(0)
สุดยอดตำนานตะกรุดหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) พร้อมบัตร Gpra







ชื่อพระเครื่องสุดยอดตำนานตะกรุดหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) พร้อมบัตร Gpra
รายละเอียดยอดตำนานตะกรุดหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย)
ยืนยันด้วยสุดบัตรรับรอง Gpra ซึ่งเครื่องรางหากไม่ชัดเจน ทางการันตีพระไม่ออกบัตรให้แน่นอน

ตะกรุดดอกนี้สภาพสมบูรณ์ เก็บรักษาดีเชือกถักไม่ขาดตามอายุ ความยาว 4.5 นิ้ว เลี่ยมพลาสติกรักษาสภาพไว้ รอเจ้าของตัวจริงมารับไป

เป็นตะกรุดที่หาได้ยากยิ่ง มักจะสืบทอดจากวงศ์ตระกูล ขนาดที่ว่า พ่อมีตะกรุดอยู่ดอกเดียว แต่มีลูกชายสองคน ถึงกับต้องหักครึ่งแบ่งให้ลูกสองคน คนละครึ่งเลยทีเดียว
ลักษณะของตะกรุดหลวงพ่อปาน เท่าที่พบเห็นส่วนใหญ่ จะเป็น "ตะกรุดเนื้อตะกั่ว" ชนิดตะกั่วเคี่ยว หรือตะกั่วทุบ เนื้อตะกั่วจะนิ่มกว่าตะกั่วของพระเกจิทั่วไป สภาพเดิมๆ จะต้องมีการถักเชือก โดยขึ้นเชือกถักลายหนึ่ง แบบเดียวกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แต่ต้องพิจารณาถึงอายุ เอกลักษณ์ วิถี กลิ่นไอ เรียกว่า ต้องมีประสบการณ์ตรงในการเช่าหาตะกรุดเก่าๆ จึงจะแยกแยะได้ออก
กิตติคุณของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนั้น เก่งขนาดไหน? ก็ต้องขอคัดลอกบทความบันทึก ในนิราศของสมเด็จพระปิยะมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มาให้อ่านกัน ดังนี้
ทรงมีรับสั่งกับพระปานว่า “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้” แล้วรับสั่งถามต่อไปว่า “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”
หลวงพ่อปานทูลตอบว่า “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น "อ้ายเสือ" เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ท่านทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ" ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า
“พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯ กลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว
คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ “ให้ลงตะกรุด” ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร"
ไม่ได้พิมพ์ผิด แต่เป็นคำจากตำนานในพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คือ "ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ "น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่ เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้" ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดี มีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"
จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า “ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”
พระราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่า พระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปาน อีกไม่กี่ปีก็คงจะถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว และในเวลาที่ไม่ห่างกัน
นอกจากท่านเจ้าคุณเฒ่า วัดหนัง ที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ความสำคัญ มีการบันทึกถึงไว้ในตอนเสด็จประพาส เมืองฝรั่งเศส และท่านให้ความเคารพ กราบไหว้ บูชาแล้ว ก็ยังมีหลวงพ่อปาน แห่งวัดคลองด่านนี้อีกหนึ่งองค์ ที่เสด็จพ่อ รัชกาลที่ ๕ ให้ความสำคัญ ถึงขนาดมีการบันทึกถึงไว้ในพระราชนิพนธ์อีกเช่นกัน เป็นความรู้ที่ควรค่าต่อการศึกษา และจดจำ

Cr. ๕ มหาลาภพระเครื่อง
ราคาเปิดประมูล18,900 บาท
ราคาปัจจุบัน19,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ก.พ. 2567 - 18:53:15 น.
วันปิดประมูล - 24 ก.พ. 2567 - 17:28:22 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลBerm_07 (859)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     19,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Gymnastics (13.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM