(0)
พระซุ้มนครโกษา กรุบ้านหัวเกาะ สุพรรณบุรี สนิมแดง สภาพสวย ไม่มีซ่อม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระซุ้มนครโกษา กรุบ้านหัวเกาะ สุพรรณบุรี สนิมแดง สภาพสวย ไม่มีซ่อม
รายละเอียดพระกรุบ้านหัวเกาะ ขุดพบครั้งแรกในราวๆ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ บ้านหัวเกาะ ต.วิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) อยู่ห่างจากตัวตลาดจังหวัดขึ้นไปตามถนนสายโพพระยา ประมาณ ๒ กิโลเมตร เล่ากันว่าครอบครัวของคุณลุงฉั่งเป็นผู้ขุดพบเป็นคนแรก

นายฉั่ง แสงจันทร์ฉาย ปลูกบ้านอยู่ในอาณาบริเวณนี้ ริมแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) หน้าบันไดบ้านลุงฉั่งมีเนินดินอยู่เนินหนึ่ง ใกล้จะกลายเป็นสภาพดินธรรมดาอยู่แล้ว แต่ทว่ามีทรายปนอยู่ด้วย ลูกของลุงฉั่งจึงมาขนทรายไปถมคอกม้า ระหว่างที่ขุดนั้นบังเอิญพบแผ่นอิฐฝังอยู่ประปราย ก็สงสัยจึงวางแผนขุดในคืนวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๑๐ รุ่งขึ้นวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๐ พบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงอยู่ในโอ่งขนาดใหญ่ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ องค์ กับพระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะลพบุรี สูง ๙ นิ้ว ๑ องค์
เมื่อทางการรู้ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดำเนินการควบคุมทันที ทำการขุดต่อลึกลงไป พบไหเล็กๆ ภายไม่มีพระ แต่มีอิฐบรรจุอยู่เล็กๆ น้อยๆ กับพบหินที่ใช้บดสิ่งของอันหนึ่ง เป็นหินสีเขียวฯ

พระกรุบ้านหัวเกาะ เท่าที่พบในคราวนั้น มีด้วยกันถึง ๖ พิมพ์ทรง โดยรวมจำนวนพระ ที่ขุดได้ก็คงเป็นพันๆ องค์ ทั้ง ๖ พิมพ์ ที่แยกออกมาคือ

๑.พิมพ์พระร่วงยืนยาว
๒.พิมพ์พระร่วงยืนต้อ
๓.พิมพ์พระร่วงนั่งสมาธิ
๔.พิมพ์พระร่วงนั่งมารวิชัย
๕.พิมพ์ซุ้มนครโกษา และ
๖.พิมพ์ซุ้มปรางค์

พระกรุบ้านหัวเกาะ ถึงจะมีพระที่ขุดพบจำนวนมากสักหน่อย แต่ก็น่าแปลกที่พระทั้ง ๖ พิมพ์ทรงนั้น มีเพียงพิมพ์เดียว ที่พบค่อนข้างมาก คือ พิมพ์ซุ้มนครโกษา(พระร่วงนั่ง) ส่วนพิมพ์อื่นๆ จำนวนที่พบอยู่ในหลักร้อยเศษๆ หรือหลักสิบเท่านั้น ยิ่งพิมพ์ซุ้มปรางค์ ด้วยแล้ว เล่ากันว่าพบจากกรุเพียงสามองค์เท่านั้น

พระร่วง กรุบ้านหัวเกาะ นอกจาก ได้รับการยกย่อง และยอมรับว่า มีสนิมแดงที่สุด แล้ว ยังเป็นพระเนื้อตะกั่ว สนิมแดงที่สีมีสนิมสวยงาม มีเสน่ห์มากด้วย คือ สนิมมักมีสีแดงสด จัดจ้าน และผิวแข็ง ใส (แดงเลือดนก) เมื่อเช็ดถูเบาๆ ผิวสนิมแดงจะเงางาม สวยมาก บางองค์สนิมแดง กินลึกจนถึงเนื้อองค์พระ ทำให้ทั้งเนื้อทั้งผิวขององค์พระ เป็นสนิมแดงทั้งองค์เลยก็มีดังได้กล่าวมาแล้วว่า พระร่วงบ้านหัวเกาะนี้มีสนิมแดงงดงามกว่าพระกรุอื่นๆ หลายกรุ มีทั้งสีแดงมันปู แดงเลือดนก แดงน้ำตาลอ่อน แดงน้ำตาลไหม้ แดงน้ำตาลปนเขียว แดงปนส้ม และแดงปนน้ำเงิน จะอย่างไรก็ดี บางองค์มีเพียงไขขาวอยู่ที่ผิวเพียงอย่างเดียว ไม่มีสนิมแดงก็มีปนอยู่ แต่เป็นจำนวนน้อย สนิมแดงบางองค์เกิดมาเกาะเนื้อโลหะ จนไม่มีตะกั่วเหลืออยู่เลย กลายเป็นสนิมแดงไปทั้งองค์ ถ้าหล่นจากมือตกลงคงแตกหักอย่างแน่นอน สนิมแดงบางองค์มีรอยปริแตกแยกเป็นทางยาว ทำให้ดูง่ายขึ้น หากเอาสำลีปัดเบาๆ จะขึ้นเงาวาบทันที

พุทธลักษณะ
๑.พิมพ์พระร่วงยืนประทานพร (พระร่วงยืนยาว) เป็นพระร่วงที่มีขนาดกลาง ค่อนข้างเล็ก คือยืนสูงประมาณ ๖ ซม. กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. ลักษณะขององค์พระนูนเด่น เล่ากันว่าพบจากกรุประมาณห้าสิบ องค์ แต่องค์สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็น มีสิบกว่าองค์เท่านั้น ทุกองค์มีสนิมแดงจัดทั้งหมด ยอดแหลมคล้ายใบหอก องค์พระมีลักษณะผอมสูง พระเศียรใหญ่กว่าเม็ดถั่วเขียวเล็กน้อย พระศกผมหวี พระเกตุมาลาคล้ายฝาชี หน้าผากค่อนข้างยื่นออกมาข้างหน้า เรียกว่า "หน้าโหนก" ดั้งจมูกหัก รูปหน้าเคร่งขรึม และเข้มข้น แสดงออกถึงศิลปะลพบุรีอย่างสมบูรณ์ ไม่มีกรองศอและพาหุรัด ลำพระองค์ค่อนข้างเรียวเล็ก พระนาภีโบ๋ รัดประคดเอว ๓ เส้นค่อนข้างใหญ่ มีรอยพับนูนของสบงด้านหน้า ๑ เส้น ชายจีวรตรง ประทับยืนฐานเส้นลวดสองเส้น พระบาททั้งคู่ชิด
๒.พิมพ์พระร่วงยืนประทานพร (พิมพ์ต้อ) เป็นพระร่วงยืนที่มีขนาดเล็ก คือยืนสูงประมาณ ๓.๕ - ๔ ซม. และกว้างประมาณ ๑ ซม. องค์พระค่อนข้างล่ำ ต้อ องค์พระมีทั้งที่เทหล่อหนาและเทหล่อบาง สนิมแดงจัดทุกองค์ บางองค์มีไขขาวคลุมทับสนิมแดงทั่วทั้งองค์อีกชั้นก็มี คงเป็นองค์พระที่บรรจุอยู่ใต้กรุ ภายในโอ่ง การตัดปีกพระด้านข้างก็เอาแน่ไม่ได้ มีทั้งตัดปีกแบบมน ตัดเป็นเหลี่ยม และไม่ตัดปีกเลยก็มี จำนวนพระที่พบประมาณร้อยกว่าองค์ ยอดบนของกรอบตัดไม่แน่นอน มีทั้งแหลมป้านมน รูปหน้าค่อนข้างเลือนราง ปากคล้ายกับเอาไม้กดให้เป็นรอยของปาก เส้นผมเลี่ยนคล้ายสวมหมวกเบเรท์ พระเกตุมาลาเป็นกระเปาะกลมคล้ายลูกจันทน์ ลำพระองค์สั้น จึงเหมาะในการให้พระนามว่า "พิมพ์ต้อ"
๓.พระร่วงนั่งปางมารวิชัย ความงามของพระพิมพ์นี้ดูจะงามกว่าทุกๆ พิมพ์ในกรุบ้านหัวเกาะ สูงประมาณ ๔ ซม. หน้าตักกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. ตัดขอบตามรูปขององค์พระ ไม่มีปีก แบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ธรรมดา และพิมพ์แตก พิมพ์แตกคือมีรอยแตกเป็นเส้นนูน จากกึ่งกลางของหน้า ผ่านหน้าอก ท้อง ลงถึงมือซ้าย แล้วชอนออกไปทางซ้ายของหน้าตัก หายไปที่ประทับ พุทธลักษณะคล้ายกับพระหูยานของลพบุรี ผิดกันแต่ไม่มีฐานเหมือนพระหูยานเท่านั้น พระศกผมหวี มีเส้นลวดควั่นเป็นวงกลม ระหว่างพระเกตุมาลา ยอดพระเกตุเกล้าเป็นเส้นเดียวกับเส้นผม แต่มักจะเลือนราง ไม่ค่อยจะชัดเจน รูปหน้าเคร่งขรึมพอสมควร กรอบไรเส้นผมเป็นเส้นนูน หูยาวจรดหัวไหล่ มือขวาพาดที่หัวเข่า มือเรียวเล็กเท่ากับแขน หัวเข่ากว้างใหญ่ ข้อมือเล็ก ที่พระศอมีเส้นลวดโค้งไปตามรูปของพระศอ สังฆาฏิตอนบนเหมือนพระถันปื้นใหญ่ ต่อจากพระถันลงมาเลือนราง ขอบจีวรพาดที่ข้อพระหัตถ์เป็นเส้นไปจดพระชานุ ขัดสมาธิราบ ด้านหลังเป็นลายผ้า แต่บางองค์ไม่มี พิมพ์แตกเป็นรอยร้าวตั้งแต่พระพาหาซ้ายใกล้กับสังฆาฏิ เป็นเส้นโค้งลงมาผ่านพระเพลา ทำให้ขาดความงามไปเล็กน้อยสนิมแดงสดจัดทุกองค์ พิมพ์มารวิชัยทั้งสองแบบพิมพ์นี้ ปัจจุบันหาชม ของแท้ได้ยากยิ่งนัก เพราะว่าจำนวนที่พบมีอยู่แค่ไม่กี่สิบองค์เท่านั้น
๔.พระร่วงนั่งพิมพ์สมาธิ เป็นพิมพ์ที่ยังพอพบเห็นอยู่บ้างในสนามพระ เพราะ แตกกรุออกมา หลายร้อยองค์ มีทั้งองค์ที่เทหล่อหนาและเทหล่อบาง มีที่ตัดข้างองค์พระเป็นเหลี่ยม มีปีก และตัดขอบชิดองค์พระก็มี แต่พระสมาธิ พิมพ์นี้จะหาองค์ที่สวยสมบูรณ์ มีหน้าตา และตัดข้างองค์สวยเรียบร้อยนั้นก็หายากมาก ส่วนใหญ่จะเทหล่อไม่ค่อยเต็มองค์ สนิมมีทั้งที่แดงสดจัดและแดงอมม่วงก็มี
๕.พระร่วงนั่ง พิมพ์ซุ้มนครโกษา พุทธลักษณะนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เป็นพระองค์ขนาดเล็ก มีเส้นรัศมีเป็นแฉกทั้ง ๒ ข้างองค์พระ สวยงามมาก เหมาะสำหรับห้อยคอพอดี เท่าที่พบมีด้วยกัน ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าเล็ก และพิมพ์หน้าใหญ่ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา นอกจากจะพบที่กรุบ้านหัวเกาะแล้ว ยังขุดพบที่กรุวัดราชเดชะ ในสุพรรณบุรี อีกเช่นกัน พระซุ้มนครโกษาที่พบในกรุวัดราชเดชะนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระสวย มีหน้าตา แต่ผิวสนิมพระจะไม่ค่อยแดงจัด คือจะแดงอมเขียว หรือแดงอมดำ ไม่เหมือนกรุบ้านหัวเกาะ ที่มีสนิมแดงจัด
๖.พระร่วงนั่ง พิมพ์ซุ้มปรางค์ พระพิมพ์นี้ถือว่ามีพุทธศิลป์ที่อลังการ สวยงดงามมากที่สุด ขนาดองค์พระขนาดค่อนข้างใหญ่ มีสนิมแดงสดจัด แต่ที่น่าเสียดายก็คือ พิมพ์ซุ้มปรางค์ พบขึ้นจากกรุจำนวนน้อยมาก เล่ากันว่าพบเพียง ๓ องค์เท่านั้นเอง

: ไม่รับหลังไมค์ เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้ประมูลท่านอื่น
: ดูให้ชอบพิจารณาให้ดีและมีความรับผิดชอบ
: พระทุกรายการยินดีทำตามกฏของทางเว็บทุกกรณี
: มีคำถาม&ปัญหาเพิ่มเติม โทร.095-446-4696 (ตะวัน)
ราคาเปิดประมูล149 บาท
ราคาปัจจุบัน10,049 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 16 พ.ย. 2566 - 10:12:49 น.
วันปิดประมูล - 17 พ.ย. 2566 - 11:49:46 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtasunflower8 (676)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     10,049 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ict500 (925)

 

Copyright ©G-PRA.COM