(0)
++(วัดใจ 10 บาท) พระยอดขุนพลแห่งลุมน้ำอิรวะดี ยอดขุนพลบุเรงนองหลังกบ พิมพ์เล็ก(นิยม) กรุถ้ำ หลวงพ่ออุตมะค้นพบครับ พระสภาพสมบูรณ์ ผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้ ++








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง++(วัดใจ 10 บาท) พระยอดขุนพลแห่งลุมน้ำอิรวะดี ยอดขุนพลบุเรงนองหลังกบ พิมพ์เล็ก(นิยม) กรุถ้ำ หลวงพ่ออุตมะค้นพบครับ พระสภาพสมบูรณ์ ผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้ ++
รายละเอียด++(วัดใจ 10 บาท) พระยอดขุนพลแห่งลุมน้ำอิรวะดี ยอดขุนพลบุเรงนองหลังกบ พิมพ์เล็ก(นิยม) กรุถ้ำ หลวงพ่ออุตมะค้นพบครับ พระสภาพสมบูรณ์ ผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้ ++
พระยอดขุนพลบุเรงนองของเก่าแก่ดั้งเดิมนั้น เป็นพระพิมพ์ดินดิบผสมว่านยาวิเศษ โดยได้จำลองพุทธลักษณะจาก " พระมหามัยมุนี " เป็นพระเครื่องที่พระเจ้าบุเรงนอง บรมกษัตริย์ผู้มีพระเดชานุภาพมากแห่งกรุงหงสาวดี ได้โปรดให้ พระมหาฤาษี ภูภูอ่อง ผู้เป็นพระราชครูผู้ใหญ่ ประจำพระราชสำนักแห่งพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งได้สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ขั้นสุดยอดด้วยองค์คุณ 4 ประการ คือ ยา ยันต์ ปรอท และ ประคำ จนมีฤทธิ์ มีเดชสูงส่งอย่างยิ่งยวด เป็นผู้จัดสร้างและปลุกเสกขึ้น เพื่อทรงพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และเหล่าทหารหาญ เพื่อใช้ในการศึกสงครามโดยทั่วไป โดยแกะพิมพ์จำลองพุทธลักษณะของพระมหามัยมุนี พระพุทธรูปสำคัญ อันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของชาวพม่า ที่มีอายุการสร้างเกือบ 2,000 ปี ที่เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองยะไข่ แต่ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองมัณฑเลย์ ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ซึ่งพระยอดขุนพลบุเรงนองนี้ปรากฎพุทธคุณอันยอดเยี่ยมดีเด่นในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในทางเมตตา แคล้วคลาด แต่จะหนักไปในแนว " อิทธิฤทธิ์ " คือทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มหาอุด มหาอำนาจ เป็นหลักใหญ่ จนกระทั่งกองทัพของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถปราบปรามหัวเมืองใหญ่น้อยในทุกหนแห่ง จนราบคาบอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในพงศาวดาร ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุให้พระเจ้าบุเรงนองได้รับพระสมัญญานามอีกพระนามหนึ่งว่า " ผู้ชนะสิบทิศ " ในเวลาต่อมา

โดยพระบุเรงนองนี้ พระฤาษีภูภูอ่องได้บรรจุไว้ที่ถ้ำแถวเมืองมะละแหม่ง ใกล้ชายแดนไทย-พม่า อยู่ 2 ถ้ำด้วยกัน คือ ถ้ำผาบง และ ถ้ำผาพะ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าถ้ำทั้งสองแห่งนี้อยู่ที่ไหนกันแน่

อนึ่ง พระมหาฤาษีภูภูอ่องนั้น แต่เดิมเคยบวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา มีนามว่า " ญาณรังสี " แต่ต่อมาพระญาณรังสีพิจารณาเห็นว่าการที่พระภิกษุอยู่ในป่า บางครั้งก็มีเหตุให้จำต้องล่วงอาบัติของพระพุทธองค์อยู่เนือง ๆ ก็ให้รู้สึกไม่สะดวกใจ ด้วยเกรงจะเป็นบาปเป็นกรรม พระญาณรังสีจึงลาสิกขาออกมาถือพรตเป็นฤาษี พร้อมตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ รักษาศีล 8 ได้เป็นอย่างดีจนบรรลุอภิญญาสมาบัติขั้นสูงสุด จนได้สำเร็จฤทธิ์อภินิหารอันยอดยิ่งด้วยเหตุถึง 4 สถาน คือ


1. ยา ( รอบรู้ในตัวยาสมุนไพร และว่านยาที่มีฤทธิ์ทุกประเภทอย่างเจนจบ )


2. ยันต์ ( ปรีชาในอักขระคาถายันต์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง )


3. ปรอท ( สำเร็จในการเรียกและใช้ปรอท ธาตุกายสิทธิ์ที่มีฤทธิ์กว่าธรรมดา จนถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ )


4. ประคำ ( เครื่องช่วยกำหนดจิตภาวนาให้บังเกิดสมาธิจิต อันเป็นบาทฐานแห่งอภิญญาฤทธิ์ ซึ่งเป็นของมีมาเก่าแก่ สืบทอดมาแต่โบราณกาลนับเป็นพัน ๆ ปี )

สำหรับเหตุที่หลวงพ่ออุตตมะได้พระยอดขุนพลบุเรงนองมานั้น ต้องเท้าความไปตั้งแต่เมื่อครั้งที่หลวงพ่ออุตตมะยังเดินธุดงค์อยู่ มีเด็กชายชาวกะเหรี่ยงคริสต์คนหนึ่ง ( ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้ากะเหรี่ยง ) ซึ่งอยู่ในเขตประเทศพม่า ได้ป่วยเป็นโรคร้าย จนเพื่อนบ้านต่างพากันทอดทิ้ง ไม่มีใครกล้ามาดูแล และบังเอิญหลวงพ่ออุตตมะได้ธุดงค์มาพบเข้า ด้วยความเมตตาหลวงพ่อจึงได้ช่วยรักษาจนหาย ทำให้เด็กชายคนนี้นับถือหลวงพ่ออุตตมะเป็นอย่างยิ่ง กาลต่อมาหัวหน้ากะเหรี่ยงคริสต์รายนี้ได้มาเล่าให้หลวงพ่ออุตตมะฟังว่า ( ตอนนั้นหลวงพ่อมาอยู่เมืองไทยใหม่ ๆ ราวปี พ.ศ. 2490 กว่า ) วันหนึ่งขณะที่พวกตนถูกพวกพม่าตามไล่ล่า จนกระทั่งหนีเข้าไปหลบซ่อนในถ้ำ ๆ หนึ่ง แถวเมืองมะละแหม่ง พวกทหารพม่าได้ใช้ปืนกล และอาวุธสงครามยิงกรอกปากถ้ำ เพื่อฆ่าพวกตนให้ตายคาถ้ำ นับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ นัด จนพวกทหารพม่าคิดว่าพวกกะเหรี่ยงที่อยู่ในถ้ำคงจะตายกันไปหมดแล้ว จึงได้ถอยทัพกลับไป ครั้นพอรุ่งเช้าพวกบรรดากะเหรี่ยงที่ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เลยแม้แต่น้อย ก็ออกจากที่ซ่อนในถ้ำมาสังเกตุการณ์ เห็นปลอกกระสุน และลูกปืนตกกระจายอยู่เต็มไปหมด แต่ไม่มีกระสุนแม้แต่เพียงนัดเดียว ที่จะวิ่งผ่านเข้ามาถึงข้างในที่พวกตนซ่อนอยู่ได้ ก็แปลกใจ เลยคิดว่าถ้ำแห่งนี้คงต้องมีของดีของวิเศษอยู่แน่ ๆ เลยสำรวจในถ้ำดูว่ามีอะไรดี จึงได้เจอกับ กองพระขนาดย่อม ๆ ที่วางกองกันไว้อยู่ในถ้ำนั้น แต่พวกตนเป็นกะเหรี่ยงคริสต์จึงไม่ทราบว่าคืออะไร จึงได้นำมาให้หลวงพ่ออุตตมะดู เมื่อได้พิจารณาดูหลวงพ่อก็ทราบทันทีว่านี่คือ พระยอดขุนพลบุเรงนอง ที่เคยได้ยินเรื่องราวมานั่นเอง จึงได้สั่งให้หัวหน้ากะเหรี่ยงคนนี้พาคนไปช่วยกันขนพระออกมาจากถ้ำ และนี่เองคือปฐมเหตุแห่งการ แตกกรุ ของพระยอดขุนพลบุเรงนอง
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน4,060 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 03 เม.ย. 2555 - 22:50:37 น.
วันปิดประมูล - 04 เม.ย. 2555 - 23:09:03 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลณิชนันทน์ (4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 เม.ย. 2555 - 22:51:05 น.



-การประมูลนี้อยู่ภายใต้กฎกติกา ของทาง G-pra ทุกประการ
-ทุกรายการไม่มีการปิดประมูลให้สมาชิกนอกรอบอย่างแน่นอน ใครให้สูงสุดก็ได้บูชาแน่นอนครับ
-พระเครื่องที่ลงประมูลในแต่ละรายการนั้นราคาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเพื่อนสมาชิกที่ร่วมประมูล โดยกระผมไม่สามารถกำหนดหรือเรียกร้องราคาได้ (ถึงขาดทุนผมก็ต้องขาย) หากสมาชิกที่ต้องการเช่าไปเก็บไว้เพื่อออกต่อทำกำไรก็กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลไปนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วขายไม่ได้ และต้องมีการขอคืนกันตามมาในภายหลัง
-พระเครื่องที่ปิดประมูลและมีราคา เกิน 3,000 บาท หากสมาชิกที่ชนะการประมูลร้องขอให้ส่งออกบัตร ผมยินดีส่งพระออกให้ทุกองค์โดยไม่มีข้อแม้ครับ
-หลังจากการปิดประมูลสมาชิกที่ชนะการประมูลสามารถโอนเงินมาได้ภายใน ระยะเวลา 7 วัน หากสมาชิกที่โอนเงินภายในเวลา 3 วันกระผมจะรีบส่งพระให้ทันทีภายในวันที่โอนเงินครับ แต่หากโอนล้าช้าเกิน 3 วัน ผมขอส่งพระให้ล้าช้าตามจำนวนวันที่โอนเงินล้าช้ามานะครับ ตามกฎ G-pra หลังจากมีการโอนเงินผมสามารถส่งพระให้ผู้ชนะประมูลภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วันเช่นกันครับ
-สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ 087-7410030 ขอบคุณครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 03 เม.ย. 2555 - 22:51:58 น.



++ องค์นี้พระโซนสีน้ำตาม ผิวสะอาด คราบดินในถ้ำเกาะไม่มาก ผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้ครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 03 เม.ย. 2555 - 22:52:43 น.



+ ตัวหนังสือกดได้คมชัดครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 03 เม.ย. 2555 - 22:53:53 น.



++ หลังมีกบ(นิยม)

++ ยังมีรายการวัดใจ 10 บาทที่กำลังจะปิดอีกหลายรายการนะครับ ลองคลิ๊กไปที่รูปค้อนนะครับ รับรองต้องมีรายการที่เพื่อนสมาชิกถูกใจอย่างแน่นอนครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,060 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    apiracha (279)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM