ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ใกล้แล้ว...เสมามหาสมปราถนา รุ่น 2 หลวงปู่หมุน 119 ปี วัดซับลำใย



(N)


การกลับมาอีกครั้งแห่งเหรียญประวัติศาสตร์ เสมามหาสมปราถนา หลวงปู่หมุน แห่ง วัดบ้านจาน ซึ่งเคยออกเหรียญดังจนเป็นที่ยอมรับกันทั่ว ซึ่งออกที่วัดซับลำใย ในปี2543 มีการพุทธาภิเษก 2 วาระ วาระแรกที่วัดซับลำใย วาระที่ 2 ที่วัดระฆังโฆสิตาราม มาถึงวันนี้รวมเวลาผ่านมา 13 ปี ทางวัดซับลำใย จึงมีการจัดสร้างเหรียญเสมามหาปราถนาขึ้นอีกครั้ง เพื่อนำปัจจัย มาสร้าง ศาลาการเปรียญ
การจัดสร้างตามแบบฉบับเดิม รูปทรงคงเอกลักษณ์เดิมไว้ มีการพุทธาภิเษก 2 วาระ ได้แก่ วาระที่ 1 พุทธาภิเษก ณ วัดซับลำใย วันที่ 12 ธันวาคม 2556 และ วาระที่ 2 พุทธาภิเษก ณ วัดระฆังโฆสิตาราม วันที่ 22 ธันวาคม 2556 ซึ่งเป็นการจัดสร้างตามแบบฉบับรุ่นแรก ซึ่งขณะนี้คาดว่า จำนวนเหรียญเนื้อหลักๆ ได้ถูกจองจนใกล้หมดแล้ว หรือแม้กระทั่งเนื้อทองแดงก้อตาม
สำหรับท่านทั้งหลาย ที่เป็นศิษย์สายหลวงปู่หมุน สามารถติดตามข่าวได้ที่ Facebook เพจ รายการเหรียญเสมาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล (ย้อนยุค) วัดซับลำใย 2556

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:18 น.]



โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:19 น.] #3126640 (1/23)


(N)


เอกสารต่างๆ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:20 น.] #3126641 (2/23)


(N)


เอกสารต่างๆ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:20 น.] #3126642 (3/23)


(N)


เอกสารต่างๆ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:21 น.] #3126643 (4/23)


(N)


ตัวอย่างเหรียญ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:22 น.] #3126644 (5/23)


(N)


ตัวอย่างเหรียญ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:23 น.] #3126645 (6/23)


(N)


เหรียญแจกทาน. วันพุทธาภิเษก ที่ผ่านมา ณ วัดซับลำใย

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:27 น.] #3126649 (7/23)


(N)


เกจิที่เข้าร่วมปลุกเสก ทั้งหมด 11 องค์ โดยที่จริงทั้งหมด 14 องค์ แต่บางรูปติดกิจ ไม่อาจมาได้ เช่น หลวงปู่ คำบุ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:28 น.] #3126650 (8/23)


(N)


ประมวลภาพเกจิ ที่เข้าร่วมปลุกเสก วัตถุมงคล

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:29 น.] #3126652 (9/23)


(N)


ประมวลภาพเกจิ ที่เข้าร่วมปลุกเสก วัตถุมงคล

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:30 น.] #3126655 (10/23)


(N)
&#177+++++++++++

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:31 น.] #3126656 (11/23)


(N)


เนื้อทองคำ จัดสร้างทั้งหมด 27 เหรียญ

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 16:32 น.] #3126657 (12/23)


(N)
เนื้อทองคำลงยา ราคาจองเหรียญละ 70,000 บาท

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 19:09 น.] #3126854 (13/23)
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

" ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ "
อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา


ผู้เขียน : ClubMahaAud(73)
* วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน "

# หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มาก มีเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา แต่ก็มีแนวโน้มกลุ่มลูกศิษย์มากขึ้น จากปากต่อปากของผู้บูชาพระเครื่องหลวงปู่ ที่พบประสบการณ์เหนือธรรมชาติ

- สาเหตุที่ท่านอนุญาติให้สร้างพระเครื่อง ในช่วงบั้นปลายชีวิตนั้น เพราะยุคแรกๆนั้น ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบ ละธุดงค์ไปแดนพุทธภูมิ ในต่างประเทศ หลายสิบๆปี จึงไม่ได้ทำวัตถุมงคลออกมาเพื่อให้ชาวบ้านบูชาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เป็นคนดีมีศีล และรวมถึงหารายได้มาสร้างวัดซ่อมอุโบสถ บำรุงเสนาสนะให้ดำรงคงอยู่ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามในแผ่นดินสยาม วัดวาอาราม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้คนรุ่นเก่า ได้กระทำแต่ความดี ละความชั่ว และขัดเกาจิตใจคนรุ่นใหม่ ให้อ่อนโยน มีเมตตาธรรม สร้างสรรค์สังคม หลีกเลี่ยงพฤติกรรม สร้างเสื่อมสังคม.. หากไม่มีวัด ก็ไม่มีพระ หากไม่มีพระ คนรุ่นใหม่ก็ย้าย ศาสนาไปเป็นคริสต์จักรกันหมด แล้วพุทธศาสนาก็จางหายไปตามกาลเวลา.. หลวงปู่หมุน ท่านไม่ยึดติดลาภยศสมณศักดิ์ ท่านเป็นพระสงฆ์ สายพระป่าที่เคร่งกรรมฐานอย่างแท้จริง ท่านใดที่มองหา พุทธคุณทางด้านอิทธิปาฎิหาริย์, แคล้วคลาดอายุยืน, โชคลาภเสริมดวง และเมตตาบารมี ที่สามารถสัมผัสพุทธคุณในพระเครื่องได้ เติมเต็ม!ในสิ่งที่ท่านขาดหาย ประสบการณ์ใหม่ๆรอท่านอยู่..

คำอาราธนา บูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
ท่องนะโม ๓ จบ แล้วภาวนาว่า
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มะ อะ อุ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อุ อะ มะ

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล สกุลเดิม ศรีสงคราม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ บิดาชื่อดี มารดาชื่ออั๊ว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ครอบครัวได้นำไปฝากกับพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจานผู้เป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกัมมัฎฐานและมีวิชาอาคมที่ เก่งมาก กระทั่งปี พ.ศ. 2460 ทำการอุปสมบท โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐิตสีโล" แปลว่าผู้มีศีลตั้งมั่น

หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษาที่วัดบ้านจาน ศึกษาเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม ฝึกกัมมัฎฐานในหมวดสมถะและวิปัสสนากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ต่างๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปีเต็ม จากนั้นท่านมีความคิดว่า จะต้องแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไปอีก จึงออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ และร่ำเรียนวิชาอาคมกับพระเถระชื่อดังหลายรูป เกือบทั่วประเทศจนถึงประเทศลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

ตลอดชีวิตแห่งการครองเพศบรรพชิต อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็ได้อุทิศตน ปฏิบัติตนตามแนวทางแห่งคำสอนของพระศาสดาอันพึงจะกระทำ สมกับฉายานามอันได้รับเมื่อครั้งอุปสมทบคือ "ฐิตสีโล" แปลความว่า ผู้ตั้งมั่นในศีล 85 พรรษาแห่งการครองผ้ากาสาวพัตร ศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยออกจาริกธุดงค์

- หลวงปู่หมุน พระเถระ๕แผ่นดิน ประวัติปฎิปทา ท่านไม่ธรรมดาครับ ลูกศิษย์ผู้มีจิตศรัทธา มั่นใจได้ว่าพระเครื่องวัตถุมงคลของท่าน ไม่เป็นรองสำนักใด

* ข้อมูลล่าสุด วีดีโอที่หลวงปู่ให้สัมภาษณ์ใน "รายการเปิดบันทึกตำนาน" ทางช่อง5 เมื่อปี ๒๕๔๓ นอกจากสืบทอดสายวิชาสมเด็จลุน แล้วท่านยังสืบสานวิชาสายวัดช้างให้ และสายตำนานสงฆ์ ระดับเทพอย่างหลวงพ่อจาด

- ท่านฝากตัวเป็นศิษย์รับใช้ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ( จตุรสงฆ์ในตำนานสงครามอินโดจีน ในนาม จาด จง คง อี๋ )
- เป็นพระสหายธรรม อยู่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับ หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ 1ปีเศษๆ ดึงความรู้หลวงปู่ทิม จนหมดภูมิ

ประวัติปฎิปทา " หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล " อมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน

หลวง ปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม”หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป

ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น

ในช่วงปี 2475-2482 เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ ในระยะแรกหลวงปู่เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เป็นการชั่วคราว โดยมีครูทองอินทร์ เป็นครูสอนของวัดเทพธิดาราม เป็นผู้เอื้อเฟื้อจัดหาที่พำนักให้ ท่านได้ให้หลวงปู่อยู่ที่วัดวัดอรุณราชวราราม พำนักอยู่กับพระพิมลธรรม(นาค) ศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพ โอกาสนี้หลวงปู่ได้ร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณอันเก่าแก่ของคณะสงฆ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นตำราที่ละเอียดลึกซึ้ง แตกฉานพระบาลีว่าด้วยคัมภีร์อรรถกถายากยิ่งที่จะมีผู้เรียนได้สำเร็จ ปัจจุบันวิชานี้ได้ยกเลิกไปแล้ว

หลวงปู่หมุนได้เข้าสอบวิชามูลกัจจายน์ นั้น ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งการสอบในสมัยนั้นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน และสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ และพระเถราจารย์เป็นผู้ทดสอบด้วย โดยมีการถามตอบแบบมุขปาฐะ (ปากเปล่า) ถ้าถามตอบบาลีผิดเกิน 3 คำ ให้ปรับเป็นตกทันที ด้วยความรู้ความสามารถที่แตกฉานในคัมภีร์หลวงปู่สามารถสอบได้เปรียญธรรมถึง 5 ประโยคในคราวเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ใช้วิชาความรู้อย่าง คุ้มค่า โดยได้เป็นครูสอนมูลกัจจายน์อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม(ฝั่งธนบุรี) เป็นเวลานานหลายปี มีลูกศิษย์มากมาย นอกจากนี้ในช่วงหนึ่งหลวงปู่มาพักกับสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่วัดสุทัศน์ฯ และได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับสมเด็จพระสังฆราชแพอีกด้วย

จากนั้นก็เก็บ บริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจาก อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย เพื่อจะเรียนวิชากับพ่อท่านครน วัดบางแซะ ใช้เวลาธุดงค์อยู่ถึง 7 วัน แต่ไม่พบจึงตัดสินใจกลับวัดช้างให้ ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจากพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม

ช่วงที่ท่าน ธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับหลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่นิกายมหายาน หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของ วิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหา ความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สหธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น ..ในตอนที่หลวงปู่หมุนไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารภกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติ ปฏิบัติ และ

ปฎิเวธ ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก " หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน 2 อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลม ๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ 8 พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป ต่อมาหลวงปู่มีความกังขาสงสัยในกัมมัฏฐานในเรื่องของ จตุธาตุวัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติในธาตุทั้ง 4 เป็นมูลฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จึงได้เดินทางไปกราบของความรู้เพิ่มเติมจาก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ก็ได้รับความกระจ่าง จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

ต่อมาไม่นานก็ ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่

หลวงปู่หมุน นับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหาสม เด็จลุน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะสม เด็จลุน แต่ไม่พบ แล้วมาพักอยู่กับหลายพ่อมหาเพ็ง วัดลำดวน ในช่วงนั้นหลวงปู่ได้ใช้เวลาค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฏก ในเรื่องพระวินัยปิฏก และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงการเจริญกัมฏฐานล้วน ๆ ประมาณ 2 เดือนกว่า แล้วก็ออกธุดงค์กลับสู่ประเทศไทยเข้ากรุงเทพฯ มาพักนักที่วัดหงส์รัตนาราม ต่อมาธุดงค์ไปทางอีสานเข้าสู่ประเทศลาวอีก หลายครั้ง จนกระทั่งท่านมีอายุ 30 ปีกว่าแล้ว คราวนั้นหลวงปู่ได้พบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้แนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุนปรมาจารย์ ใหญ่ที่สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุน

ในการฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า 50 รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ 3 รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว สำหรับพิธี ครอบครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ 1.ผ้าไตรจีวร 2.บาตร 3.ทองคำหนัก 10 บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่

ในการครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา วิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร

อย่างไรก็ ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย

หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น

นอกจาก นี้ท่านยังได้ช่วยเหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่น ที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน

จนกระทั่งเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ. กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎี สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา

โดยคุณ panupong9 (2K)  [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 19:14 น.] #3126860 (14/23)
ประวัติการจัดสร้างเหรียญเสมามหาสมปราถนา หลวงปู่หมุน รุ่นแรก

เหรียญเสมา หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ๑๐๖ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๓) รุ่น “ มหาสมปรารถนา” เพื่อสมทบทุนสร้าง ศาลาเทิดพระเกียรติฯ วัดซับลำไยสามัคคีธรรม ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี
พิธีพุทธาภิเษกอย่างเข้มขลัง ถึง ๒ วาระ
ครั้งที่ ๑ ณ วัดซับลำใยสามัคคีธรรม ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี เมื่อ ๕ พ.ย. ๒๕๔๓
ครั้งที่ ๒ ณ วัดระฆังโฆษิตาราม เมื่อ ๑๐ ธ.ค. ๒๕๔๓

พระอาจารย์ สมุห์ภาสน์ มงคลสงโฆ ศิษย์เอกของหลวงพ่อกวย ชุตินธโร ผู้บุกเบิกสร้าง วัดซับลำไย จนมีที่ดินของวัดเกือบร้อยไร่ สร้างวิหารถวายหลวงพ่อกวย ผู้เป็นอาจารย์ จนใกล้เสร็จ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล จนได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หมุนหลาย ๆ อย่าง และด้วยความกตัญญูในครูบาอาจารย์ หลวงปู่หมุน ที่พระอาจารย์ให้ความเคารพมาก ในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๓ ที่วัดซับลำใยจะได้ทำพิธีเททอง เบิกฤกษ์ สร้างรูปหล่อหลวงปู่หมุน เท่าองค์จริงขึ้น พร้อมสร้างพระกริ่ง วัตถุมงคลอื่น ๆ ในเอกลักษณ์ของหลวงปู่หมุน ตามที่หลวงปู่หมุน ท่านได้กล่าวกับพระอาจารย์สมุห์ภาสน์ ผู้เป็นศิษย์ก่อนสร้างวัตถุมงคลรุ่นมหาสมปรารถนาว่า……

“ นี่คุณสมุห์ภาสน์ ฉันจะอนุญาตให้คุณ ได้สร้างวัตถุมงคลของฉัน เพราะฉันเห็นแก่คุณสมุห์ฯ ที่สร้างวิหารเทิดพระเกียรติยังไม่เสร็จ อีกอย่างคุณสมุห์ฯ อยู่เบื้องหลังสร้างพระให้คนอื่นเขาสำเร็จมามากแล้ว ถึงตัวเองบ้างก็ยังไม่ทำอะไรขึ้น ”

หลวงปู่หมุน กล่าวเมื่องานยกช่อฟ้า วิหารที่วัดซับลำใย ซึ่งในตอนนั้น พระอาจารย์สมุห์ภาสน์ ก็ได้กราบเรียนหลวงปู่หมุน ไปว่า “หลวงปู่ขอรับ กระผมไม่มีเงินทุนพอที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ ตามที่หลวงปู่เมตตาแนะนำให้เลยขอรับ “มีซิฉันจะให้เธอสมปรารถนาทุกอย่างนั่นแหละ” (หลวงปู่หมุนกล่าวอย่างมั่นใจ) และนี่คือเป็นที่มาของการจัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระผู้มีประกาศิตต่าง ๆ ในตัว ซึ่งวัตถุมงคลต่าง ๆ

รายการและจำนวนสร้าง
๑.หล่อรูปเหมือนลอยองค์ เนื้อนวะโลหะ เทดินไทยโบราณ ๑,๐๐๐ องค์
๒. เหรียญเสมา นั่งเต็มองค์
๒.๑ เนื้อทองคำ ลงยา ตามสั่งจอง
๒.๒ เนื้อเงิน หน้าทองคำ หลังเงิน ฉลุลงยา ตามสั่งจอง
๒.๓ เนื้อเงิน หน้าเงิน หลังเงิน ฉลุลงยา ๓๐๐ เหรียญ
๒.๔ เนื้อนวโลหะหน้าทองคำ หลังนวโลหะฉลุลงยา ๓๐๐ เหรียญ
๒.๔ เนื้อนวโลหะหน้าเงิน หลังนวโลหะฉลุลงยา ๓๐๐ เหรียญ
๒.๕ เนื้อเงิน ลงยา ๑,๐๐๐ เหรียญ
๒.๖ เนื้อนวโลหะลงยา ๓,๐๐๐ เหรียญ
๒.๗ เนื้อทองแดง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
๓. มีดหมอ
๓.๑ สาริกา ด้ามงา ฝักงา ทอง เงิน นาค ๓ กษัตริย์ ตามสั่งจอง
๓.๒ มีดหมอสาริกา ด้ามงา ฝักงา ๑,๐๐๐ ด้าม
๓.๓ มีดหมอ ๓ ใบมีด ล.พ.กวย ด้ามไม้มะขาม ฝักไม้มะขาม ๕๐ ด้าม
๔. ชูชก
๔.๑ ชูชกเนื้องาแกะ ติดโค้ดทองคำ ๑,๐๐๐ องค์
๔.๒ ชูชกเนื้อไม้ขนุนแกะ ติดโค้ดทองคำ ๑,๐๐๐ องค์
๕. สิงห์งาแกะ ติดโค้ดทองคำ ๑,๐๐๐ ตัว
๖. บาตรน้ำมนต์ ล.พ.กวย ๑๐๘ เหรียญ
๗. รูปหล่อตัวนูน ล.พ.กวย ติดข้างบาตรน้ำมนต์ ๒,๐๐๐ องค์
๘. พระกริ่งชัยวัฒน์ เนื้อนวโลหะ ๕๐๐ องค์
๙. ผ้ายันต์ ล.พ.กวย ๑๐,๐๐๐ ผืน
๑๐. พระสมเด็จหงษ์ทอง
๑๐.๑ เนื้อว่าน ๑๐๘ จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์
๑๐.๒ เนื้อว่านดอกไม้ทอง ฝังตะกรุดทองคำ แท้ จำนวน ๓,๐๐๐ องค์
๑๑. พระบูชาไพรีพินาศ ๙ นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ ๙ องค์
๑๒. รูปหล่อ ล.ป. หมุน
๑๒.๑ รูปหล่อ ขนาด ๙ นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ ๑๐๘ องค์
๑๒.๒ รูปหล่อ ขนาด ๕ นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ ๑๐๘ องค์
๑๒.๓ รูปหล่อ ขนาด ๑.๕ นิ้ว เนื้อทองเหลือง ๑,๐๐๐ องค์
๑๓. เหรียญเม็ดยา ล.ป.หมุน
๑๓.๑ เนื้อทองคำ ๙๙ เหรียญ
๑๓.๒ เนื้อเงิน ๑,๐๐๐ เหรียญ
๑๓.๓ เนื้อทองแดง ๒๐,๐๐๐ เหรียญ

โดยคุณ sedtha (1.3K)(1)   [จ. 16 ธ.ค. 2556 - 19:46 น.] #3126906 (15/23)

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:33 น.] #3128140 (16/23)


(N)


1

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:34 น.] #3128142 (17/23)


(N)


2

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:35 น.] #3128143 (18/23)


(N)


3

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:35 น.] #3128144 (19/23)


(N)


4

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:36 น.] #3128147 (20/23)


(N)


5

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:37 น.] #3128148 (21/23)


(N)


6

โดยคุณ panupong9 (2K)  [อ. 17 ธ.ค. 2556 - 19:38 น.] #3128151 (22/23)


(N)
7

โดยคุณ panupong9 (2K)  [พ. 15 ม.ค. 2557 - 19:33 น.] #3170542 (23/23)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM