(0)
พระตรีกาย เนื้อดิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ไม่หัก ไม่อุด ไม่ซ่อม สภาพสมบูรณ์ มาพร้อมบัตรรับรอง G-pra ครับ





ชื่อพระเครื่องพระตรีกาย เนื้อดิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ไม่หัก ไม่อุด ไม่ซ่อม สภาพสมบูรณ์ มาพร้อมบัตรรับรอง G-pra ครับ
รายละเอียดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดอารามใน ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีการปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้งทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระราเมศวร และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

องค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุยังปรากฏบนผลงานภาพจิตรกรรมฯ 8 จอมเจดีย์แห่งสยาม ณ วัดเบญจมบพิตร อีกด้วย

พระปรางค์ประธาน ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวงเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่สูงที่สุดในลพบุรี สร้างเป็นพุทธเจดีย์ องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูน มีเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธรูปและพุทธประวัติ ที่ลายปูนปั้นหน้าบันพระปรางค์แสดงถึงอิทธิพลของพุทธศาสนา นิกายมหายาน และซุ้มโคปุระของปรางค์องค์ใหญ่เป็นศิลปะละโว้ มีลายปูนปั้นที่ถือว่างามมาก เดิมคงจะสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ แต่ได้รับการซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และ สมเด็จพระนารายณ์ ลวดลายจึงปะปนกันหลายสมัย ปรางค์องค์นี้เดิมบรรจุพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก ที่ขึ้นชื่อคือ พระเครื่องสมัยลพบุรี เช่น พระหูยาน พระร่วง ซึ่งมีการขุดพบเป็นจำนวนมาก อีกสิ่งหนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงคือปรางค์รายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่มุมกลีบมะเฟืองทุกมุมปั้นเป็นรูป เทพพนมหันออกรอบทิศ พระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม พระขนงต่อกัน ลักษณะเป็นศิลปะแบบอู่ทอง ชฎาเป็นทรงสามเหลี่ยมมีรัศมีออกไปโดยรอบ เป็นศิลปะที่มีความงามแปลกตาหาดูได้ยากในเมืองไทย

วิหารหลวงสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดมหาธาตุ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนพุทธาวาส และสังฆาวาส ซึ่งส่วนหลังนี้ถูกบุกรุกไปหมดแล้วคงเหลือพื้นที่ส่วนพุทธาวาส มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ มีถนนตัดรอบวัด เมื่อผ่านประตูเข้าไปจะเห็น ดังนี้ พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่โตมากและเหลือแต่ผนังทั้ง 4 ด้าน แต่ก็ไม่สมบูรร์นักกับกองพระพุทธรูปที่หัก ๆ ทางซ้ายของพระอุโบสถมี "ศาลาเปลื้องเครื่อง" ซึ่งสันนิษฐานว่า คงสร้างขึ้นภายหลัง เชื่อว่าเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ฯ จะมาประกอบพิธีทางศาสนาคงจะต้องมาเปลื้องเครื่องทรงที่ศาลาหลังนี้ศาลาเปลื้องเครื่อง อยู่ติดกับวิหารเล็ก ๆ แต่ปิดประตูใส่กุญแจไว้ มีพระพุทธไสยาสน์ประทับอยู่มองเห็น

ด้านหลังพระอุโบสถคือ พระปรางค์ซึ่งพระปรางค์เป็นพระปรางค์องค์เดียวโดด ๆ ไม่ใช่เรียงกันสามองค์เช่น พระปรางค์สามยอดแต่เชื่อว่าสร้างในรุ่นเดียวกัน คือ ระหว่าง พ.ศ. 1500 - 1800 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและได้ชื่อว่ามีลวดลายปูนปั้นงามเป็นเลิศ แต่น่าเสียดายในการบูรณะทำให้เสียหายไปไม่ใช่น้อยแต่ยังพอหลงเหลือให้ชมความงามคือทางซ้ายหรือทางใต้ของพระปรางค์ เงยหน้ามองสูงสักหน่อย ที่หน้าบันจะเห็นภาพพระอมิตาประทับบนดอกบัวมีก้านในสวรรค์สุขาวดี ตามคติพุทธมหายาน ลายปูนปั้นที่หน้ากระดานแถวบนสุด เป็นลายกระหนกที่รับอิทธิพลขอมศิลปะสมัยละโว้ ลายปูนปั้น มกรคายนาคหน้าบันซุ้มโคปุระ หรือซุ้มหน้าของปรางค์ประธาน เป็นศิลปะละโว้ กับอโยธยา วิหารหลวง อยู่ทางขวาของพระอุโบสถ เข้าใจว่าปฏิสังขรณ์จนกลายแบบไปแล้ว เดิมประตูเป็นศิลปะไทยแต่หน้าต่างนั้นเป็นศิลปะแบบโกธิค ของฝรั่งเศสแสดงว่าสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เจดีย์รายอยู่รอบพระปรางค์ใกล้ชิดกำแพงวัด หลายองค์ยังมีภาพลวดลายปูนปั้นที่งดงามอยู่ วิหารคด ยังมีสภาพที่ดีเหลือให้ชมมาบรรจบกันที่ท้ายวิหารหลวง

ในคติการสร้างพระตรีกาย เป็นการตีความจากเหล่าคณาจารย์ของมหายานที่พยายามให้พระพุทธเจ้ามีตัวตนดำรงชีพอยู่ทั้งนี้ ตรีกาย หมายถึง พระกายทั้งสามของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ธรรมกาย คือ กายแท้จริงที่เป็นหลักธรรมอันแท้จริงไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดนิรมาณกาย คือ กายเนื้อมีการเกิด แก่ เจ็บและตาย จนสามารถพัฒนาศักยภาพกลายเป็นพุทธะได้ และสัมโภคกาย คือ กายที่เป็นทิพย์ภาวะยังคงดำรงอยู่เพื่อโปรดช่วยเหลือแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีคติความเชื่อและสามารถเป็นกุสโลบายในการเผยแผ่พุทธศาสนาแก่คนทั่วโลกได้ ในทางตรงกันข้ามพระพุทธเจ้าถูกมองว่าเป็นเหมือนเทพเจ้าที่สามารถสวดมนต์ร้องขอได้เพราะเชื่อว่าพระพุทธองค์ประทับที่ดินแดนพุทธเกษตรหรือโลกธาตุที่ใดที่หนึ่ง และยังคงสดับเสียงสวดมนต์ของเหล่าพุทธศาสนิกชนอยู่ ดังนั้นผู้จะเข้าถึงต้องตั้งมั่นโพธิจิตตามหลักโพธิสัตวจริยา หากยกระดับจิตมีบารมีเต็มเปี่ยมแล้วสามารถเข้าถึงดินแดนพุทธเกษตรได้

+++องค์นี้เเต่เดิมถักลวดเก่ามา ผมได้นำมาเเกะลวดออกเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์เเละเพื่อความชัดเจนในการถ่ายรูปครับ+++

+++สภาพสมบูรณ์ครับ โดยรวมเเล้วพิมพ์พระยังคงคม ลึกครับ+++

+++มีภาพบอกขนาดด้านล่างครับ+++

+++รับประกันพระเเท้สากลตลอดกาลเเละยินดีปฏิบัติตามกฎทุกประการครับ+++
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 พ.ย. 2566 - 21:14:11 น.
วันปิดประมูล - 28 พ.ย. 2566 - 21:22:27 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลen_amulet (1.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 พ.ย. 2566 - 21:17:37 น.



ขนาดครับ พระค่อนข้างมีขนาดเขื่องใหญ่ เหมาะสำหรับตั้งบูชาครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 27 พ.ย. 2566 - 21:17:49 น.



เพิ่มเติมครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 27 พ.ย. 2566 - 21:18:02 น.



บัตรรับรองครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     3,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    วิเศษชัยชาญ (2.8K)

 

Copyright ©G-PRA.COM