(0)
พระสมเด็จรุ่นแรก รุ่นอู๋เจี๊ยะ(มีกิน) หลวงปู่เจี๊ยะ จุณโทเ นื้อแดง(นิยม)






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จรุ่นแรก รุ่นอู๋เจี๊ยะ(มีกิน) หลวงปู่เจี๊ยะ จุณโทเ นื้อแดง(นิยม)
รายละเอียดพระสมเด็จรุ่นแรก รุ่นอู๋เจี๊ยะ(มีกิน) หลวงปู่เจี๊ยะ จุณโท เนื้อแดง(นิยม)พระอริยสงฆศิษยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
หายากสุดๆเช่าหากันแรง
พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท) พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่เจี๊ยะจะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับเรื่องธรรมภายใน กิริยาภายนอกที่สบาย ๆ ของท่านนั้นทำให้เป็นเหมือนม่านบังปัญญา บังตาเนื้อของชาวโลกที่นิยมชื่นชมด้านวัตถุชอบมองแต่สิ่งสวยงามภายนอก แต่ไม่เคยหันกลับมาย้อนดูภายในใจตน จึงมองท่านไม่ออก บอกไม่ถูก ผู้ไม่เท่าถึงในสิ่งที่มี ที่เป็น ที่ปรากฏภายในจิต เพราะธรรมชาติของจิตที่บริสุทธิ์ไม่มีอาการลวงเหมือนอาการทางกายวาจา
ศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นทั้งหลายมี หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโน ครูบาอาจารย์ที่เป็นดั่งอาจารย์ของท่านและคุ้นเคยเป็นอย่างดีนี้ เมื่อทราบว่าหลวงปู่เจี๊ยะอยู่ที่ใด มักจะแวะเยี่ยมและสนทนาธรรมอยู่เสมอ มิได้ขาด เสมือนอย่างว่าสายใยแห่งธรรมชักนำให้ดึงดูดต่อกันมิรู้ลืม
ท่านเป็นประเภทตรงไปตรงมา การพูดการจาจึงเป็นดั่งโบราณท่านว่า “น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย” คือคำสอนของท่านเผ็ดร้อน เป็นความจริงมันอาจจะไม่ถูกใจเรา ท่านไม่พูดเอาใจเรา แต่คำสอนนั้นเมื่อนำมาประพฤติปฏิบัติ ก็เกิดผลดีกับชีวิตจิตใจเราได้จริง ๆ คำสอนประเภทนี้อาจไม่ถูกใจคนบางคนที่นิยมการยกยอปอปั้น แต่เป็นคำสอนประเภททะลุทะลวงเพื่อเข้าสู่ความจริง
น้ำร้อน คือคำพูดที่เผ็ดร้อนจริง ๆ จัง ๆ ปลาเป็น คือทำให้คนธรรมดากลายเป็นคนดีขึ้นมาได้ การพูดการสอนแบบนี้เรียกว่า “น้ำร้อนปลาเป็น”
นัยทางตรงกันข้าม คำสอนประเภท น้ำเย็นปลาตาย พูดจาไพเราะเพราะพริ้งคุณโยมอย่างนั้นอย่างนี้ ยกยอเอาเสียจนคนมาปฏิบัติธรรมไม่รู้ความผิดของตนพูดจาเอาอกเอาใจ โดยไม่มุ่งสอนตามความเป็นจริง ทำให้คนที่เข้ามาแสวงหาความดีกลับกลายเป็นคนเสียคนไปโดยไม่รู้ตัว ถ้าเป็นธรรมะ ก็คือธรรมะเอาอกเอาใจ เอาอกเอาใจเขาเพื่อทำให้เขาศรัทธาในตัวเอง เขาพอใจเขาก็ศรัทธา เขาไม่พอใจเขาก็ไม่ศรัทธา การพูดการสอนแบบนี้ มุ่งเน้นให้คนมาชอบศรัทธาในตนมากกว่าสอนเขาให้เข้าใจในพระสัทธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
น้ำเย็น ก็คือคำพูดที่ฟังแล้วชุ่มฉ่ำเย็นใจสำหรับมนุษย์ที่ชอบความนิ่มนวลอ่อนหวาน แต่แฝงไปด้วยพิษร้าย เพราะไม่ใช่คำจริงเพื่อถึงความจริง คำพูดฟังดูดีแต่ทำตามแล้วกลับมีผลเสียตามมาทีหลัง
ปลาตาย คือเป็นคนตายทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ เรียกว่า ตายทั้งเป็น ผู้สอนก็ตายจากคุณงามความดี ผู้ฟังก็ตายจากการได้รับสัจจะความจริงแห่งพระสัทธรรมการพูดการสอนแบบนี้เรียกว่า “น้ำเย็นปลาตาย”
ประวัติ ปฏิปทา คติธรรม ของท่านอาจแตกต่างจากพระกรรมฐานรูปอื่นในแง่ปลีกย่อย ท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา อันเป็นธรรมภายใน ท่านปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว คำสอนของท่านก็เป็นประเภทปัจเจกะ มุ่งเน้นทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อนเป็นสิ่งช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่ารู้ธรรมเร็วในยุคปัจจุบัน
ท่านจึงเป็นแบบอย่างทางสงบแก่โลกที่ระงมปนเปื้อนไปด้วยกองทุกข์นานัปการ ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่ด้านเดียว การมองอะไร ไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตาคือ ปัญญา เพราะผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรมองข้ามปมคำสอน เพียงเพราะสายตาเท่านั้น ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่สอ่งแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูผา
หลวงปู่เจี๊ยะท่านจึงเป็นผู้มีจิตอิสระมานานไม่เกี่ยวเกาะยึดติดพัวพันในบุคคล กาล สถานที่ การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติมากกว่ารูปแบบแห่งการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฏิปทาที่เป็นปัจจัตตัง ยากที่ใคร ๆ จะเลียนแบบได้
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวยกย่องชมเชยในคุณธรรมของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ว่า “พระอาจารย์เจี๊ยะ เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่ง (ในความหมายขององค์หลวงตาหมายถึงพระอรหันต์) ที่หาได้โดยยากยิ่ง”
ราคาเปิดประมูล200 บาท
ราคาปัจจุบัน290 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ30 บาท
วันเปิดประมูล - 21 มี.ค. 2567 - 13:28:49 น.
วันปิดประมูล - 22 มี.ค. 2567 - 16:39:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลนครเมืองเก่า (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     290 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     30 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Warning (2K)

 

Copyright ©G-PRA.COM