(0)
@ตะกรุดยอดไจยะเบงชร - เนื้อตะกั่ว ยาว4นิ้ว@ หลวงปู่ครูบาอิน รุ่นไจยะเบงช ปี45 สร้างหลักสิบ ท่านคือเกจิที่หลวงพ่อกวย สั่งให้อ.ตั้วไปเรียนวิชาให้ได้คือหลวงปู่หมุนและครูบาอิน ละครับเคาะหายากสุดชมนะครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@ตะกรุดยอดไจยะเบงชร - เนื้อตะกั่ว ยาว4นิ้ว@ หลวงปู่ครูบาอิน รุ่นไจยะเบงช ปี45 สร้างหลักสิบ ท่านคือเกจิที่หลวงพ่อกวย สั่งให้อ.ตั้วไปเรียนวิชาให้ได้คือหลวงปู่หมุนและครูบาอิน ละครับเคาะหายากสุดชมนะครับ
รายละเอียดด้ายขาวที่มาพันรอบตะกรุดตือด้ายสายสิญจ์ ในพิธีครับ หายากมากกกกกที่นี่ที่เดียวครับ

แต่ได้พบว่า ในหนังสือ “บาญชีคัมภีร์ภาษาบาลีแลภาษาสันสกฤต อันมีฉบับในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร” ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ในงานเฉลิมพระชันษาซายิด สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีชื่อ “ชินปญชร” ปรากฏอยู่ในลำดับที่ ๑๐๒ พร้อมกับคำอธิบายไว้ว่า “ว่าด้วยคาถาอัญเชิญพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกให้มาประดิษฐานในตน เพื่อป้องกันอันตรายุจอยู่ในกรงแลที่ล้อม (มี ข.ส.คือฉบับเขียนอักษรสีหล)” จึงได้ขอให้เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติช่วยค้น ก็ได้พบต้นฉบับเขียนอักษรสีหลดังกล่าว เขียนด้วยเส้นหมึกในสมุดฝรั่งขนาดยาวจำนวน ๓ หน้า เรียกชื่อคาถานี้ว่า “ชินปญชรย” มี ๒๒ คาถาเหมือนกับฉบับลังกาที่มีอยู่ในหนังสือเล่มเล็กชื่อ The Mirror of the Dhamma ที่กล่าวถึงมาแล้วในตอนต้น แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนว่าเป็นใคร และเขียนไว้แต่เมื่อไร และในคราวนี้เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติได้พบคาถาชินบัญชรฉบับอักษรพม่าอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งไม่มีชื่อปรากฏอยู่ในหนังสือบาญชีคัมภีร์ภาษาบาลีฯ ดังกล่าวแล้ว เป็นฉบับพิมพ์อักษรพม่า มีคำอธิบายคำศัพท์และคำแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย พิมพ์ที่ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ (ค.ศ.๑๘๗๙) หนังสือมีชื่อว่า “รตนปญชรํ” มีชื่อภาษาพม่ากำกับไว้ในวงเล็บว่า “รตนาชวยใช่” (แปลว่า กรงทองแห่งพระรัตนตรัย) มี ๑๔ คาถาและเหมือนกับ ๑๔ คาถาแรกของฉบับอื่นๆ นั่นเอง

เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๐ ได้มีการพบปะกันระหว่างผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องคาถาชินบัญชร และผู้รู้ทางล้านนาคดีตามดำริของสมเด็จพระญาณสังวร ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีศาสตราจารย์พูนพล อาสนจินดา เป็นประธานที่ประชุม และสมเด็จพระญาณสังวรได้เสนอเรื่องประวัติความเป็นมาของคาถาชินบัญชรให้ที่ประชุมพิจารณา ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และจากการประชุมคราวนี้ เป็นเหตุให้ได้ความรู้เกี่ยวกับคาถาชินบัญชร ตามที่เชื่อถือกันอยู่ในทางเมืองเหนือเพิ่มขึ้นอีกหลายประการ จากท่านผู้รู้ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ของเมืองเหนือสรุปความได้ดังนี้

๑. คาถานี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในหมู่ประชาชนทางเมืองเหนือมาแต่โบราณ ทั้งภิกษุสามเณรและชาวบ้านนิยมสวดกันทั่วไป และรู้จักกันในนามว่า “สูตรเชยยเบงชร” หรือออกเสียงตามสำเนียงพื้นเมืองว่า “ไจยะเบงจร” แต่ที่จดจารึกไว้ในใบลานบ้านบันทึกไว้ในสมุดไทยบ้าง ด้วยอักษรล้านนา เท่าที่สำรวจพบแล้วขณะนี้นั้น เรียกชื่อต่างๆ กันเป็นหลายอย่างคือ เชยยเบงชร ชัยเบ็ญชร ไจยะเบงชร ชยา และมีฉบับปรากฏอยู่ทั่วไปนับจำนวนพัน

๒. ความเชื่อเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรของชาวเมืองเหนือนั้น เป็นไปอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ ใช้สวดสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นธาตุ ขึ้นถ้ำ สวดขอฝน นอกจากนี้ยังนิยมเอาบางตอนของคาถานี้ (คือคาถาที่ ๑๐, ๑๑, ๑๒) มาเขียนย่อเป็นยันต์ลงในแผ่นกระดาษหรือแผ่นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมสำหรับติดที่ปลายเสาดั้งของบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร เพื่อป้องกันฟ้าผ่า ไฟไหม้ เรียกว่า “ยันต์เทียนหัวเสา” บ้าง “ยันต์เสาดั้ง” บ้าง “ยันต์ฟ้าฟีก” บ้าง มีรูปดังนี

ร บุ อา ทก เม ตต ธ บ อา วา คุ ล

โต ต สุต ขิ โต ชช มา เม

นํ สิ ล เณ กำ ต คคํ สิ จจ อํ กํ ลิ

ขน ร ตญ อา ฏิ ต อา ส อา เส กา ฐิ

ริ ธ สุต ฏา นํ กา สณ สา

โม จ ป นา กํ ย เส สี ท ปา ต ร



บางครั้งก็เขียนเป็นยันต์ตัวเลขสำหรับลงแผ่นโลหะหล่อพระพุทธรูป ดังนี้






๑๕
๒๒


๒๕
๑๔
๒๑


๑๖

๒๐

๒๖
๒๓
๓๐


๑๓
๒๔
๒๙
๓๒
๑๗
๑๐


๑๙
๑๒
๒๗

๓๑


๒๘

๑๘
๑๑





๓. หลักฐานเกี่ยวกับคาถานี้ มีจดจารึกไว้ด้วยอักษรล้านนาเท่าที่ค้นพบในขณะนี้มี ๒ ลักษณะคือ จารไว้ในใบลานหรือสมุดไทย (สมุดข่อย) ที่ชาวล้านนาเรียกว่า ปั๊บ (พับ) เป็นเอกเทศบ้าง เขียนไว้ในปั๊บสา (สมุดกระดาษสา) หรือปั๊บสูตร (หนังสือสวดมนต์ที่ทำด้วยกระดาษสา) รวมกับสูตรอื่นๆ ทั่วไป บางที่จารหรือเขียนไว้เป็นเอกเทศนั้นมีน้อย เท่าที่สำรวจพบแล้วโดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางมีเพียง ๕ ฉบับ ที่พบมากที่สุดนั้นเขียนไว้ในปั๊บสา (คือหนังสือรวมสวดมนต์แบบสมุดข่อย) บางฉบับมีคำแปลเป็นไทยไว้ด้วย บางฉบับก็ไม่มีคำแปล บางฉบับมีวันเดือนปีที่จารหรือจารึกไว้ด้วย เท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ ฉบับที่มีอายุเก่าที่สุดคือฉบับของวัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน จารในใบลานรวมกันหลายสูตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ (จ.ศ.๑๒๒๓)

๔. เกี่ยวกับประวัติความเป็นมานั้น ยังไม่พบหลักฐานแน่ชัด คาถาชินบัญชรฉบับอักษรล้านนาบางฉบับเท่าที่ค้นพบแล้วมีบอกประวัติของคาถานี้ไว้ด้วย เช่นฉบับวัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน บอกว่า “เป็นคาถาของพระมหาพุทธโฆสเถระเจ้าเมื่อคราวลงไปค้นเอาพระธรรมที่หีบ (หรือตู้) หลวง เมืองลังกา (หีบนั้น) ท่านติดกุญแจไว้ ๗ ชั้น เพื่อไม่ให้ใครไขได้ พระมหาพุทธโฆสเถระเจ้าสวดพระคาถา ๒๙ บทนี้ พร้อมกับเดินพนมมือประทักษิณหีบพระธรรมของหลวงนั้น ๓ รอบ กุญแจ ๗ ชั้นนั้นก็หลุดออกหมด ท่านจึงได้เอาพระธรรมออกมาเขียนได้ทั้งหมด สร้างขึ้นไว้ในชมพูทวีปเรานี้แล” ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า คาถานี้แต่งขึ้นในลังกา โดยพระอรหันต์ ๘ รูป เพื่อถวายแก่มกุฎราชกุมารของลังกา ซึ่งถูกทำนายว่าจะถูกฟ้าผ่า (แต่ยังหาหลักฐานไม่พบ) บางท่านกล่าวว่า ในตำนานสืบชาตาของเชียงใหม่ ซึ่งมีมาแต่ครั้งพระเมืองแก้ว (ครองราชย์ระหว่างพ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘) มีกล่าวถึง ไจยะเบงจร ซึ่งพระจะต้องสวดรวมกับสูตรอื่นๆ ด้วย อันเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า คาถาชินบัญชรนี้ได้มีมาในเชียงใหม่เกือบ ๕๐๐ ปีแล้ว จากข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ผู้รู้บางท่านของเชียงใหม่จึงสรุปว่า คาถาชินบัญชรนี้แต่งขึ้นที่ลังกา แล้วไทยเรารับเอามาอีกทีหนึ่ง บางท่านสรุปว่า แต่งขึ้นที่เชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชมหาราช รัชกาลที่ ๑๑ แห่งเชียงใหม่ บางท่านสรุปว่าแต่งขึ้นที่เชียงใหม่ โดยพระสีลวังสะ (หรือศีลวงศ์) ผู้แต่งคาถาอุปปาตสันติ ซึ่งมีลีลาและความหมายคล้ายกับคาถาชินบัญชร แต่ทั้งนี้ก็โดยสันนิษฐาน เพราะยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด

๕. ในทางเมืองเหนือถือกันว่า บทว่า “รตนํ ปุรโต อาสิ” ของคาถาชินบัญชรนั้น เป็นหัวใจของคาถาชินบัญชร ถือกันในทางไสยศาสตร์ว่าขลังนัก เรียกกันว่า “คาถาตาลหิ้น” เพราะอยู่ยงคงกระพันถึงขนาดยิงจนยอดตาลหิ้น (เหี้ยน) ก็ไม่เป็นอันตราย

จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจศึกษาของผู้รู้ฝ่ายล้านนาดังกล่าวมานี้ ก็ยังเอาเป็นยุติไม่ได้ว่า คาถาชินบัญชรนี้แต่งขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ และใครเป็นผู้แต่ง เพราะข้อมูลยังแย้งกันอยู่ แต่ประการหนึ่งที่ต่างก็เห็นพ้องต้องกันก็คือ คาถาชินบัญชร หรือ ไจยะเบงจร นี้ เป็นที่นับถือแพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวล้านนามาแต่โบราณกาล ไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปีเศษมาแล้ว
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ก.ค. 2552 - 15:02:05 น.
วันปิดประมูล - 16 ก.ค. 2552 - 00:47:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtextile007 (9K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    jirang (143)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM