ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : เสมาพญาราหู หลังยันต์โสรฬมงคล เศรษฐีอุดมโชค หลวงพ่อสำเริง (เกิง) สายตรงหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์



(N)


เตรียมตัวให้พร้อม..!! วันที่ 10 มค.นี้
เปิดจองพร้อมกันทั่วประเทศ
กับเสมาพญาราหู หลังยันต์โสรฬมงคล เศรษฐีอุดมโชค หลวงพ่อสำเริง (เกิง) สายตรง (เหลน)หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ เปิดตัวพร้อมเหรียญตัวอย่างลงยาของจริง
งานนี้บอกเลยพุทธคุณนำหน้า พุทธศิลป์ไม่เป็นรองใคร..จำนวนสร้างน้อย
ธนพล พระเครื่อง พุทธคุณ
095-5865445
id line : thanapol_25

โดยคุณ Thanapol_25 (2.3K)  [อา. 08 ม.ค. 2560 - 20:39 น.]



โดยคุณ Thanapol_25 (2.3K)  [อา. 08 ม.ค. 2560 - 20:41 น.] #3792752 (1/4)


(N)
หลวงพ่อสำเริง นริสสโร (เกิง)
มีนามเดิมว่า สำเริง ชาติเชื้อ เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2502 (ปัจจุบันอายุ 55 ปี) ณ บ้านตะกวน ต.พิงพาย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีษะเกษ (ปัจจุบัน ต.พิงพาย ขึ้นอยู่กับ อ.ศรีรัตนะ) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา ทั้งสิ้น 6 คน เป็นผู้หญิง 5 คน และผู้ชาย 1 คน คือตัวหลวงพ่อ โยมบิดาชื่อ นายสง่า ชาติเชื้อ และโยมมารดาชื่อ นางทอง รุ่งเรือง เมื่อตอนเล็ก ๆ หลวงพ่อเป็นเด็กเลี้ยงยาก เพราะชอบป่วยไข้เป็นประจำ และด้วยเหตุที่โยมบิดาของหลวงพ่อมีศักดิ์เป็นหลานแท้ ๆ ของหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ (ยอดพระเกจิแห่งเมืองศรีสะเกษ) จึงได้นำตัวเด็กชายสำเริงนั่งเกวียนไปหาหลวงพ่อมุม ณ วัดปราสาทเยอร์ เพื่อฝากเด็กชายสำเริงไว้เป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อมุม เพื่อเป็นการเอาเคล็ด .......

เมื่อโยมพ่อนำตัวเด็กชายสำเริงมาหาหลวงพ่อมุมและหลวงพ่อมุมได้ทราบถึงจุดประสงค์แล้ว หลวงพ่อมุมจึงได้นำตัวเด็กชายสำเริงไปนั่งในตักพร้อมบริกรรมคาถาเป่ากระหม่อมพร้อมทั้งบ้วนน้ำหมากเข้าปากเด็กชายสำเริงชะรอยที่หลวงพ่อมุมอาจจะรู้กาลอนาคตล่วงหน้าว่าเด็กที่นั่งอยู่ในตักคนนั้น สืบต่อไปในภายภาคหน้าคงจะดำรงตนเป็นพุทธบุตร และเป็นที่พึ่งพิงของชาวบ้านเป็นแน่.......

หลังจากได้รับเด็กชายสำเริงเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว หลวงพ่อมุมได้กล่าวว่าเด็กคนนี้คงจะไม่เป็นอะไรอีกแล้วพร้อมกล่าวให้ศีลให้พร และบอกให้โยมพ่อโยมแม่ของเด็กชายสำเริงนำกลับไปเลี้ยงดูให้ดี ซึ่งกาลครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อสำเริงได้พบเจอกับหลวงพ่อมุม และหลังจากนั้นเด็กชายสำเริงก็กลายเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายและไม่ได้มีอาการไข้หรือเจ็บป่วยอีกเลย
ในวัยเด็กหลวงพ่อเป็นเด็กที่ขยันขันแข็ง ร่าเริงแจ่มใส จิตใจดีงาม มีความเมตตาชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมื่อถึงเกณฑ์เข้าเรียน หลวงพ่อก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านตะกวน ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน จนจบ ป.4 ซึ่งถือว่าเป็นเด็กรุ่นแรกสุดของโรงเรียนแห่งนี้ จากนั้นก็ได้ออกมาช่วยบิดา-มารดา ทำไร่ทำสวนตามอาชีพเดิมด้วยความขยันขันแข็งครั้นปี 2520 เมื่ออายุได้ 18 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์พระองค์ โดยมีพระครูอรรถกิจสุนทร (เสียง) เจ้าอาวาสวัดจันทรารามเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นอีก 2 ปี จึงได้เข้ารับการอุปสมบทที่เดิมคือวัดโพธิ์พระองค์ โดยครั้งนี้มีพระครูรัตนภูมิจารย์ (ฉัตร) วัดศรีแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆรักษ์ประสาท (เว็ด) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์พระองค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการนวล วัดจันทรารามเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และในปีนั้นก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์พระองค์....ขณะบวชเป็นสามเณรก็เริ่มเรียนวิชาเป่าไล่ผีและวิชาตำรับยาสมุนไพรกับหลวงปู่เว็ด เจ้าอาวาสวัดโพธิ์พระองค์ พร้อมกันนี้ หลวงปู่ชาติ หลวงปู่สาม และหลวงปู่เว็ดได้นำสามเณรสำเริงไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ ด้วยในฐานะเป็นเหลนและบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อมุม จึงได้รับความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง ..... ระหว่างที่ได้บรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์พระองค์นั้น หลวงพ่อสำเริงก็ได้ไปปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อมุมอยู่เสมอ และหลวงพ่อมุมได้สอนในเรื่องกัมมัฐฐาน และคาถาอาคมเบื้องต้น พร้อมกำชับเรื่องการรักษาศีลเพื่อรักษาความดีอย่าให้ขาดตกบกพร่อง
ปลายปี 2522 เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อสำเริงก็ได้เดินทางไปจำพรรษาที่วัดศรีกุญเมือง อ.เรณูนคร จ.นครพนม เพื่อศึกษาทางโลกเพิ่มเติมที่วัดพระธาตุเรณู จนจบ ม.ศ. 3 หลังจากนั้นหลวงพ่อสำเริงจึงได้เริ่มออกธุดงค์เป็นจริงเป็นจังเพื่อฝึกจิต ศึกษาวิชาอาคมและความรู้ใส่ตัว .....
สำหรับการธุดงค์วัตรและการศึกษาความรู้ทางไสยเวทย์นั้นก็พอจะสรุปได้คร่าว ๆ คือขณะไปจำพรรษาที่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม เมื่อว่างจาการเรียนทางโลก ก็ได้ข้ามไปฝั่งลาว เพื่อตั้งใจไปฝากตัวเป็นศิษย์ท่านสำเร็จลุน แต่ด้วยจำกัดเรื่องการเดินทางและระยะเวลาทำให้ไม่สมประสงค์ แต่ก็ได้เรียนต่อวิชากับลูกศิษย์สำเร็จลุนถึง 2 รูป คือ ท่านแก้ว ซึ่งหลวงพ่อได้เรียนวิชาคาถามหาหงส์ และท่านมหาสวาท ซึ่งหลวงพ่อได้เรียน คาถาขุนแผนชมตลาด
ช่วงปลายปี 2525 หลวงพ่อได้ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือจนถึงวัดท่าสองยาง และได้รับความเมตตาจากครูบาสร้อย ซึ่งท่านได้สอนวิชาสีผึ้งมหาเวทย์ น้ำมันพราย และเสกไม้ไก่กุกและหลวงพ่อก็ได้ธุดงค์ลงไปทางภาคใต้ จนถึง อ. แว้ง จ.นราธิวาส และขากลับขึ้นมาได้ศึกษาวิชากับพ่อท่านคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ซึ่งได้รับการสอนวิชาเสกสีผึ้ง วิชาเสกน้ำมัน และวิชาเผาไม่ไหม้ และได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อยิด วัดหนองจอกสอนวิชาเสกปลัดขิก และได้เดินทางสู่วัดกุฏีดาว จ.เพชรบุรี เข้าสู่กทม. เพื่อจำพรรษา ณ วัดโบสถ์สามเสน เมื่อปี 2526หลังจากนั้น หลวงพ่อได้เดินทางกลับเข้าสู่บ้านเกิด ณ วัดโพธิ์พระองค์ ซึ่งขณะอยู่ที่นี้ เมื่อออกพรรษาหลวงพ่อได้ธุดงค์ไปฝั่งเขมรบ่อยครั้ง และยังได้ศึกษาเรียนวิชากับหลวงพ่อและพระเกจิแถว ๆ พื้นที่ อาทิเช่นหลวงปู่เจียม วัดกะมอล ได้เรียนวิชาเมตตาเสน่หา , ยาสมุนไพร , น้ำมันว่าน 108 และวิชาอยู่ยงคงกระพัน
หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง ได้เรียนวิชาทำสีผึ้งกายสิทธิ์เมตตามหานิยม ซึ่งเป็นตำรับมรดกตกทอดของพระยาขุขันธ์ , วิชาปลาดุก (ทำตะกรุดใต้น้ำ)
หลวงปู่สาย วัดตะเคียนราม ได้เรียนวิชาคงกระพัน , สักยันต์
หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี ได้เรียนวิชาสีผึ้งมนต์แก้บ้า , แก้เสน่ห์ยาแฝด , แก้คุณไสย
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง ได้เรียนวิชากำหราบไฟ
หลวงปู่เจียม วัดอินทราราม ได้เรียนวิชากัมมัฐฐาน สำหรับหลวงปู่เจียม วัดกะมอล หลวงพ่อสำเริงสนิทสนมกันมากท่านได้ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงพ่อเล่าว่า ได้พบกับหลวงปู่สรวง ท่านมาเล่นว่าวที่วัดกะมอลนี้แหละ ส่วนครั้งที่สองได้ธุดงค์เจอฝั่งเขมร และได้เคล็ดวิชาในการปลุกเสกพระ
ปี 2529 หลวงพ่อได้เริ่มสร้างวัดบ้านปุ่น ต. ไพร อ.ขุนหาญ จ.ศรีศะเกษ ซึ่งท่านได้อยู่ที่นี้ 2 ปี หลังจากนั้น ท่านได้กลับไปวัดโพธิ์พระองค์และให้ลูกศิษย์ดูแลวัดบ้านปุ่นต่อไป
ปี 2545 ท่านร่วมกับชาวบ้านริเริ่มสร้างวัดบ้านตะกวน อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีศะเกษ
ปี 2555 สร้างศูนย์ปฎิบัติธรรมปูตาเรียน ให้พระอมรดูแลจนถึงปัจจุบัน
นี่เป็นประวัติของหลวงพ่อสำเริงพอสังเขป เพื่อที่ให้ท่านที่สนใจจะได้ทราบความเป็นมา ทั้งนี้ได้เขียนขึ้นจากการได้พูดคุยกับหลวงพ่อในเวลาอันจำกัด อาจยังมีส่วนที่ขาดตกบกพร่องอีกมาก ซึ่งต้องขออภัยมาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

โดยคุณ thanapol_25 (2.3K)  [จ. 09 ม.ค. 2560 - 14:37 น.] #3792853 (2/4)


(N)



โดยคุณ THANAPOL_25 (2.3K)  [อ. 10 ม.ค. 2560 - 13:52 น.] #3793007 (3/4)


(N)



โดยคุณ THANAPOL_25 (2.3K)  [อ. 10 ม.ค. 2560 - 13:52 น.] #3793008 (4/4)


(N)



!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM