(0)
วัดใจ พระปิดตาแร่บางไผ่ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์ใหญ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี ปี 41








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ พระปิดตาแร่บางไผ่ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์ใหญ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี ปี 41
รายละเอียดสำหรับพระปิดตา มหาอุด แร่บางไผ่ ที่หลวงปู่จัน แห่งวัดโมลี สร้างขึ้นนั้นเป็นพระปิดตาที่ได้รับความนิยมชมชอบจากนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ด้วยท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้เสาะแสวงหา แร่บางไผ่ จากตำบลบางไผ่ มาสร้างพระปิดตาอันต่อมา หลวงพ่อเกิด ซึ่งติดตามท่านออกเสาะแสวงหา แร่บางไผ่ ด้วยกัน ได้สร้างพระปิดตาจาก แร่บางไผ่ ด้วยเช่นกัน
แร่บางไผ่ อันเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้หายสาบสูญไปจากวงการพระเครื่องเป็นเวลายาวนาน กระทั่งเมื่อพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข แห่งวัดนครอินทร์ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งพื้นเพ เป็นคนเมืองนนท์ ได้ยินได้ฟังถึงเรื่องราวของ แร่บางไผ่ มาแต่เยาว์วัย กระทั่งเมื่ออุปสมบทเป็น พระภิกษุ ตั้งจิตอธิษฐานถ้ามีวาสนาใหได้พบ แร่บางไผ่ เพื่อจะนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคลขึ้นมา
แร่บางไผ่ หนึ่งเดียว แห่งเมืองนนทบุรี ได้มีการค้นพบอีกครั้งหนึ่ง โดยพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2536 ที่คลองบางคูลัด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้นำมาสร้าง พระปิดตา เป็นที่เกรียวกราวในขณะนั้นเป็นอย่างมาก
พระปิดตาแร่บางไผ่ (รุ่นแรก) วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี พ.ศ.2537
สร้างตามตำรา พระปิดตาแร่บางไผ่ ของ หลวงปู่จัน วัดโมลี ทุกประการ “โดยนำแร่บางไผ่มาบดให้ละเอียด แล้วถลุงให้เป็นโลหะเหลว เทลงในเบ้าพิมพ์ กดพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระเครื่องทีละองค์ ทุกขั้นตอนพระเณรช่วยกันทำ ภายในวัดนครอินทร์ ด้วยความประณีตพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพื่อให้ถูกต้องตามตำราอย่างสมบูรณ์ที่สุด.”
สำหรับแม่พิมพ์ ได้แกะสร้างขึ้นมาใหม่ โดยไม่ควรถอดแบบจากพระปิดตาที่หลวงปู่จัน ท่านสร้างไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่า
1.) จะไม่ควรลอกเลียนแบบครูบาอาจารย์ อันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นเป็นอันขาด
2.) เนื่องจากแร่บางไผ่ที่เก็บมาได้นั้นเป็นของจริง ถ้าสร้างให้เหมือนของครูอาจารย์แล้ว ในอนาคตจะแยกไม่ออกว่าเป็นของวัดไหน เป็นของเก่าหรือของใหม่ ทำให้ผู้เช่าต้องตกเป็นเหยื่อของเซียนบางคน ต้องเช่าบูชาพระแร่บางไผ่วัดนครอินทร์ในราคาเท่าของหลวงปู่จัน
สำหรับองค์นี้เป็นพระปิดตาแร่บางไผ่ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์ใหญ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี รุ่น 3 พ.ศ. 2541 ขณะนี้หายากมากครับ สวยงามน่าสะสมบูชามากครับ
ขนาดองค์พระโดยประมาณ สูง 2.2 ซม. ฐาน 1.7 ซม. ขนาดกำลังสวยไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไปครับ
จัดพิธีพุทธาพิเษกใหญ่ ที่วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี ในปี 2541 โดยเกจิคณาจารย์ดังแห่งยุคอีกหลายรูปที่นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก
1.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ก.ท.ม.(ปลุกเสก และจุดเทียนชัย)
2.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.อยุทธยา
3.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา จ.อยุทธยา
4.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม
5.หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง จ.สระบุรี
6.หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ จ.สมุทรสงคราม
7.หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี
8.หลวงพ่อผล วัดเซิงหวาย ก.ท.ม.
9.หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบ ก.ท.ม.
10.พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกโข วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี
11.สมเด็จพระพุทฒาจารย์ วัดสระเกศ (ปลุกเสก และเป็นประธานดับเทียนชัย)
(พระวัดชนะสงคราม 4 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ตลอดพิธี)
รีบเช่าเก็บเสียนะครับ ราคายังไม่แพง เพราะอนาคตราคากำลังจะขึ้นไปไกล เนื่องจากพระที่หลวงพ่อคูณปลุกเสกหลายรุ่น ราคาขยับตัวไปหลายเท่าตัวแล้วครับ เดี๋ยวจะมาเสียดายภายหลังนะครับ
นักเลงสมัยยุคก่อน ยังใช้แค่ก้อนแร่บางไผ่เลี่ยมพกติดตัว ยังเกิดประสพการณ์มากมายในด้านคงกระพันชาตรี โดยอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองของแร่บางไผ่
ความเชื่อมั่นทำให้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลสนับสนุน คือ
1. แร่บางไผ่มีอยู่ที่คลองบางคูลัดเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
2. บริเวณที่เก็บแร่อยู่ในบริเวณใกล้กับที่พบเตาเก่าที่หลวงปู่จันเคยใช้ถลุงแร่ เมื่อกว่า 150 ปี
3. ข้อสำคัญ คือ บริเวณนั้นเป็นไร่นาไม่มีถนนที่จะทำให้รถยนต์วิ่งนำลูกรังไปทิ้งไว้ได้
เมื่อความเชื่อมั่นประกอบกับเหตุผลดังกล่าว จึงได้ทดลองนำก้อนแร่ซึ่งเดิมลองเอาแม่เหล็กดูดยังไม่ติด ไปเผาไฟจากสีน้ำตาลกลายเป็นสีดำ ทิ้งใว้จนเย็น ลองนำแม่เหล็กไปดูด ปรากฎว่าแม่เหล็กสามารถดูดติด และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เป็นที่ปลื้มใจแก่คณะทำงานยิ่งนัก ท่านพระอาจารย์จึงกล่าวว่า "เป็นอันว่าเราได้ค้นพบแร่บางไผ่ที่หลวงปู่จันเคยพบมาแล้วในแหล่งเดียวกัน"
เมื่อพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกโข ได้นำแร่บางไผ่ที่ค้นพบ ไปให้ท่านเจ้าอาวาสวัดโมลี (พระปรีชานนทโมลี) ในสมัยนั้น (ปัจจุบันท่านได้มรณะไปแล้ว) ช่วยดูให้ เนื่องจากว่าท่านเคยรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของแร่บางไผ่ดี ครั้นเมื่อท่านได้เห็นก้อนแร่ ท่านก็พูดยืนยันว่า "ใช่แล้ว ใช่แร่บางไผ่จริงๆ ด้วย ฉันจำได้" ทั้งยังสั่งกำชับให้เก็บแร่ให้ดีใส่ตุ่มแช่น้ำเอาไว้ อย่าเอาไปกองตากแดดหรือไว้กับพื้นเด็ดขาด เดี๋ยวเหล็กในก้อนแร่จะหนีไปหมด
ท่านยังได้กล่าวกับพระอาจารย์สมศักดิ์ว่า "ท่านนี่ยอดจริงๆ ได้พบคนจริง พระจริงแล้ววันนี้ เพราะเคยมีคนมาถาม รวมทั้งพระและหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่างก็มาสอบถามเรื่องแร่บางไผ่ ก็ได้แต่เล่าให้เขาฟัง แต่ไม่เห็นมีใครไปเก็บแร่บางไผ่มาได้สักราย ก็มีท่านองค์แรกนี่แหละที่สามารถไปหาแร่บางไผ่มาให้ดูได้ ท่านนี่ยอดจริงๆ เป็นคนจริงพระจริง"
และยังได้ให้กำลังใจว่า "ท่านพยายามสร้างพระแร่บางไผ่ให้สำเร็จนะ พยายามเข้า สร้างให้สำเร็จเป็นองค์พระ จะหมดเงินกี่หมื่นกี่แสนก็ตาม จงสร้างให้สำเร็จให้ได้ จะหมดถ่านกี่กระสอบก็ตามถ้าสตางค์ไม่พอมาเอาได้เลย จะช่วยออกให้เป็นหมื่นเป็นแสนก็ได้ ขอให้ได้พระแค่องค์เดียวก็พอ หรือหลอมได้เป็นก้อนเดียวก็คุ้มเอาไว้ใช้ติดตัว" และหันไปกล่าวกับคณะลูกศิษย์ที่ติดตามว่า "พวกคุณต้องช่วยกันนะช่วยอาจารย์ท่านสร้างพระแร่บางไผ่ให้สำเร็จ อย่าเลิก อย่าถอย สร้างพระให้สำเร็จ" พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกโข จึงได้ถามถึงวิธีการหลอมพระแร่บางไผ่ ว่าทำอย่างไร หลวงพ่อท่านบอกว่า "อาตมาก็ไม่รู้เหมือนกัน ในสมัยนั้นเป็นเด็กอยู่ไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เคยแต่ช่วยหลวงตาเชื้อสุมไฟให้เท่านั้น เลยไม่รู้ว่าหลอมกันอย่างไร ผสมอะไรบ้างก็ไม่รู้"
ผลของการทดลองหลอมแร่บางไผ่ของวัดนครอินทร์
1. ถ้าหลอมนานเกินไป ไฟแรงเกินไป แร่เหล็กจะหายไปหมด คงเหลือแต่ขี้แร่ ซึ่งแม่เหล็กดูดไม่ติด มีลักษณะไหม้ไฟกรอบแข็ง เหมือนขี้เหล็กอ๊อก
2. แต่ถ้าหลอมนานๆ ต่อไปอีกยิ่งขึ้น จะลุกติดไฟ และระเบิดหายไปในอากาศ ไม่มีเหลือแม้แต่ขี้แร่ให้เห็น
3. ต้องหลอมให้ได้พอดีๆ ลักษณะเป็นเหมือนกล้วยตำ หรือวุ้นสังขยา และเป็นลาวาแดงๆ แล้วจึงตักมาใส่แม่พิมพ์ แล้วกดพิมพ์เป็นองค์พระ
วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี ได้จัดสร้าง พระเนื้อแร่บางไผ่ ออกมาดังนี้คือ ปี พ.ศ.2537, 2539 , 2541 , 2549 และปัจจุบันคือรุ่นปี พ.ศ.2552
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 25 พ.ย. 2565 - 15:06:30 น.
วันปิดประมูล - 26 พ.ย. 2565 - 18:03:29 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเขยศรีเกศ (2.3K)(12)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    akethapa (153)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM