(0)
หนึ่งในเบี้ยเเก้ของไทย หลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ สายอ่างทอง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหนึ่งในเบี้ยเเก้ของไทย หลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ สายอ่างทอง
รายละเอียดจากหนังสือ "เบี้ยเเก้" อิทธิฤทธิ์วิทยาคมแก่กล้า
แห่งการปกป้อง คุ้มครอง แก้ไขสิ่งเลวร้าย

ประวัติหลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ
พระครูวิตถารสมณกิจ


วัดโพธิ์ปล้ำ จ.อ่างทอง เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เดิมชื่อ วัดพายทองสำหรับใครเป็นผู้สร้างนั้นไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่ยืนยันแน่นอน
ด้วยอายุการสร้างที่ยาวนานผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายชั่วอายุ ทั้งเจริญรุ่งเรืองหรือ
เสือมโทรมเป็นบางขณะ


จากลำดับเจ้าอาวาสหลายต่อหลายองค์จากอดีตจวบจนปัจจุบันนั้น ดูเหมือนหลวง-
ปู่คำ ปญฺญาสาโร ดูจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการพระเครื่อง เนื่องจากท่านเป็นอีก-
หนึ่งพระคณาจารย์ดังของ จ.อ่างทอง วัตถุมงคลที่สร้างและปลุกเสกเอาไว ้มีมากมาย-
หลายชนิดทั้ง พระสมเด็จ เหรียญ พระเนื้อว่านผสมผงยา ผ้ายันต ์ตะกรุด รูปถ่าย ที่ได้
รับความนิยมสูงพร้อมทั้งมากล้นประสบการณ์คือ เบี้ยแก้
หลวงปู่คำวัดโพธิ์ปล้ำนามเดิมคือ คำ นามสกุล ทรัพย์ประเสริฐ เป็นบุตรของพ่อ-
เส็งแม่ไทเกิดเมื่อวันพฤหัสบด ีเดือน 10 ปีฉล ูปีพ.ศ.1432 ณ ปากคลองวัดโพธ ิ์ครั้น-เมื่ออายุครบได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์โดยมีพระพระญาณไตรโลก (อาจ) วัดศา-
ลาปูน เป็นพระอุปัชฒาย ์พระครูวินญานุโยก แห่งวัดกษัตราธิราชพร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์-จั่น วัดทำนบ เป็นพระกรรมวาจาจารย ์และอนุสาวนาจารย์ตามลำดับ ได้ศึกษา-
พระเวทย์วิทยาคมพร้อมทั้งสรรพวิชาต่างๆ จากสมุดข่อย ที่พบในโพรงต้นโพธิ์ภายในวัด-
จนเชี่ยวชาญชำนาญอย่างยิ่งยวดอีกทั้งยังแลกเปลี่ยนวิชากับอีกหลายพระคณาจารย์
ไม่ว่าจะเป็น ล.พ.พริ้ง วัดบางปะกอบ, ล.พ.จง วัดหน้าต่างนอก, ล.พ.พักวัดโบสถ์และ-
ท่านเจ้าคุณสุธรรมธีรคุณ วัดสระเกศ เนื่องจากมีอายุใกล้เคียงกันแม้ว่าบางองค์จะอาวุ-
โสมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหลวงพ่อพักวัดโบสถ์จะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอๆซึ่งจะ-
เห็นว่าเบี้ยแก้ของท่านทั้งสองจะมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก โดยเฉพาะเบี้ยเปลือยจนบาง-
ครั้งยังมีการเล่นหาสะสมข้ามวัดข้ามสำนักกันอยู่เรื่อยเป็นประจำ หลวงพ่อคำวัดโพธิ์ปล้ำ
ถึงแก่มรณภาพเมื่อ-วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2503รวมสิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา
ลักษณะเบี้ยแก้หลวงปู่คำวัดโพธิ์ปล้ำ การสร้างวัตถุมลประเภทเบี้ยแก้ของท่านนั้น
เริ่มสร้างมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2493 เท่าที่พบเห็นเล่นหาเป็นสากลเบี้ยของท่านจะเป็น-เบี้ยเปลือยไม่มีการถักเชือกแต่อย่างใด ส่วนการเลี่ยมจับขอบไม่ว่าจะด้วยเนื้อทองคำ
เงิน นาค นั้น แล้วแต่ลูกศิษย์ที่ได้รับจะนำไปเลี่ยมกันเองไม่เกียวกับท่านซึ่งร้านที่มักนิยม
นำเบี้ยไปเลี่ยมนั้นเป็นร้านเดียวกับลูกศิษย์ของหลวงพ่อพักวัดโบสถ์นำ ไปเลี่ยมกันเป็น-
ร้านทองในตลาดวิเศษชัยชาญ ฉะนั้นลักษณะการเลี่ยมหากเป็นเบี้ยเปลือยของทั้งสอง-
สำนักนี้จึงมีลักษณะเดียวกัน เพราะเลี่ยมร้านเดียวกันนั่นเอง จึงเป็นเรื่องยุ่งยากพอสม-
ควรในการจะแย่งแยกและพิจารณา แต่มักมีข้อเปรียบเทียบง่ายๆ อยู่ว่าเบี้ยแก้ของหลวง-
พ่อพัก วัดโบสถ์มักจะตัวใหญ่กว่าของหลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นข้อเท็จ-
จริงในการชี้ชัดจุดตายตัวได้
การปิดท้องเบี้ยภายหลังบรรจุปรอทเข้าไปในตัวเบี้ยแล้วจะปิดทับด้วยชันโรงและแผ่น-
หรือตะกรุดเนื้อทองแดง(ต่างจากหลวงพ่อพักที่ใช้ตะกรุดเนื้อชินเนื้อตะกั่ว) ในส่วนของ
การปิดทับด้วยชันโรงนั้นแบ่งเป็น 3 ยุค 3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือเบี้ยแก้ยุคแรกจะปิดทับ
ด้วยชันโรงที่ได้รับจากธรรมชาติอันแแท้จริง แต่เนื่องจากเป็นของทนสิทธิ์ที่ได้จากธรรม-ชาติจึงหาได้ยาก ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นชันยาเรือแทนและท้ายสุดอุดทับด้วยชันยาเรือ
ผสมผงอิทธิเจซึ่งลักษณะประการหลังนี้พบเห็นได้น้อยมากในเบี้ยแก้หลวงปู่คำวัดโพธิ์ปล้ำ
จ.อ่างทองนั้น เมื่อเขย่าดูเสียงปรอทจะแตกต่างออกไปไม่เหมือนเบี้ยแก้สำนักอื่นๆที่เวลา-
เขย่าจะมีเสียงดังขลุกๆจะเสียงดังแซ๊กๆคล้ายกับเสียงของเม็ดท้ายวิ่งอยู่ภายในนับเป็นเอก-ลักษณะอีกอย่างหนึ่งของเบี้ยแก้สำนักนี้ที่สามารถใช้เป็นจุดสังเกตได้
พุทธคุณของเบี้ยแก้สำนักนี้ก็เหมือนกับเบี้ยแก้สำนักอื่นๆ คือป้องกันคุณไสยยาสั่ง
แก้เหตุร้ายให้กลับกลายเป็นดีพร้อมทั้งแคล้วคลาดปลอดภัยคงกระพันชาตรี ป็นต้น
ราคาเปิดประมูล1,950 บาท
ราคาปัจจุบัน2,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ต.ค. 2550 - 02:02:10 น.
วันปิดประมูล - 19 ต.ค. 2550 - 19:58:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลThe_Trang (177)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 19 ต.ค. 2550 - 18:15:01 น.

*****เบี้ยแก้ยังไม่ตายนะครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     2,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    บิ๊กตุ๋ยพัสดุ (183)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM