(0)
***พระมหาจักรพรรดิ ของ พระเนื้อผงสายพระกรรมฐาน*** พระธรรมจักร พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ปี ๒๐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จ.หนองคาย เนื้อชมพู สวยมาก...ดูง่าย (อยู่ในซองพลาสติกเดิมๆ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง***พระมหาจักรพรรดิ ของ พระเนื้อผงสายพระกรรมฐาน*** พระธรรมจักร พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ปี ๒๐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จ.หนองคาย เนื้อชมพู สวยมาก...ดูง่าย (อยู่ในซองพลาสติกเดิมๆ
รายละเอียดพระธรรมจักร พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ปี ๒๐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จ.หนองคาย
เนื้อชมพู สภพาสวยมาก...ดูง่าย (อยู่ในซองพลาสติกเดิมๆ)
รูปถ่ายไม่ค่อยชัด องค์จริงสวยกว่าในรูปพอสมควร
รับประกันความแท้และความพอใจ


***พระมหาจักรพรรดิ ของ พระเนื้อผงสายพระกรรมฐาน***
ในปี พ.ศ. 2520 คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้คิดจะทอดกฐินและผ้าป่า 8 วัด ดังนี้
กฐิน - วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.บึงกาฬ หนองคาย
ผ้าป่า - วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู อุดรธานี ท่านอาจารย์ขาว อนาลโย
- วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย ท่านอาจารย์เทสก์ เทศน์รังสี
- วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง อุดรธานี ท่านอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
- วัดป่านิโครธาราม อ.หนองบัวลำภู ท่านอาจารย์อ่อน ญาณศิริ
- วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.สว่างแดนดิน สกลนคร ท่านอาจารย์วัน อุตตโม
- วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม สกลนคร สมทบทุนสร้างโรงพยาบาล ท่าน อาจารย์ฝั้น อาจาโร
- วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน สกลนคร ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

ดังมีรายละเอียดในโบว์ชัวร์บอกบุญกฐินในปีนั้นดังนี้

ขอเชิญร่วมทอดกฐิน-ผ้าป่าสามัคคี 11-14 พฤศจิกายน 2520

ด้วยวัดเจติยาคีรีวิหาร บนยอดเขาภูทอก ซึ่งเป็นสถานที่วิเวกแสวงธรรมที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย อุดมไปด้วยความงดงามตามธรรมชาติ จึงมีผู้นิยมไปแสวงบุญและนมัสการ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ปีหนึ่งเป็นจำนวนมาก ทำให้สะพานลอยรอบเขาชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 จำเป็นต้องได้รับการบูรณะเสริมสร้างให้มั่นคงแข็งแรงขึ้น พร้อมทั้งควรบูรณะหลัง คาวิหาร จัดสร้างกุฏิ ห้องน้ำ-ส้วม เพิ่มเติม รวมทั้งจัดทำถังน้ำฝนและระบบประปาภายในวัดให้มีน้ำฝนไว้ใช้ได้ตลอดปี นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องบูรณะสำนักสงฆ์ที่ห้วยสะแนน ซึ่งอยู่มนความดูแลของท่านอาจารย์อีกด้วย คณะศิษย์ของท่านจึงเห็นควรจัดทอดกฐินสามัคคีเพื่อหาปัจจัยดำเนินการดังกล่าวนี้
ในโอกาสเดียวกันเพื่อให้คณะศิษย์ทางกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาและโอกาสมากราบนมัสการพระอาจารย์องค์อื่นๆ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลอันน่าเคารพเลื่อมใสยิ่งแห่งภาคอีสานได้บ่อยครั้งนัก จึงได้จัดทอดผ้าที่วัด พระอาจารย์องค์อื่นๆ ด้วย
จีงเรียนมาเพื่อขอเชิญไปร่วมอนุโมทนาโดยทั่วกัน สำหรับผู้ที่บริจาคปัจจัยสมทบทุนทอด กฐินและผ้าป่าในครั้งนี้ จะได้รับ “ พระธรรมจักร ” พระพุทธรูปผง ปางปฐมเทศนา เป็นที่ระลึกด้วย
ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระธรรมจักร 1องค์
ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระธรรมจักรชุด จตุรงค์ 4 สี
พระธรรมจักรนี้ ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ และ ท่านอาจารย์วัน อุตตโม กรุณามอบดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในประเทศอินเดีย รวมทั้งวัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านได้รวบรวมไว้เพื่อใช้ในการสร้างพระครั้งนี้
คณะกรรมการได้จัดสร้างพระธรรมจักรทั้งหมด 93,409 องค์ และได้ขออนุญาตท่านอาจารย์ทำเนื้อพิเศษสุด ( ลงรักปิดทอง ) จำนวน 9 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร และพระวรชายาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง 3 พระองค์ รวมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ครบทุกพระองค์ และได้จัดทำเนื้อพิเศษอีก 1,000 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระราชทานแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิด ถือเป็นเนื้อพิเศษ “ ในวัง ”
ส่วนที่เป็นเนื้อพิเศษ “ นอกวัง ” จัดทำเป็น 4 สีๆ ละ 2,100 องค์ เรียกว่า จตุรงค์
ท่านที่มีจิตศรัทธาจะร่วมทำบุญ โปรดส่งเงินได้ที่กรรมการคนใดคนหนึ่งที่รุ้จัก หรือจะส่งตรงได้ที่เหรัญญิก ปรียาสุข เพ็ญภาคกุล กองรหัสบัญชี การไฟฟ้าผ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร. 4240101-6 ต่อ 460, 394 และ 640 คณะกรรมการได้เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา บางกรวย โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “ กฐิน-ผ้าป่าสามัคคี 2520 ”
พระธรรมจักร
พระพุทธลักษณะ
“ พระธรรมจักร ” ที่สร้างเป็นที่ระลึกงานทอดกฐินวัดเจติยาคีรีวิหาร ( ภูทอก ) จ.หนอง คาย ในปี 2520 นี้ เป็นพระพุทธรูปปางปฐม เทศนา สมเด็จพระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และเป็นมหามงคลสมัยที่ถือกันว่า พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นแล้วโดยสมบูรณ์ ณ โอกาสนั้น คือ ได้เพียบพร้อมด้วยองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพราหลังจากที่ได้สดับพระธรรมจักรแล้ว พระโกณฑัญญะ ก็ได้มีดวงตาเห็นธรรมถึงกับสมเด็จพระพุทธชินสีห์ทรงเปล่งอุทานว่า “ อัญญาสิวตโภ โกณฑัญโญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ”
การสร้างได้จำลองมาจากพระพุทธรูปปฏิมากรสลักหิน ที่สร้างขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 1,400 ปีมาแล้ว ขุดค้นพบได้ที่เมืองสารนารถ อินเดีย ขณะนี้ยังเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองพาราณสี เป็นรูปพระพุทธองค์ประทับขัดสมาธิเพชร ทรงกระทำวงที่นิ้วซึ่งเรียกกันว่า วรมุทระ ใต้ฐานสลักเป็นรูปปัญจวัคคีย์กับอุปัฏฐาก เบื้องหลังพระพาหามีวงกลมประภามณฑล เห็นเทพเจ้า 2 องค์กำลังน้อมปัจจุคมนาการอยู่ 2 ข้าง
พระพุทธรูปหินปางปฐมเทศนาองค์ที่สร้างขึ้น ณ เมืองสารนารถนี้ ถือกันว่าเป็นศิลปกรรมที่งดงามที่สุดของอินเดีย เป็นโบราณวัตถุที่ล้ำค่าหาราคามิได้ เพื่อให้ชาวพุทธ ณ เมืองไทยได้มีโอกาสสักการบูชา จึงได้จำลองแบบมาให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ สร้างขึ้น
โดยที่พระผงที่จะจัดสร้างนี้ ด้านหน้าเป็นรูปปางเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ส่วนด้านหลังเป็นรูปเจดีย์ทั้งสาม แสดงถึงวาระแห่งการประสูติ ตรัสรู้ และนิพพานอยู่ด้วย คณะกรรมการจึงจัดสร้างพระชุดพิเศษให้แสดงถึงวาระอันสำคัญยิ่งให้ครบเป็น 4 โอกาส โดยจัดทำเป็นสีพิเศษ 4 สี ดังนี้
ประสูติ - สีเขียว หมายถึง ความรื่นเริงของโลกที่ทราบถึงการประสูติ
ตรัสรู้ - สีขาว หมายถึง ความสว่างเจิดจ้าแห่งการตรัสรู้
ปฐมเทศนา - สีชมพู หมายถึง สีอาทิตย์อุทัยที่แสดงถึงการอุบัติขึ้นของพุทธศาสนา
นิพพาน - สีเทาดำ หมายถึง ความโศกสลดของชาวโลกที่มีต่อวาระปรินิพพาน
ซึ่งแต่ละสีนอกจากจะใช้วัตถุมงคลทั้งมวลที่มีอยู่แล้วเป็นสีพื้น จะเพิ่มมวลสารบางชนิดเน้นหนัก คือ
สีเขียว เน้นด้วย กระเบื้องเขียวหลังคาวัดบวรนิเวศน์ วัดราชบพิธ จันทน์หอม และที่สำคัญคือ เตยหอมจากภูทอก ที่พระอาจารย์จวนได้
อธิษฐานจิตให้ไว้ว่า “ จะแตกไปกี่กอ ทุกต้นทุกกอคือเราเสกไว้แล้ว ”
สีขาว เน้นด้วย เกสรดอกไม้ งาช้าง และกระเบื้องวัดบวรฯ วัดราชบพิธ
สีชมพู เน้นด้วย ชานหมาก หินชมพูจากภูทอก โคตรเหล็กไหลและขี้เหล็กไหล ซึ่งเทพที่รักษาอยู่ได้มาขอให้ท่านอาจารย์นำออกจาก
ถ้ำบูชาภูวัวไปแจกจ่ายแก่ประชรชนเพื่อที่เขาจะได้บุญด้วย
สีเทาดำ เน้นด้วย พระผงงิ้วดำ และเบ้าหล่อพระพุทธรูป ภปร. ข้าวสารดำสามพันปี
สีพิเศษนี้จะจัดสร้างเพียงสีละ 2,100 องค์เท่านั้น โดยจัดเป็นชุดเรียกว่า ชุดจตุรงค์ 4 สี สำหรับมอบให้ผู้บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป
ส่วนเนื้อธรรมดาที่มีสีแดงนั้นมีจำนวนจัดสร้างเท่าพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ โดยแบ่งส่วนหนึ่งจำนวน 40,000 องค์บรรจุกรุไว้ที่ใต้ฐานพระประธานที่ภูทอก
วัตถุมงคลที่นำมาสร้างพระ
1. ดิน จากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งของอินเดีย คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปริ นิพพาน ดิน ณ ที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ดินเชตวันมหาวิหาร ดินที่สถูปพระสารีบุตร พระโมคคัลลาน์ พระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระราหุล พระกัจจายนะ พระองคุลีมาล ดินในถ้ำสุกรชาตาเขาคิชกูฎ ดินคันธกุฎีที่ประทับพระพุทธองค์บนยอดเขาคิชกูฎ
มีเรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับดินที่พระคันธกุฎีนี้ กล่าวคือ ครั้งหนึ่งคุณสุรีพันธุ์เป็นหัวหน้าทีมนำคณะพระกรรมฐานอันประกอบด้วย หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปุ่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร และคณะศิษย์ไปกราบนมัสการสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ในอินเดีย
ขณะที่เดินขึ้นเขาคิชกูฏนั้น ครั้นใกล้ถึงพระคันธกุฎี ท่านพระอาจารย์วันกับท่านพระอาจารย์จวนก็ออกวิ่งเหยาะๆ นำไป คุณสุรีพันธุ์ประหลาดใจนักเพราะปกติพระจะไม่วิ่ง ยิ่งเป็นท่านอาจารย์ทั้งสองแล้ว นับแต่เป็นศิษย์อาจารย์กันมา ท่านเรียบร้อยที่สุด
ลงถ้าท่านวิ่ง ถึงจะช้า แต่เหตุต้องไม่ใช่เรื่อง “ ธรรมดา ” คุณสุรีพันธุ์จึงตัดสินใจวิ่งตาม เมื่อถึงคันธกุฎีก็ทันเห็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์พันลึก ด้วยตินใกล้ๆ กับที่ท่านอาจารย์ทั้งสองยืนอยู่ เกิดการเต้นกระโดดน้อยๆ ชวนขนลุกขนพอง
ขณะที่ตะลึงพรึงเพริดอยู่นั่นเอง ท่านอาจารย์ทั้งสองก็ก้มลงเก็บดินเหล่านั้นขึ้นมาจำนวนหนึ่ง และเก็บอยู่กับท่านเป็นแรมปีจวบจนมีการสร้างพระธรรมจักร นอาจารย์ทั้งสองจึงได้มอบดินมหัศจรรย์นั้นมาให้ผสมเนื้อ
2. ใบไม้มงคล ใบโพธิ์ ณ ที่ประสูติ ลุมพินีวัน ใบโพธิ์ ณ ที่ตรัสรู้ พุทธคยา ใบสาละ ณ ที่ปรินิพพาน กุสินารา ใบโพธิ์ที่หลังคันธกุฎี และใบโพธิ์พระอานนท์ ณ เชตวันมหาวิหาร
3. เส้นเกศาพระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านอาจารย์ชอบ ฐานสโม ท่านอาจารย์หลุย จันทสาโร ท่านอาจารย์คำดี ปภาโส ท่านอาจารย์วัน อุตตโม ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
4. ดอกไม้ ผงธูป ทองคำเปลว จาก พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช พระธาตุไชยา สุราษฏร์ธานี พระธาตุพนม นครพนม พระธาตุชิงชุม สกลนคร พระร่วงโรจนฤทธิ์ นครปฐม หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา พระมงคลบพิตร อยุธยา วัดบวรนิเวศน์ กทม. วัดราชบพิธ กทม. ที่บุชาพระรูปสมเด้จพระสังฆราช ( สุก ไก่เถื่อน ) วัดราชสิทธาราม กทม. ที่บูชาพระรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.
5. ดอกไม้ ผงธูป ที่บุชาพระสวดมนต์ของ สมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวัฒฑโน ) หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปุ่ขาว อนาโย ท่านอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ท่านอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านอาจารย์หลุย จันทสาโร ท่านอาจารย์คำดี ปภาโส ท่านอาจารย์วัน อุตตโม ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร พระครูปลัดสัมพิพัฒเมธาจารย์ ( พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล )
6. ชานหมาก ข้าวก้นบาตร ก้นบุหรี่ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปุ่ขาว อนาลโย ท่านอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านอาจารย์หลุย จันทสาโร ท่านอาจารย์วัน อุตตโม ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
7. พระชำรุดที่นำมาบดอัดเป็นผงมงคล พระพุทธรูป อายุ 1,000 กว่าปี ที่ท่านพระอาจารย์จวนธุดงค์ไปพบในถ้ำแถบภูสิงห์ ภูวัว พระสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังและบางขุนพรหม พระพิมพ์ดินเผาสมัยสุโขทัย พระผงกรุวัดสามปลื้ม พระผงงิ้วดำ พระพิมพ์วังหน้า
8. มวลสารมงคลอื่นๆ โคตรเหล็กไหลและขี้เหล็กไหลจากถ้ำบุชา ภูวัว ที่ท่านพระอาจารย์จวนมอบให้ งาช้าง เขากวางคุด แก่นจันทน์หอม ที่ถ้ำจันทน์และภูทอง ไม้กลายเป็นหิน ที่พระอาจารย์ฝั้นได้เมตตาสกัดให้ต้วยตัวท่านเอง กระเบื้องไม้หลังคากุฏิท่านอาจารย์ขาว อนาลโย ไม้มะขามจากถ้ำขามของพระอาจารย์ฝั้น กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดราชบพิธ กทม. หินสีชมพูที่ภูเขาภูทอก ข้าวตอกพระร่วง ข้าวสารดำ พระธรรมจักรที่จัดสร้างชุดนี้ ได้ใช้วัตถุมงคลที่กล่าวมาทั้งหมดบดอัดผสมเป็นเนื้อพระล้วนๆ โดยใช้ระบบอัดแรงดันสูง มิได้ใช้วัตถุอื่นผสมเพิ่มเติมเลย พระทั้งหมดจึงมีแต่มวลสารล้วนๆ
การอธิษฐานจิต คุณสุรีพันธุ์ได้นำไปถวายให้ท่านอาจารย์ของวัดที่จะไปทอดกฐิน-ผ้าป่าครั้งนี้ เมตตาอธิษฐานจิตให้ท่านละ 1 คืน ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู อุดรธานี
2. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย
3. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองบัวลำภู อุดรธานี
4. หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง อุดรธานี
5. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
6. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร ( ภูทอก ) อ.บึงกาฬ หนองคาย
7. พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน สกลนคร

หมายเหตุ
1. พระธรรมจักรนี้ไม่ทันหลวงปู่ฝั้นได้อธิษฐานจิต เนื่องจากท่านได้มรณภาพเสียก่อน
2. จำนวนการจัดสร้างยังมีไม่ตรงกันระหว่างข้อมูลของคุณรณธรรม ธาราพันธุ์ที่ได้เขียนลงไว้ในศักดิ์สิทธิ์ ( ว่าสร้าง 93,409 องค์ ) กับในใบโบว์ชัวร์กฐินของปีนั้นเพราะในใบโบว์ชัวร์กฐินระบุว่าสร้าง 40,000 องค์ แบ่งให้ทำบุญ 20,000 องค์แล้วที่เหลือบรรจุกรุไว้ทั้งหมด
3. ได้รับการยืนยันจากคุณหญิงสุรีพันธ์ว่า หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาดไม่ได้อธิษฐานจิตให้ตามที่ปรากฏในโบชัวร์
ราคาเปิดประมูล1,900 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ส.ค. 2554 - 13:40:56 น.
วันปิดประมูล - 18 ส.ค. 2554 - 13:37:56 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmanliar (52.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    punch (1.9K)

 

Copyright ©G-PRA.COM