากขึ้นไม่ขาดสาย อีกทั้งมีครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานมาเยี่ยมเยือนท่านอยู่เสมอ เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น
เมื่อท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมีพระราชศรัทธาทรงอาราธนานิมนต์ให้ท่านพักที่เสนาสนะป่าในพระราชวังสวนจิตรลดา กรุงเทพฯ เป็นประจำ
นอกจากนั้นทางสำนักพระราชวังยังได้กราบนิมนต์ท่านเพื่อเจริญพระพุทธมนต์ที่พระราชวังไพศาลทักษิณเป็นประจำทุกปี ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังไปทั่วทุกทิศ นอกจากการอบรมสั่งสอนประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านยังได้เดินทางไปเผยแผ่ธรรมยังต่างแดน เช่น อินเดีย พม่า ศรีลังกา จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เยอรมัน
ท่านกำเนิดในสกุล “ใจขาน” เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ณ บ้านหม้อ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นบุตรของนาย ผา และนางพิมพา ใจขาน มีอาชีพทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน ด้วยความที่บุญกรรมทำมาแตกต่างกัน พี่น้องร่วมอุทรทั้งหมดจึงตายลงตั้งแต่เยาว์วัย
ท่านได้อุปสมบทในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ วัดบ้านหงส์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยมีพระครูวาปีดิษฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ต่อมาได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ใหนวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๒๓ น. โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ร่วมกับพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
๑. จะฉันเพียงเพื่อยังชีวิตให้เป็นไปเท่านั้น คือมากที่สุดเท่ากับที่ฝ่ามือข้างขวาจะหยิบมาได้
๒. จะไม่นอนกลางวัน
๓. เมื่อตะวันลับฟ้าจะเร่งทำความเพียวด้วยการเดินจงกรมและนั่งสมาธิถึงเวลา ๔ ทุ่ม ตี ๒ ตื่นขึ้นทำความเพียรจนถึงอรุณรุ่ง
ต่อมาท่านได้เดินธุดงค์เพื่อตามหาท่านพระอาจารย์มั่น โดยทางเรือล่องไปตามลำแม่น้ำโขงขึ้นไปทางเชียงแสน จังหวัดเชียงราย คืนวันหนึ่งนอนอยู่กลางป่า นิมิตภาวนาเห็นท่านพระอาจารย์มั่นมายืนยิ้มอยู่ตรงหน้า ท่านมีความมั่นใจว่า การตามหาท่านพระอาจารย์มั่นในคราวนี้ต้องได้พบอย่างแน่นอน ท่านได้พบท่านพระอาจารย์มั่นที่เสนาสนะป่าใกล้ๆ โรงเรียนเกษตรแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อแรกเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ได้เกิดปีติและอัศจรรย์ใจเป็นที่ยิ่ง รำพึงในใจว่า “นี่คือท่านพระอาจารย์มั่น สุดยอดแห่งพระปรมาจารย์กรรมฐานผู้มีชื่อระบือไกล วันนี้เรามีวาสนาได้พบองค์จริงของท่านแล้ว ภาพของท่านที่ไปปรากฏให้เห็นในนิมิต ช่างเหมือนองค์จริงไม่ผิดเพี้ยน”
แล้วท่านพระอาจารย์มั่นก็สอนว่า “นักภาวนาทั้งหลายมักติดความสุขที่เกิดจากสมาธิโดยส่วนเดียว สำคัญว่าความสงบนั้นแหละ เป็นความสุขอันยอดเยี่ยม จึงไม่พิจารณาค้นหาความจริงที่สูงขึ้นไป”
และยกอุทาหรณ์ให้ฟังด้วยกิริยาอันน่าเกรงขาม และด้วยน้ำเสียงอันกังวาลว่า
“ธรรมดาว่าคนทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำกันบนอากาศเลย เขาทำกันบนพื้นดินจึงได้รับผลฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลาย ก็ย่อมพิจารณาร่างกายนี้แหละเป็นอารมณ์ จึงเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามรูปนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละ จึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ฉันนั้น”
ในขณะที่พักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น สามวันแรก กิเลสที่อยู่ในจิตของท่านกระด้างกระเดื่องยกตนเทียมท่านเหมือนอึ่งอ่างกับวัว ท่านจึงเตือนตัวเองว่า “เรานี้หนอบากหน้ามาหาครูบาอาจารย์แท้ๆ ทำไมจึงแบกทิฏฐิมานะด้วย” ในวันที่สี่เมื่อได้ฟังเทศน์ท่านจบแล้วกลับไปพักที่เพิงเล็กๆ ที่เขาเอาไม้กลมๆ มาวางเรียงกันถี่ๆ แล้วจึงเอาใบไม้มาปูเป็นเสื่อ อธิษฐานจิตว่า “ถ้าจิตใจของเราอยู่อย่างนี้ เราจะไม่ยอมลุกจากที่ ยอมตายเสียดีกว่า” พออธิษฐานแล้วก็เข้าที่ภาวนา ปรากฏเห็นท่านพระอาจารย์มั่นในนิมิต ท่านเดินจูงม้าอาชาไนยตัวหนึ่งมาอย่างสง่างาม แล้วท่านก็พูดว่า “นี่แหละที่เขาเรียกว่า ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐธรรมดาว่า ม้าอาชาไนยนี้เป็นม้าที่ฝึกง่าย เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ เธอจงทำตัวเป็นเหมือนกับม้าอาชาไนยแล้วเธอก็จะพ้นจากทุกข์ไปได้ พอพูดจบ แล้วหลวงปู่มั่นก็ก้าวขึ้นสู่หลังม้า ม้านั้นวิ่งไปเหมือนสายลมพัด หายวับไปกับตา”
จากนั้นท่านจึงทวนกระแสจิตเข้าสู่ปัจจุบันพิจารณาได้ความว่า ม้าอาชาไนยนั้น เปรียบเสมือนดวงปัญญา กิริยาที่วิ่งไปนั้น ได้แก่ ปัญญาพิจารณาสังขาร นามรูปนี้ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช้ตัวตนตามสภาพความเป็นจริงอย่างรวดเร็ว แล้วจึงพิจารณาธาตุขันธ์ห้าอย่างพิสดาร จนเห็นแจ้งประจักษ์โดยกระการทั้งปวง
อันว่า ม้าอาชาไนยนี้เทียบได้กับธรรมอันเป็นกำลัง ๕ อย่าง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
หรืออีกนัยหนึ่ง ม้าอาชาไนยนั้นเป็นสัตว์ที่เร็วและอดทน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ดีเยี่ยม ผู้ใดมีคุณลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือทั้งเร็วและอดทน ผู้นั้นก็จัดได้ประเสริฐพระพุทธองค์ตรัสว่า บรรดาอาชาไนยด้วยกัน บุรุษอาชาไนยประเสริฐที่สุด”
วันต่อมาจึงกราบเรียนผลแห่งการปฏิบัติให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟัง ท่านกล่าวชมเชยว่า “เก่งมาก อย่างนี้สิถึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ต้องการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง”
แล้วท่านพระอาจารย์มั่นก็เมตตาแนะนำพร่ำสอนให้คุณธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ท่านนั่งฟังนิ่งและนานปรากฏเหมือนว่าพระนิพพานอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๖ - ๒๔๘๙ พรรษาที่ ๑๑ - ๑๔ จำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง ร่วมกับพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์กว่า สุมโน พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร
เมื่อออกพรรษาแล้วได้ออกเที่ยววิเวกภาวนาไปตามป่าเขา ถ้ำเงื้อมผา ป่าช้า ป่ารกชัฏตามหมู่ บ้านแม้ว ทางตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม และพระอาจารย์ขาว อนาลโย ต้องเผชิญกับความเหน็บหนาวความเจ็บป่วยและสัตว์ร้ายต่างๆ นานัปการ
คราวนั้นพระอาจารย์ขาวและพระอาจารย์ชอบ พักอยู่บริเวณเชิงเขา เนื่องจากท่านทั้งสองอายุมากแล้วปีนขึ้นไปไม่ไหว ส่วนทางพักอยู่ในถ้ำบนภูเขาสูง เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก เดินลงมาบิณฑบาตไม่ไหว จึงสละตายด้วยการปูอาสนะที่ทำด้วยฟางข้าว นั่งขัดสมาธิอยู่บนก้อนหินก้อนหนึ่งพลางอธิษฐานจิตว่า “ถ้าอาการไข้ไม่สร่าง ข้าพเจ้าจะไม่ออกจากบัลลังก์คือสมาธินี้เลย” นั่งเพ่งอาการ ไข้ปางตาย ที่สัมผัสให้เกิดความหนาว เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไออุ่น พิจารณาแยกแยะธาตุขันธ์ส่วนต่างๆ ด้วยปัญญา อาการไข้ก็ค่อยบรรเทาลง การภาวนาสละตายคราวนี้ท่านได้สมาธิธรรม อย่างแก่กล้า สุดที่จะบรรยาย
รุ่งเช้าลงจากเขามาบิณฑบาต พระอาจารย์ขาว และพระอาจารย์ชอบเห็นเข้าจึงซักถามด้วยความแปลกใจท่านจึงเล่าความเป็นไปทั้งหมดให้ฟัง ท่านทั้งสองกล่าวชมว่า “ท่านเหรียญ ท่านภาวนาได้เก่งมากนะ”
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ท่านได้มาจำพรรษา ที่วัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และได้อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้เรื่อยมา
ท่านมรณภาพที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๑.๕๐ น. สิริอายุ ๙๓ ปี ๗๓ พรรษา
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 16 พ.ย. 2565 - 00:59:10 น.
วันปิดประมูล - 18 พ.ย. 2565 - 18:47:11 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtasunflower8 (676)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    superkai8 (946)

 

Copyright ©G-PRA.COM